นกแอร์วิกฤตหนัก ขาดทุนสะสม หนี้พุ่ง ขอยกเลิกไฟล์ทบินต่อเนื่องมากว่า 1 ปี

1543

นกแอร์ วิกฤตหนัก

การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย  จับตา นกแอร์วิกฤติหนัก หลังขอยกเลิกเที่ยวบินต่อเนื่องมามากว่า 1 ปี อีกทั้งยังมีการเริ่มปลดนักบิน ชี้เสี่ยงหนัก ขาดทุนสะสม หนี้พุ่ง รัฐจับตาใกล้ชิด หวั่นเงินสดไม่พอหมุน ขาดสภาพคล่อง กระทบมาตรฐานบริการ และจะวิกฤตยังขึ้นหากไม่มีเงินทุนก้อนใหม่เข้าภายในปีนี้

นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่าขณะนี้ กพท. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปจับตาพฤติกรรม การดำเนินธุรกิจของสายการบินทุกสายการบินที่ประจำการอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยขณะนี้สั่งจับตาสายการบินนกแอร์ เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง20% เป็นอันดับ 2 ของตลาดรองจากสายการบินไทย แอร์เอเชียที่ มีส่วนแบ่งอยู่กว่า 30% ซึ่งปัจจุบันพบว่ากำลังประสบปัญหาทางการเงิน และล่าสุดยังตรวจสอบพบว่าเริ่มมีการยื่นขอยกเลิกเที่ยวบินเข้ามา อย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า1ปีแล้ว

“พฤติกรรมข้างต้นแสดงให้เห็นว่านกแอร์ อาจจะเริ่มมีปัญหาในการทำการบิน ซึ่งอาจจะต้องไปดูปัญหาให้ลึกลงไป โดยเฉพาะการขอยกเลิก เที่ยวบินว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น เป็นเพราะเครื่องบินเสีย ทำให้ต้องนำไปซ่อมเลยหมุนเครื่องมาบินไม่ทัน หรือเครื่องเสียแต่ไม่มีเงิน ซ่อม หรืออาจจะเป็นเพราะยอดจองน้อยจึงยกเลิกเที่ยวบิน เราจึงต้องจับตานกแอร์เป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสาร  รวมไปถึงเรื่องการเจรจาหาพันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมทุนเพื่อแก้ปัญหาฐานะทางการเงินด้วย เพราะต้องหาให้ทันภายในปีนี้ ซึ่งก็เชื่อว่านก แอร์จะหาผู้ถือหุ้นใหม่ได้ เพราะมีเส้นทางบินที่ดีมีมูลค่าดีในแง่การลงทุนสูง ”

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่าสายการบินนกแอร์มีการเริ่มทยอยปลดนักบินบางส่วนจากการจะปลดระวางเครื่องบินบางรุ่นออกจากฝูงบินแล้ว แต่ ยังไม่มีรายงานการปลดพนักงานส่วนอื่นๆ ทั้งนี้จากการติดตามดูงบการเงินของนกแอร์ปัจจุบันพบว่ายังมีการจ่ายค่าใช้จ่าย และหนี้สินใน การดำเนินธุรกิจการบินได้ตามปกติ ยังไม่มีภาระหนี้สินคงค้างแบบผิดปกติ

ข้อมูลจากข่าวสด 

ทางด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.เคจีไอ วิเคราะห์ว่า ปัญหาของนกแอร์สะสมมานานจนทำให้เกิดวิกฤติ และแนะนำให้นักลงทุนระมัดระวังในการลงทุนหุ้นนกแอร์ที่ราคาตกลงมาก จากที่เคยราคาหุ้นสูงกว่า 13 บาทในปี 2557 วันนี้(4 พค. 2562)ราคาหุ้นนกแอร์เหลือเพียง 2.14 บาท

สาเหตุที่ทำให้นกแอร์วิกฤติ มาจากปัญหาหลัก 3 เรื่อง

ปัญหาเรื่องแรกคือ ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมีต้นทุนการบริหารสูง จากค่าใช้จ่ายด้านพนักงา

ปัญหาที่สองคือ ฝ่ายบริหารมีปัญหากับนักบิน จนมีการประท้วงใหญ่เมื่อวันวาเลนไทน์ ก.พ. 2559 ผู้โดยสารตกค้างจำนวนมาก กระทบต่อความเชื่อมั่นในบริการ จนปีนั้นนกแอร์ขาดทุนสูงสุดถึง 2,795 ล้านบาท และขาดทุนต่อเนื่องมาตลอด

ปัญหาที่สามนั้น เป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นเอง ที่อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างการบินไทยไม่มีเงินพอจะลงทุนเพิ่ม เพราะล่าสุดการบินไทยก็ยังขาดทุนอยู่

ทางออกของนกแอร์ในเวลานี้ คือต้องมีเงินทุนเพิ่ม หรือมีผู้ร่วมทุนใหม่ โดยขึ้นอยู่กับทีมบริหารที่เหลืออยู่ ว่าจะสามารถทำแผนธุรกิจให้เห็นว่านกแอร์มีโอกาสฟื้นตัวหรือไม่

สรุป

ทั้งนี้ หากดูผลประกอบการของสายการบินนกแอร์ในช่วง 3 ปีหลัง (2558-2560) พบว่ามีรายได้สุทธิขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องมีการปรับลดเส้นทางบินลง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

ปัจจัยกดดันที่สำคัญของนกแอร์ คือการแข่งขันที่รุนแรงของสายการบิน โลว์คอสต์ในไทยในเรื่อง “สงครามราคา” ซึ่งทำให้การสร้างรายได้กระเตื้องได้ไม่มากนัก แม้ว่าแต่ละสายการบินจะกอบโกยอัตราบรรทุกเฉลี่ยสูง ระดับ 80 – 90% จึงเป็นภาระหลักของสายการบินนกแอร์ที่เผชิญอยู่ในขณะนี้