การตั้งชื่อโดเมน

1551

ชื่อ Domain name หรือชื่อ URL มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ค้นหาสามารถเข้าถึงธุรกิจของคุณได้ง่ายขึ้น

การเลือกชื่อโดเมน โดเมนเนม domain name

โดยหาชื่อโดเมนที่เหมาะสมกับเว็บไซต์เรานั้นหาเป็นที่จดจำง่ายหรือมีความหมายก็จะเป็นการดีต่อธุรกิจหรือลูกค้า ลองดูเทคนิคการเลือกชื่อโดเมนกัน

1. มีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

การใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของธุรกิจของเราลงไปในการตั้งชื่อโดเมนเป็นเรื่องที่ดี ที่สามารถทำให้คุณได้เปรียบคู่แข่งขันคนอื่นๆ เพราะจดจำได้ง่ายและรู้เลยว่าเราขายอะไร Google แม้จะลดความสำคัญกับโดเมนไปแล้วแต่ก็ยังมีผลอยู่เล็กน้อย ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการจดชื่อโดเมนที่ใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องลงไป จะส่งผลให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณสามารถทำการค้นหาได้ง่ายขึ้นและสะดุดตาลูกค้า และถ้าจะให้ดีควรเป็นชื่อที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเว็บไซต์ เช่น ขายอุปกรณ์กีฬา ก็เป็น Supersport

2. เลือกชื่อที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและจดจำง่าย

การตั้งชื่อโดเมนให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

  • สั้นประมาณ 2-3 คำยิ่งดี
  • เป็นชื่อที่มีตัวอักษรเท่านั้น(-,_,หรือตัวเลขไม่ค่อยจะดี ยังเว้นมีความหมายที่ดี เช่น open24, sport360)
  • จดจำง่าย เป็นการแสดงตัวตนให้ลูกค้าและป้องกันการสับสนกับธุรกิจของผู้อื่นที่มีแนวทางการดำเนินงานใกล้เคียงกัน ควรใช้คำที่สั้นๆ จดจำได้ง่าย และ เหมาะกับการสร้างแบรนด์ของชื่อโดเมนระยะยาว
  • ถ้ามียี่ห้อสินค้าของตัวเองอยู่แล้วใช้ชื่อแบรนด์เป็นชื่อโดเมนเลยก็ได้
  • ชื่อที่ง่ายในการออกเสียงหรืออ่านออกได้ง่ายเช่น sanook, kapook, pantip
การเลือกชื่อโดเมน โดเมนเนม domain name, .com .net .org

3. เลือก .com ดีที่สุด

การเลือกชื่อโดเมนในการสร้างเว็บไซต์ธุรกิจออนไลน์ ไม่มีอะไรดีกว่าการใช้นามสกุล หรือส่วนท้ายของโดเมนอย่าง .com ที่ได้รับความนิยมนำไปใช้งานมากกว่านามสกุลโดเมนตัวอื่นๆ และยังถือว่าเป็นนามสกุลโดเมนที่ผู้คนใช้งานคุ้ยเคยและน่าเชื่อถือกว่านามสกุลอื่น
.net นิยมใช้ทั่วไปก็ได้แต่ไม่ดีเท่า .com
.org สื่อความหมายไปในเรื่ององค์กรไม่แสวงผลกำไร 
.edu ก็ใช้เกี่ยวกับสถาบันการศึกษา
.info ใช้ได้ทั่วไป (ไม่ค่อยได้รับความนิยม) 
.biz ใช้สำหรับธุรกิจเท่านั้น 
.name ใช้สำหรับแสดงชื่อบุคคล
ประเทศไทยจะใช้   .th
.co.th ใช้สำหรับธุรกิจ เครื่องหมายการค้า 
.go.th ใช้สำหรับหน่วยงานรัฐบาล
.ac.th ใช้สำหรับสถาบันการศึกษา
.in.th ใช้ได้ทั่วไป
นอกจากนี้ยังสามารถจดตัวขยายชื่อโดเมนได้อีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายมาก เช่น .me, .co, .info, .live, us, .mobi และอื่นๆ ดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือนักสำหรับคนที่เข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์ บางทีถ้าหาในกูเกิ้ลเจอนามสกุลพวกนี้บางทีคนยังไม่คลิ๊กเข้ามาดูด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามถ้าหา .com หรือ .net ไม่ถ้าอยากได้ชื่อสวยก็พอใช้ได้แต่ไม่ดีเท่า .com

4. เครื่องมือเลือกโดเมน

ถ้ายังหาชื่อไม่ได้หรือยังคิดไม่ออก หรือคิดมาแล้วซ้ำมีคนจดไปแล้ว ลองหาเครื่องมือในการหาโดเมนดู โดยปกติผู้ให้บริการที่รับจดโดเมนมีอยู่ แต่เว็บไซต์ด้านล่างนี้จะเป็นเครื่องมือที่สะดวกอย่างมากให้การหาชื่อโดเมนที่ว่าง
namemesh.com
dynadot.com/domain/suggest.html
nameboy.com

หรือลองหาในกูเกิ้ลโดยหาคำว่า domain suggestion

การเลือกโดเมนถือว่าเป็นก้าวแรกของการสร้างเว็บไซต์ที่สำคัญอย่างยิ่ง เหมือนชื่อบริษัทหรืออีเมล์แอดเดรส ซึ่งอยู่กับเราไปอีกนาน ถ้าเลือกชื่อที่ดีก็ไม่ต้องลำบากมาเปลี่ยนที่หลังซึ่งยุ่งยากพอควรเลยทีเดียว

ที่จดโดเมนที่แนะนำ

godaddy.com มีภาษาไทยอ่านเข้าใจง่าย แต่ราคาค่อนข้างแพงเลย
name.com โดเมนที่ลงท้าย .COM ราคา $8.99  ฟรี whois ความเป็นส่วนตัวของโดเมน ด้วยครับ
namecheap.com ราคาใกล้เคียง name.com

*** whois (ความเป็นส่วนตัวของโดเมน) คือ
ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดของเจ้าของชื่อโดเมน หรือ Domain Contact
Contact นี้จะประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ Registrant, Administrator, Technical และ Billing

ถ้าคุณต้องการทราบความพร้อมใช้งานของชื่อโดเมนหนึ่ง คุณเพียงต้องพิมพ์ชื่อโดเมนในเว็บบริการหรือ WHOIS ก็จะทราบข้อมูลของผู้จดโดเนม

ถ้าเสียเงินเพิ่มจะทำปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้จดทะเบียนโดย

  • ซ่อนข้อมูลส่วนตัวของคุณ – ชื่อ อีเมล ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ในไดเรกทอรีสาธารณะของ WHOIS
  • ป้องกันสแปมที่เกี่ยวข้องกับโดเมน
  • ช่วยยับยั้งการโจรกรรมโดเมน
  • ช่วยป้องกันนักล้วงข้อมูลและผู้คุกคาม