ตุรกีอาการหนัก! วิกฤตค่าเงิน Lira ร่วงหนัก

ตุรกีอาการหนัก! วิกฤตค่าเงิน Lira ร่วงหนัก

ตุรกีอาการหนัก! วิกฤตค่าเงิน Lira ร่วงหนัก

วิกฤตค่าเงินตุรกีอาการหนัก!

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย ค่าเงินลีรา-ตุรกีอ่อนค่าสุดในอรบ 4 เดือน เผชิญแรงเทขายอย่างหนักรับข่าวประธานาธิบดีปลดผู้ว่าการธนาคารกลาง ชี้ ปัจจัยพื้นฐานอ่อนแอไร้เสถียรภาพภายในและภายนอก หลังภาครัฐ-เอกชนก่อนหนี้เกินตัว ดันหนี้สูง 174% ต่อจีดีพี เงินทุนสำรองต่ำไม่พอใช้หนี้ต่างประเทศระยะสั้น หวั่นกระทบค่าเงินดอลลาร์-ตลาดเกิดใหม่ ทำบาทขยับอ่อนค่าได้

หลังประธานาธิบดีไม่พอใจการคุมค่าเงินเฟ้อในประเทศ สั่งปลดผู้ว่าแบงก์ชาติคนที่ 3 ในรอบ 2 ปี

สถานการณ์นี้จะทำให้เกิดวิกฤตการเงินไปทั่วโลกหรือไม่ ? 

ตุรกีวิกฤตการเงินในประเทศกำลังเข้าขั้นรุนแรง และต้องจับตามองอย่างยิ่งว่าจะส่งผลการทบมาสู่ระบบการเงินของโลกหรือไม่? เพราะทางรัฐบาลตุรกีและบริษัทต่างๆในตุรกีก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีหนี้ในสกุลต่างชาติอยู่เยอะ ไม่ว่าจะเป็น US Dollar, Euro, Swiss franc หรือ Japanese Yen

ทำให้วิกฤตครั้งนี้หากไปถึงขั้นเกิด Hyper Inflation ขึ้นจริงๆ อาจจะไม่ได้เป็นแค่วิกฤตระดับประเทศแต่ อาจส่งผลกระทบลูกโซ่ต่อระบบการเงินของโลกได้

เช้าวันที่ 22 มีนาคม ค่าเงิน Lira ของตุรกีทรุดตัวลง -17% แตะที่ระดับ 8.35 Lira ต่อเหรียญสหรัฐ (หลังจากปิดตลาดในอาทิตย์ที่ผ่านมาไปที่ 7.2 Lira ต่อเหรียญสหรัฐเท่านั้น) หวั่นเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามในวันที่ 25 มีนาคมค่าเงินลีราแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 7.93 Lira ต่อเหรียญสหรัฐ

วิกฤตค่าเงิน Lira ร่วงหนัก

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan แห่งตุรกีได้สั่งปลดนาย Naci Agbal ผู้ว่าการธนาคารกลางตุรกีออกจากตำแหน่งกลางอากาศ นี่นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ที่ประธานาธิบดี Erdogan ปลดผู้ว่าการธนาคารกลางตุรกีออกจากตำแหน่งนับตั้งช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดเชื่อว่าเหตุผลที่ Erdogan ตัดสินใจสั่งปลด Agbel เพราะได้ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงเกินไป ตั้งแต่ได้ขึ้นมาเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางตุรกีมาไม่ถึง 5 เดือน ทาง Agbel ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 8.75% สู่ระดับ 19% (ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดของบรรดาประเทศขนาดใหญ่) แต่เหตุผลที่ทาง Agbel เลือกที่จะขึ้นดอกเบี้ยสูงเช่นนี้ก็เพราะต้องการ ควบคุมเงินเฟ้อและดึงเงินออกจากระบบ เพื่อสกัดการร่วงลงของค่าเงินลีราอย่างต่อเนื่อง

แต่ประธานาธิบดี Erdogan นั้นไม่เห็นด้วยกับนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยมาตลอดอยู่แล้ว ได้สั่งการให้ธนาคารกลางตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ ทำให้ได้สั่งปลดนาย Agbel กลางอากาศ และทางประธานาธิบดี Erdogan ก็ได้แต่งตั้งนาย Sahap Kavcioglu อดีตสมาชิกรัฐสภาจากพรรคเอเคของนายเออร์โดกันให้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ และนี่ก็คือสถานการณ์ล่าสุดในประเทศตุรกีที่ต้องจับตามองอย่างยิ่งเพราะนักวิเคราะห์บางฝ่ายมองว่าค่าเงินเฟ้อในประเทศอาจดีดสูงขึ้นไปได้มากกว่า 20% ในเวลานี้ และหากทางตุรกีไม่สามารถชำระหนี้ต่างๆได้ตามกำหนด (เพราะจะไปใช้หนี้ต่างชาติในเวลาที่ค่าเงินในประเทศอ่อนลงอย่างรวดเร็วขนาดนี้นั้นจะทำได้ยากขึ้นมากๆ) หลายฝ่ายก็มองว่าอาจจะจุดชนวนให้เกิดวิกฤตการเงินในเหล่าประเทศที่โดนผลกระทบเป็นลูกโซ่ได้

ล่าสุด ตุรกีมีทุนสำรองฯ อยู่ที่ประมาณ 52.7 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของตุรกีที่มีอยู่ที่ 133.9 พันล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่การอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของค่าเงินลีราทำให้อัตราเงินเฟ้อของตุรกีเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ 5.0% ของธนาคารกลางตุรกีอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าธนาคารกลางตุรกีจะทำการคุมเข้มด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายรอบก็ตาม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความอ่อนแอจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตุรกีไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาอย่างเต็มที่จากวิกฤตโควิด 19 ทำให้ค่าเงินลีราของตุรกีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงกดดันอีกหลายระลอก และอาจมีผลกดดันสกุลเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง รวมถึงสกุลเงินบางส่วนในเอเชีย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ณ เวลานี้ ธนาคารกลางตุรกีน่าจะเผชิญความยากลำบากที่จะควบคุมสถานการณ์มากกว่าวิกฤตในรอบก่อนๆ เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรทางการเงิน โดยทุนสำรองฯ ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่มีต่อค่าเงินลีราและสกัดความเสี่ยงจากภาวะเงินทุนไหลออก

ตุรกีอาการหนัก! วิกฤตค่าเงิน Lira ร่วงหนัก

สินทรัพย์ที่หลบภัย

ถ้าในอดีต จะคิดถึงทองคำ ดอลลาร์สหรัฐหรือเงินเยนของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันเป็นยุคของบิทคอยน์

โดย คำค้นหาบิทคอยน์ (Bitcoin) ในเว็บไซต์กูเกิลในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาพุ่งสูงถึง 566% หลังจากค่าเงินลีรา (Lira) ตุรกีร่วงกว่า 14% ยิ่งมีประเทศไหนที่ไม่สามารถสู้กับอัตราเงินเฟ้อในประเทศได้มากขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านี้หันมาพึ่งพา Bitcoin ให้กลายเป็นแหล่งเก็บเงิน หรือ Store of Wealth แทนค่าเงินของประเทศตัวเองได้ เช่นเดียวกับ ตุรกี

ในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อในประเทศอาร์เจนตินาพุ่งสูงถึง 54% ค่าเงินที่ลดลงทำให้ผู้คนจำนวนมากหันมาพึ่งพาบิทคอยน์ ส่งผลให้โวลลุ่มการซื้อขายสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

เพราะสามารถเก็บได้ง่ายกว่าสกุลเงินต่างประเทศ ง่ายกว่าการเก็บทองคำ และที่สำคัญคือ Bitcoin ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือสภาพเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประชาชนที่กำลังเผชิญกับค่าเงินเฟ้อรุนแรงจึงเข้าใจถึงจุดนี้ได้เป็นอย่างดี