ญี่ปุ่น เยือน เวียดนามและอินโดนีเซีย

นายกฯญี่ปุ่น เยือน เวียดนามและอินโดนีเซีย เป็น 2 ชาติแรก และโครงสร้างการลงทุนใหม่ของญี่ปุ่น

“นายกฯซูกะ” เตรียมแผนเยือนเวียดนามเป็นชาติแรก ต่อด้วยอินโดนีเซีย ใน4 วัน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับอาเซียน ในวันอาทิตย์ที่ 18 ต.ค. นี้ มุ่งกระชับสัมพันธ์การค้า และความมั่นคง

นายกฯ ญี่ปุ่น เยือน เวียดนามและอินโดนีเซีย

นายกสึงะ มีกำหนดที่จะพบกับผู้นำของเวียดนาม นาย เหงียน ซวน ฟุก และประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซีย เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาระดับภูมิภาค รวมถึงความพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงเรื่องความเสรีของภูมิภาค “อินโด-แปซิฟิก”

ทั้งนี้ นายซูงะจะตัดสินใจเรื่องการเดินทางอีกครั้ง หลังตรวจสอบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในญี่ปุ่น เวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสองประเทศหลังนั้นเริ่มทรงตัวแล้ว

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า แผนการเยือนประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนดังกล่าวมีขึ้น ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการที่จะกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดที่ทวีขึ้นในเรื่องการค้า, ความมั่นคง และประเด็นอื่นๆ ระหว่างพันธมิตรอย่างสหรัฐ และจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น

นายคัตสึโนบุ คาโต หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีคนใหม่กล่าวระหว่างแถลงข่าวว่า การที่ผู้นำได้พบหน้ากันจะมีความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายทางการทูต หากนายกรัฐมนตรีซูงะไปเยือนเวียดนามและอินโดนีเซียก็จะพบหารือกับนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวนฟุกของเวียดนามและประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซีย บรรยากาศทางการทูตรอบญี่ปุ่นในขณะนี้คาดการณ์และควบคุมได้ยากขึ้น เพราะกระแสความเฉพาะเจาะจงของความเป็นชาติ และความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน ญี่ปุ่นจึงอยากส่งเสริมวิสัยทัศน์ความเป็นอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างด้วยการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนที่สนับสนุนค่านิยมเดียวกันนี้

เป็นที่น่าสังเกตุว่า เวียดนาม, อินโดนีเซีย และประเทศไทย เป็นประเทศแรกๆ ที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่นเยือนเมื่อรับตำแหน่งสมัยที่สองในเดือนธันวาคม 2555 แต่ครั้งนี้ไม่มีประเทศไทยในการเดินทางของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่านายกรัฐมนตรีซูงะซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้รัฐบาลอาเบะมาตั้งแต่นั้นจะสานต่อและดำเนินรอยตามนโยบายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของอาเบะต่อไป

ผลสำรวจชี้บ.ญี่ปุ่นสนใจลงทุนในเวียดนามมากที่สุด

ผลการสำรวจของบริษัทเอ็นเอ็นเอ เจแปน ซึ่งอยู่ในเครือสำนักข่าวเกียวโต ระบุว่า เวียดนามถือเป็นประเทศที่บริษัทญี่ปุ่นสนใจเข้าลงทุนมากที่สุดในปี 2020

อันดับที่ 1 (42.1%) เวียดนามเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุด โดยระบุถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ศักยภาพจากการขยายตัวของตลาด และการมีแรงงานทักษะจำนวนมากที่มีค่าแรงต่ำ รวมทั้งการมีภาวะแวดล้อมใกล้เคียงกับจีน
อันดับ 2 (12.2%) อินเดียได้รับความนิยมตามมา โดยได้รับปัจจัยหนุนจากตลาดที่มีการขยายตัว และการมีศักยภาพเป็นประตูไปสู่ตะวันออกกลางและแอฟริกา
อันดับ 3 (11.6%) เมียนมา
อันดับ 4 (6.6%) อินโดนีเซีย
อันดับ 5 (5.1%) จีน โดยได้รับความนิยมน้อยลง จากความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้ากับสหรัฐ และต้นทุนด้านค่าแรงที่พุ่งขึ้น

ทั้งนี้ เอ็นเอ็นเอ เจแปนทำการสำรวจบริษัทญี่ปุ่นจำนวน 820 แห่งในระหว่างเดือนพ.ย.-ธ.ค.2019

เวียดนามแหล่งลงทุนใหม่ของญี่ปุ่น

vietnam industry

โดยสัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800 คน รวมไปถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทที่อยู่ในละแวกเดียวกันด้วย

นอกจากสาเหตุเรื่องค่าแรงของไทยที่สูงขึ้น เป็นเหตุให้นักลงทุนตัดสินใจที่จะลดต้นทุนและย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งคือ มีการลงทุนสร้างเมืองใหม่ในเวียดนามอยู่ทางตอนเหนือของกรุงฮานอย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นกับบริษัทในญี่ปุ่นมากกว่า 20 แห่ง พัฒนาเมืองนี้ให้กลายเป็นสมาร์ททาวน์ ซึ่งอุดมไปด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้งอาคารประหยัดพลังงาน ที่อยู่อาศัยแบบใหม่ รวมไปถึงรถบัสแบบไร้คนขับ โครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายไว้ที่ปี 2023

ยังมีประเด็นของ CPTPP และ EVFTA ที่ทำให้เวียดนามขึ้นแท่นทั้งในแง่ของประเทศที่น่าลงทุน และโอกาสทางการค้าที่สดใสขึ้น ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA) ประเด็นนี้ทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศได้เปรียบด้านเสรีการค้า ทั้งการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันตามความผูกพันภายใต้ความตกลง สัดส่วนสินค้าที่ได้การยกเว้นภาษีนำเข้าทั้งหมดจะครอบคลุม 99% ของรายการสินค้าที่มีการค้าระหว่างสองฝ่าย ขณะที่ด้านการลงทุน การเปิดเสรีการค้าของเวียดนาม จะทำให้นักลงทุนของทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถือครองหุ้นได้ในสัดส่วนสูงกว่านักลงทุนจากประเทศอื่นและสูงสุดถึง 100% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธุรกิจนั้นๆ นอกจากนี้ ยังมีความตกลง EVFTA เป็นความตกลงแรกที่ทางการเวียดนามเปิดกว้างให้นักลงทุนจาก EU สามารถเข้าประมูลสัญญาของภาครัฐได้

จับตาผู้ผลิตญี่ปุ่นพาเหรดลงทุนอินโดนีเซีย

ญี่ปุ่นพาเหรดลงทุนอินโดนีเซีย

บลูมเบิร์ก รายงานว่า อินโดนีเซียใช้โอกาสที่ไทยกำลังมีปัญหาภายใน ชักชวนนักลงทุนทั้งยุโรปและญี่ปุ่นให้เข้าไปลงทุนทำธุรกิจในอินโดนีเซีย โดย มหิทรา สีเรการ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานการลงทุนของอินโดนีเซีย ระบุว่า มีแผนที่จะเดินทางเยือนญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐ และยุโรป เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รู้จักนิคมอุตสาหกรรมใหม่ในเขตภาคกลางและตะวันออกของเกาะชวา
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติกำลังให้ความสนใจลงทุนในแดนอิเหนาอย่างมาก เนื่องจากมองว่าอินโดนีเซียมีเสถียรภาพทางการเมืองและค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำกว่าเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีตลาดขนาดใหญ่ โดยมีประชากรสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ ค่าแรงขั้นต่ำของอินโดนีเซียยังถูกกว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศเพื่อนบ้านทั้งในมาเลเซียและประเทศไทย ทำให้อินโดนีเซียได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านในการดึงดูดการลงทุน
อีกทั้งสงครามการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจ ล่าสุดมี 7 บริษัทจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น รวมไปถึงสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม Batang ที่ตั้งอยู่ในเกาะชวา โดยมูลค่าการลงทุนล่าสุดอยู่ที่ราวๆ 850 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 27,274 ล้านบาท

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/861481
http://gotomanager.com