unnamed file 7

ตั้งชื่อร้านและแบรนด์ขายของยังไงให้ขายดี

ตั้งชื่อร้านและแบรนด์ขายของยังไงให้ขายดี

การตั้งชื่อร้านค้า การตั้งชื่อบริษัท หรือการตั้งชื่อแบรนด์สินค้า ให้ดีนั้น ให้เด่นสะดุดใจลูกค้า ไม่ง่ายอย่างที่คิด มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาให้ดี ไม่ว่า จะเรื่องความหมาย การอ่าน การเปลี่ยนชื่อที่หลังเป็นเรื่องที่ลำบากอย่างยิ่ง ดังนั้นการพิจารณาชื่อที่ดี ชื่อที่เหมาะสมและเป็นมงคลจึงเป็นสิ่งไม่ควรมองข้าม ชื่อที่ดีจะช่วยให้คุณดูโดดเด่นออกมาจากคู่แข่งทางธุรกิจ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทด้วย ดังคำโบรณากล่าวไว้ว่า “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”

ชื่อร้านติดปาก จำง่าย

ตั้งชื่ออย่างไรให้ลูกค้าเห็นชื้อร้านเราแล้วจำติดตา พูดติดปากเลย ต้องเป็นคำสั้น ๆ เข้าใจง่าย ชื่อที่ยาวเกินไปจะทำให้จดจำยาก หรือจำได้ไม่ครบ ชื่อที่เหมาะสมไม่ควรยาวเกิน 4 พยางค์ เพราะคนเรามีข้อจำกัดในการจดจำ เห็นแล้วเข้าใจความหมายของชื่อร้านได้เลย คำที่ใช้เป็นชื่อร้านเป็นคำที่คนส่วนใหญ่รู้จักในวงกว้าง

ฮานะสติ๊กเกอร์

ฮานะสติ๊กเกอร์ ชื่อสั้น จำง่าย ถ้ามีสินค้าที่สอดคล้องกับชื่อแบรนด์ จะฉลุยเลย

ชื่อร้านเก๋ ๆ จำง่าย

บางครั้งหากสนใจตั้งชื่อร้านสไตล์เก๋ ๆ สะดุดตา จำง่าย แตกต่างจากร้านขายอื่น แนะนำให้ตั้งชื่อร้านไม่ยาวจนเกินไป หากต้องการชื่อยาวต้องเป็นชื่อที่มีความหมายดี จนลูกค้าสะดุดตา ตั้งใจอ่านชื่อร้าน และไม่ควรใช้การย่อคำ ชื่อย่อ ผสมลงในชื่อร้าน บางทีเราอาจใช้ชื่อแบรนด์ด้วยภาษาต่างประเทศที่ออกเสียงได้เก๋ๆ เช่น โครตรอน เครื่องชั่งหยอดเหรียญ น่าจะมาจากคำว่า โครตตรง น้ำหนักที่ชั่งได้ไม่เพี้ยนแน่นอน ช้คำศัพท์ที่สื่อความหมายแฝง, Google ใช้คำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่, หรือ มาจากคำทักทาย Yahoo

ผงสมุนไพรระงับกลิ่นกายตรา ลูกหมีเล่นรีรีข้าวสาร

ผงสมุนไพรระงับกลิ่นกายตรา ลูกหมีเล่นรีรีข้าวสาร
จะกินอย่าบ่น

ร้าน จะกินอย่าบ่น ตั้งชื่อแบบนี้ต้องแน่จริงๆ ไม่งั้นอาจมีผลเสียในอนาคต

ชื่อร้านความหมายดี

ชื่อร้านความหมายดี ๆ เป็นศิริมงคล จะต้องตั้งชื่อที่มีความหมายดีๆเข้าไว้ เพราะชื่อดีมีชัยไปแล้วครึ่งหนึ่ง หลายร้านชื่อดัง ตั้งชื่อร้านมาจากการดูดวง ผูกดวง เพื่อเสริมความเป็นศิริมงคลให้ร้านขายดี ลูกค้าเข้าร้านมากยิ่งขึ้น และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าหรือบริการของเรา หลายร้านจะมีชื่อที่ประกอบไปด้วยคำว่า ทรัพย์ อุดม มงคล เจริญ รุ่งเรือง ชื่อร้านควรจะไม่เป็นชื่อที่คำแผลง คำผวน ไม่ใช้คำที่เป็นภาษากำกวม

เต่าเหยียบโลกผงระงับกลิ่นกาย

เต่าเหยียบโลกผงระงับกลิ่นกาย นอกจากความหมายดีแล้ว ยังชื่อเก๋ จดจำง่ายอีกด้วย

ออกเสียงง่าย สะกดไม่ยาก

ชื่อร้านต้องอ่านออกเสียงได้ง่าย สะกดง่าย ใครๆ อ่านออกเสียงได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นชื่อไทยหรือชื่อภาษาต่างประเทศ การตั้งชื่อแบรนด์ที่ยากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่กล้าที่จะออกเสียง เพราะกลัวพูดผิด ผลที่ตามมาก็คือ ลูกค้าจะไม่บอกต่อ ไม่พูดถึงแบรนด์ของเรา เพราะกลัวอายถ้าเรียกชื่อผิด ซึ่งส่งผลเสียอย่างมากต่อการบอกต่อ เช่น Ikea ต้นฉบับ อ่านว่า อีเกีย แต่คนไทยอ่านว่า ไอเกีย ต้องสื่อสารนานมากกว่าจะอ่านว่าอีเกีย แต่บางคนก็ยังคุ้นกับ ไอเกีย

พิชญ์พิสิฐฏ์เสฏ อ่านว่า พิด พิ สิด เสก

ตัวอย่างชื่อไทยที่อ่านยาก พิชญ์พิสิฐฏ์เสฏ อ่านว่า พิด-พิ-สิด-เสก ถ้าตั้งเป็นชื่อร้าน ลูกค้าคงไม่มีใครอ่านกัน

แตกต่างและโดดเด่นจากคู่แข่ง

มายมาดาม

จาก มายมาดาม ตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ ได้โดดเด่นจากคู่แข่งอย่างมาก ใครเห็นก็อยากลองกินสักครั้งแน่นอน

ชื่อร้านสัมพันธ์กับสินค้า

โดยปกติง่ายสุดคือนำชื่อสินค้ามาตั้งชื่อร้าน หรือชื่อร้านที่บอกว่าสินค้าที่ขายคืออะไร มาจากประเทศอะไร  ก็เป็นการวิธีตั้งชื่อร้านที่หลาย ๆ ร้านขายออนไลน์นิยมนำมาใช้กัน การตั้งชื่อด้วยจุดเด่นหรือชื่อสินค้าจะช่วยให้ลูกค้าจำภาพร้านค้าได้ง่ายขึ้นว่า ร้านนี้ขายอะไรเป็นหลัก สินค้าคืออะไร หรือขายสินค้าสไตล์ไหน บางร้านใช้ชื่อร้านเป็นแหล่งที่มาของสินค้าได้เลย เช่น ร้าน koreachingu ร้านขายเสื้อสไตล์เกาหลี เอาชื่อ Korea มาใช้สื่อให้รู้เลยว่าเป็นสินค้าจากประเทศเกาหลี เป็นต้น แต่ไม่ควรจำกัดในหมวดหมู่สินค้านั้นมากไป เพราะเผื่อในอนาคตเราต้องการขยายธุรกิจไปขายสินค้าในหมวดอื่นเพิ่มเติม จะได้ทำได้ง่ายขึ้น

สรุปข้อควรระวังในการตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์

  • ไม่ควรเลี่ยงแบบชื่อร้านเจ้าอื่น
  • ไม่ควรตั้งชื่อร้านเป็นคำบรรยาย เช่น ร้านกระเป๋าแบรนด์เนมแท้มือสองสภาพดี
  • ไม่ควรใช้คำที่นิยมในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะเมื่อเวลาผ่านไปชื่อนั้นอาจจะล้าสมัยได้
  • งดใช้คำผวน เพราะการตีความอาจทำให้เกิดภาพลักษณ์แง่ลบได้
  • หลีกเลี่ยงคำที่อ่านยาก สะกดยาก
  • หลีกเลี่ยงคำควบกล้ำที่คนออกเสียงไม่ค่อยได้ เพราะจะทำให้ยากต่อการจดจำ
  • หลีกเลี่ยงคำที่มีความหมายแฝง คำที่เกี่ยวกับเพศ และศาสนา
  • หลีกเลี่ยงคำที่มีความหมายในแง่ลบ

หลักในการตั้งชื่อร้านหรือแบรนด์ของสินค้า

การตั้งชื่อที่ดี จะง่ายต่อการสร้างแบรนด์ในอนาคตแล้วถ้าสอดคล้องกับการออกแบบโลโก้และสีของตัวอักษร, สัญลักษณ์หรือโลโก้ของบริษัท ซึ่งจะติดตัวไปตลอด เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขจะยุ่งยากมีค่าใช้จ่ายสูง ฉะนั้นขั้นตอนการตั้งชื่อควรคิดอย่างละเอียดรอบคอบ

  1. การตั้งเป้าหมาย ชื่อร้าน ชื่อแบรนด์จะขายสินค้าหรือบริการอะไร แล้วอนาคตตั้งเป้าหมายว่าจะขยายทำอะไรเพิ่มหรือไม่ เช่น ถ้าขายรองเท้า ตั้งชื่อร้าน เช่น X รองเท้า ถ้าขายดีแล้วจะขายการแต่งกายทั้งชุด เสื้อผ้า กางเกง กระเป๋า ต้องตั้งชื่อร้าน แบรนด์ใหม่ เสียค่าใช้จ่ายในการโปรโมตอีก ดังนั้นการตั้งชื่อ ควรมองไปถึงอนาคตเผื่อไว้ด้วย
  2. ระดมสมองคิดชื่อ ควรคิดให้ได้จำนวนเยอะๆไว้ก่อน ลองศึกษาจากในอินเตอร์เน็ต ร้านคู่แข่ง ร้านค้าในประเทศอื่นเป็นไอเดียในการคิดชื่อ คิดออกมาเน้นจำนวนไว้ก่อน
  3. คัดชื่อที่ชอบไว้ให้เหลือสัก 3 ชื่อ
  4. นำไปสอบถามความคิดเห็นของเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง หรือลูกค้า เพราะเขาเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนลูกค้า จะได้รู้ว่าเขาคิดหรือรู้สึกอย่างไรกับแต่ละชื่อ และคนส่วนใหญ่ชอบชื่อไหน ลูกค้าชอบชื่อไหน เราก็เอาชื่อนั้น หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นลองไปถึงกลุ่มที่อยากให้เป็นลูกค้าเลย เช่น กลุ่มวัยรุ่น ลองไปถามแถวสยามสแคร์เลยยิ่งดี หรือ ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ลองถามคนเดินคลองถมดู

ตัวอย่างการเปลี่ยนโลโก้หรือชื่อแบรนด์

บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์  เซอร์วิส หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า  ได้ใช้งบประมาณ  500 ล้านบาท เปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็นสีเขียวทดแทนแบบเดิมที่ใช้มานานกว่า 21ปี เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ๆ ของเอไอเอส โดยเฉพาะภาพที่เอไอเอสเกี่ยวข้องกับการเมือง
แม้ว่าจะเป็นเรื่องจำเป็นแต่ค่าใช้ในการเปลี่ยนแบรนด์ก็เยอะมากๆ ยิ่งเป็นแบรนด์ที่ดัง เป็นที่นิยมของผู้ใช้บริการด้วยแล้ว ยิ่งมีปัญหามากเวลาเปลียนแบรนด์

ais เปลี่ยนแบรนด์