ธุรกิจสายการบินที่เผชิญการวิกฤตโควิท-19 กำลังย่ำแย่ทั้งระบบ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ IATA คาดว่าอีก 3 ปี ในปี 2563 ถึงจะกลับมาในระดับเดิม
หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา สายการบิน อาเวียงกา สายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของลาตินอเมริกา ยื่นล้มละลายที่ศาลในสหรัฐอเมริกา หลังเผชิญปัญหาทางการเงินจากพิษ COVID-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ สายการบิน Virgin Australia ก็ประกาศล้มละลายเช่นกัน
สถานการณ์ธุรกิจการบินตอนนี้อยู่ในขั้นวิกฤตหนัก ที่อเมริกาอย่างเดียว คนจึงบินเข้าออกเพียงวันละห้าเปอร์เซนต์ของที่เคยเป็นมา หรือวัน ๆ คนบินที่อเมริกาหายไปเลยถึง ๙๕ เปอร์เซนต์ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และนี่คือกิจการที่อาจไม่ฟื้นตัวได้อย่างง่าย ๆ สายการบินมากหลาย การบินในยุโรปก็ร่วงไปแล้ว 90% ซึ่งคาดว่าปลายไตรมาสที่ 2 จะบินในประเทศได้ และ บินทั่วโลกได้ปลายปี ซึ่งยังมีปัญหาในแต่ละประเทศต้องกักตัว 14 วันก่อนเข้าประเทศ และ มาตราการ Social Distancing ซึ่งทำให้ความจุของสายการบินลดลงและเพิ่มต้นทุนในการดำเนินงาน
จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมจีนที่รวบรวมโดยบลูมเบิร์ก ปรากฏว่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนในการสัญจรทางการบิน จากเดือน ม.ค. ที่บินประมาณ 16,000 ไฟลท์ต่อวัน ในเดือนมีนาคมอยู่แถว 6,000 ไฟลท์ แทบไม่ขยับ แม้ว่าประเทศจีนจะคลีคลายปัญหาโควิท-19 ไปได้แล้วก็ตาม แต่ต้องมีการจำกัดการบินโดยเฉพาะการบินจากนอกประเทศ
ในด้านการลงทุน เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ตัดสินใจเทขายหุ้นสายการบิน 4 แห่งที่บริษัทถืออยู่ในมือทั้ง 4 แห่งทิ้งทั้งหมด ได้แก่ เดลตา แอร์ไลน์, เซาธ์เวสต์ แอร์ไลน์, อเมริกันแอร์ไลน์กรุ๊ปอิงค์ และบริษัท ยูไนเต็ด คอนติเนนทัล โฮลดิ้ง
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ออกมายอมรับถึงสาเหตุที่หันหลังให้กับอุตสาหกรรมการบินว่า วิกฤตในครั้งนี้บีบบังคับให้สายการบินต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต และท้ายที่สุดโลกของการบินได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งตนเองหวังว่าความเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นเรื่องดีกับธุรกิจ อย่างไรก็ตาม “ผมไม่รู้ว่าในอีก 3 – 4 ปี ต่อจากนี้ ผู้คนยังจะบินมากเท่าอดีตที่ผ่านมารึเปล่า”
ที่มา
“การบินไทย” ยื่นศาลล้มละลายเดินหน้า ฟื้นฟูกิจการ
https://www.facebook.com/Newstalknews1
https://www.cnbc.com
https://www.bloomberg.com
https://www.standard.co.uk