กัญชาเสรี 1

กัญชาเสรีแล้ว เดินหน้าพืชเศรษฐกิจ-ตำรับยา

กัญชาเสรี

ประเทศไทย ได้เป็น ประเทศแรกในเอเชีย 51 ประเทศที่เปิดกัญชาเสรี ทำให้ กัญชายาเสพติด กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ด้วยเหตุผลเพื่อการแพทย์ โดยทางราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกกัญชาและกัญชง ออกจากยาเสพติดประเภทที่ 5 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ส่งผลให้การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย เสพ หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งพืชกัญชาจะไม่มีความผิดอีกต่อไป ก็ยังมีข้อกฎหมายที่ระบุชัดเจนว่า กัญชา-กัญชง จะต้องมีปริมาณสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักเท่านั้น โดยหากมีสาร THC เกินกว่า 0.2% จะยังถูกจัดว่าเป็นยาเสพติดอยู่

ผู้ปลูกทั้งกัญชาและกัญชง ขออนุญาตปลูกพืชดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ผ่านแอพพลิเคชั่น ปลูกกัญพอผู้ปลูกทำได้ง่ายขึ้น โดยป้อนความต้องการของโรงงานผู้ผลิตสกัดได้ทั้ง ใบ กิ่ง ก้าน ราก และดอก ซึ่งในส่วนของบริษัท ที่เป็นหนึ่งในโรงงานสกัดสารจากพืช แม้จะเป็นโรงงานผลิตสกัดอยู่แล้ว ก็ต้องขออนุญาตในการผลิตสกัดสารจากกัญชา และกัญชง ซึ่งโรงงานอื่นๆ ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน โดยต้องขออนุญาตในการครอบครองยาเสพติด หรือ ย.ส.5 อยู่ สำหรับหลักการต้องดูว่าเมื่อสกัดมาแล้วพบสาร Tetrahydroconnabinol (THC) เกินกว่าที่กำหนดไว้หรือไม่ หากเกินก็ยังถือว่าเป็นยาเสพติด แต่ถ้าไม่เกินก็ถือเป็นสมุนไพรทั่วไป สามารถผลิตเป็นยา อาหารเสริม หรือเป็นเครื่องสำอางได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีให้กับโรงงานสกัดที่นำสารสกัดเหล่านี้มาผลิตเป็นวัตถุดิบขายให้กับโรงงานผลิตต่างๆ ได้ต่อไป

นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า วันที่ 9 มิถุนายน 2565นี้ ราก ต้น ใบ ดอก ของกัญชา กัญชง จะไม่ใช่ยาเสพติดอีกต่อไป ทำให้ประชาชนที่จะนำกัญชา กัญชง มาใช้ประโยชน์ในการดูแลตัวเอง ทำเป็นอาหาร ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รวมถึงใช้เพื่อการพาณิชย์ สามารถปลูกกัญชาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ยังคงต้องจดแจ้งจำนวนและสถานที่ปลูก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้พัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” จะเปิดให้ประชาชนดาวน์โหลดได้ทั้ง IOS และ Android เริ่มให้ใช้งานได้ 9 มิถุนายนนี้ ซึ่งก่อนถึงวันดังกล่าวประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาการใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ทางเว็ปไซต์ อย. และเว็ปไซต์ plookganja.fda.moph.go.th 

ลงทะเบียนปลูกกัญชา
ลงทะเบียนปลูกกัญชา

อยางไรก็ตาม กัญชาและกัญชง ยังมี พรบ.อื่น ที่กฏหมายบังคับอยู่

  • ถ้าเอามาสกัดนำ้มันกัญชาหรือสารในกัญชา ต้องขออนุญาตตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ 2564 และสารสกัดกัญชายังเป็นยาเสพติด เมื่อเป็นยาเสพติดจึงไม่สามารถจำหน่ายจ่ายแจกได้
  • จะเอามาทำอาหาร ทำเค็ก ทำเครื่องดื่มใส่ขวดขาย ต้องขอตาม พรบ.อาหาร 2522
  • จะเอามาทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องขออนุญาตตาม พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2562
  • จะเอามาผสมหรือผลิตเครื่องสำอาง ต้องขออนุญาตตาม พรบ.เครื่องสำอาง 2558
  • จะเอามาทำยาสูตรต่างๆ ต้องขออนุญาตตาม พรบ.ยา 2510

ความแตกต่างระหว่าง กัญชา-กัญชง

รศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล อาจารย์จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษาองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า  จริงๆ กัญชง กับ กัญชา เป็นพืชวงศ์เดียวกัน เรียกว่าเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้ เพียงแต่จะมีความแตกต่าง ทั้งทางกายภาพบ้าง และตัวปริมาณสารสำคัญ ซึ่งสหประชาชาติกำหนดไว้ว่า ในกัญชง ต้องมีซีบีดี(CBD : Cannabidiol) สูง และมีทีเอชซี (THC :Tetrahydrocannabinol) ไม่ต่ำกว่า 0.2%  สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ต้องมีสารทีเอชซีไม่ต่ำกว่า 1%

“ปัจจุบันตามกฎหมายไทยกำหนด คือ กัญชงต้องมีสารทีเอชซีไม่เกิน 1 %  ซึ่งผมสามารถพัฒนาสายพันธุ์กัญชงจนได้สารทีเอชซีไม่ต่ำกว่า  0.3-0.4 %  ขณะที่สหประชาชาติ(ยูเอ็น)กำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 0.2%   ดังนั้น ขณะนี้ถือว่าเราพัฒนาใกล้เคียงกับที่ยูเอ็นกำหนด แต่เพราะอากาศของประเทศไทยมีสภาพอาการร้อน ทำให้ค่าทีเอชซียังไม่ได้เท่ากับที่ยูเอ็นระบุไว้  ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานจะสามารถทำได้ เนื่องจากหากพัฒนาได้สำเร็จก็จะดีในแง่การส่งออกด้วย” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

กัญชา-กัญชง เป็นญาติกัน
กัญชา (Marijuana) และกัญชง (Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อย (กัญชา : Cannabis sativa L.subsp. indica / กัญชง : Cannabis sativa L.subsp. Sativa) จึงทำให้กัญชงและกัญชามีลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ

ลักษณะทางกายภาพของกัญชา-กัญชง
กัญชา : ใบสีเขียวเข้ม ใบหนากว้าง เรียงตัวชิดกัน มีแฉกประมาณ 5-7 แฉก ลำต้นเตี้ยเป็นพุ่มสูงไม่เกิน 2 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เมล็ดมีขนาดเล็กกว่ากัญชง ผิวมีลักษณะมันวาว
กัญชง : ใบสีเขียวอ่อน ใบเรียว เรียงตัวห่างกว่าใบกัญชามีแฉกประมาณ 7-11 แฉก ลำต้นสูงเรียวมากกว่า 2 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย เส้นใยให้ปริมาณมากกว่ากัญชาและมีคุณภาพสูง เมล็ดกัญชงมีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดเรียบ มีลายบ้าง

สารสำคัญในกัญชา-กัญชง
องค์การเภสัชกรรม ได้ให้ข้อมูลว่า กัญชา และกัญชง ต่างมีสารสำคัญ คือ THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) เหมือนกัน แต่มีสัดส่วนปริมาณสารสำคัญแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับกัญชงโดยเฉพาะ และกำหนดว่า ต้องเป็นกัญชงสายพันธุ์ที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือสารเดลต้า 9 เตทตระไฮโดรแคนนาบินอยด์ (delta-9-tetrahydrocannabinoid) เรียกสั้นๆ ว่า สารทีเอชซี (THC) ต่ำกว่า 1% และต้องปลูกในพื้นที่ที่กำหนด แต่กัญชาจะมีสารทีเอชีสูงกว่า ดังนั้น ปริมาณสารทีเอชซี จึงใช้แยกระหว่างกัญชาและกัญชงนั่นเอง

สาร THC (Tetrahydrocannabinol) : มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ส่งผลต่ออารมณ์ ความจำ ความรู้สึก ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม อยากอาหาร และลดอาการคลื่นไส้

สาร CBD (Cannabidiol) : ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีฤทธิ์ระงับอาการปวด ลดการอักเสบ ลดอาการ
ชักเกร็ง และลดความกังวล

ประโยชน์จากกัญชา-กัญชง
กัญชา : นิยมนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคและใช้ในทางการแพทย์
กัญชง : นิยมแปรรูปในงานสิ่งทอ , ทำกระดาษ , เมล็ดกัญชงนำมาสกัดสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง

ถึงแม้ว่าจะมีการปลดล็อกกัญชา-กัญชงออกจากรายชื่อยาเสพติดแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างอยู่ด้วย ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชาไว้เองเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ แต่ต้องมีการจดแจ้งผ่านเว็บไซต์หรือแอพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ของ อย. ส่วนการบริโภคหรือใช้กัญชาในรูปแบบต่างๆ ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องข้อจำกัดในการใช้ หรือบุคลลใดที่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค

การควบคุมกัญชา

ที่มา mgronline.com


Posted

in

by