สัญญาณอาการ Covid-19

1427
Coronavirus disease 2019 COVID 19 01

อาการไข้จากโรค “COVID-19” 

ข้อมูลจาก WHO ระบุว่า ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ 

มีไข้ (88%), ไอแห้งๆ (68%), ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย (38%), ไอมีเสมหะ (33%), หายใจลำบาก (18%), เจ็บคอ (14%), ปวดหัว (14%) 

ทั้งนี้หากมีน้ำมูกไหลอย่างเดียว ไม่มีไข้ ไม่หอบเหนื่อย ก็ไม่ใช่อาการป่วยจากโควิด-19  ส่วนอาการที่เข้าข่ายและมีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรค “COVID-19” คือไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมงอาการหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 

อาการวันต่อวันจาก สธ.

วันที่ 1-3
1. คล้ายหวัด
2. ปวดในคอเล็กน้อย
3. ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย
4. กิน/ดื่มปกติ

วันที่ 4
1. เจ็บคอเล็กน้อย
2. พูดเริ่มเจ็บในคอ
3. ไข้ดูปกติ 36.5°C
4. รบกวนกับการกิน
5. ปวดหัวเล็กน้อย
6. ท้องเสียอ่อนๆ
7. รู้สึกเหมือนเมา

วันที่ 5
1. ปวดในคอ พูดเจ็บ
2. อ่อนเพลียเล็กน้อย
3. ปรอทไข้ 36.5° – 36.7°C
3. อ่อนเพลีย ปวดข้อต่อ

วันที่ 6
1. ปรอทไข้ 37 ° C+
2. ไอแห้ง
3. ปวดคอขณะกิน/พูด
4. อ่อนเพลีย คลื่นไส้
5. หายใจลำบากเป็นครั้งคราว
6. นิ้วรู้สึกเจ็บปวด
7. ท้องร่วง อาเจียน

วันที่ 7
1. มีไข้ 37.4° – 37.8°C
2. ไอต่อเนื่อง มีเสมหะ
3. ปวดร่างกาย/ศีรษะ
4. ท้องร่วงมาก
5. อาเจียน

วันที่ 8
1. ไข้ 38°C+++
2. หายใจลำบาก
3. ไอต่อเนื่อง
4. ปวดหัว ข้อต่อ กล้ามเนื้อ
5. ง่อยและปวดก้น

วันที่ 9
1. ไม่ดีขึ้น และแย่ลง
2. ไข้สูงมาก
3. อาการทรุดลงมาก
4. ต้องต่อสู้เพื่อหายใจ

อาการในวันที่ 9 ต้องตรวจเลือด CT Scan ทรวงอก]
กันไว้ดีกว่าแก้ และถ้าถึงวันที่ 4 หรือ วันที่ 5 ก็รีบไปตรวจดีกว่า
แต่ทุกวัน ให้ปฏิบัติตัวโดยนึกเสมือนว่าเราเป็นคนป่วย จะได้รักษาระยะห่างเป็นปกตินิสัย

ตรวจเชื้อโควิด-19 ฟรี หากผู้เข้าตรวจตรงตามเกณฑ์เหล่านี้

  1. เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง
  2. มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ
  3. มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  4. มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  5. มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
  6. ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น

สามารถเข้ารับการตรวจฟรีได้ที่โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • และสามารถเช็กโรงพยาบาลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมโรค โทร 1422

ตรวจเชื้อโควิด-19 แบบมีค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการตรวจร่างกาย และตรวจเชื้อโควิด-19

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราคา 3,000-6,000 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ราคา 3,000-6,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโล (ทุกสาขา) ราคา 5,000-13,000 บาท
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ราคา 5,000 บาท
  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ราคา 5,000 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ราคา 6,500 บาท
  • โรงพยาบาลแพทย์ รังสิต ราคา 7,000 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราชฯ ราคา 9,900 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงตามระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อ

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

  1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
  3. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
  4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
  5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
  6. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  7. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  8. รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  9. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

ทางกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ การดำรงอยู่ ของ เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีโอกาสอยู่บนพื้นต่างๆ โดยได้อ้างอิงจาก นพ.พิเชษฐ บัญญติ แพทย์เวชศาสตร์ผ้องกัน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า

  1. เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่อยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
  2. เชื้อไวรัสโควิด 19 มีชีวิตอยู่ในน้ำได้นาน 4 วัน
  3. เชื้อไวรัสโควิด 19 มีชีวิตอยู่ บริเวณ พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ได้นาน 7-8 ชั่วโมง
  4. เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชู่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง
  5. เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่บนวัสดุพื้นเรียบได้นาน 24-48 ชั่วโมง
  6. เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในอุณภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ได้นาน 1 เดือน
อาการ covid19

อัตราตายประมาณ 3% แปลว่าถ้ามีคนติดเชื้อโควิด 100 คน จะมีคนตายประมาณ 3 คน แล้วที่ใจชื้นกว่านั้นก็คือถ้าเราอายุไม่ถึง 50 ปี โอกาสที่จะเสียชีวิตยิ่งน้อยไปใหญ่ ไม่ถึง 1% แต่กลุ่มคนที่น่าห่วงก็คือปู่ย่าตายายที่อายุ 80 ปีขึ้นไป มีอัตราตายเยอะสุดถึง 15%

 ข้อแตกต่างระหว่างอาการป่วย COVID-19 กับ ไข้หวัดใหญ่

สำหรับอาการระหว่าง COVID-19 กับไข้หวัดใหญ่ มีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งทุกคนสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

ข้อแตกต่างระหว่างอาการป่วย COVID 19 กับ ไข้หวัดใหญ่


อาการ : ไข้

            – COVID-19 : มีไข้สูง >37.5 องศาเซลเซียส โดยเป็นมานานติดต่อกันหลายวัน

            – ไข้หวัดใหญ่ : มีไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส โดยเป็นติดต่อกันหลายวันแต่จะมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย


อาการ : เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก

            – COVID-19 : มีอาการเกินกว่า 4 วัน ซึ่งตัวของเสมหะอาจมีเลือดปนอยู่ด้วย

            – ไข้หวัดใหญ่ : อาการไอจะออกมาจากหลอดลมที่อักเสบ ซึ่งอาจเจ็บคอ คอแดง คัดจมูก


อาการ : ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน

            – COVID-19 : พบอาการในบางคนเท่านั้น

            – ไข้หวัดใหญ่ : พบอาการในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่อาการ : ปวดเมื่อย

            – COVID-19 : มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

            – ไข้หวัดใหญ่ : มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่อาจปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และไม่มีแรง


อาการ : หายใจลำบาก

            – COVID-19 : มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก

            – ไข้หวัดใหญ่ : พบได้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง


 อาการ : ปอดอักเสบ

            – COVID-19 : ปอดบวม ซึ่งในรายที่รุนแรงจะมีปอดอักเสบเกิดขึ้น

            – ไข้หวัดใหญ่ : พบได้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการสอบถามเรื่องวิธีใช้สิทธิบัตรทอง สามารถโทรได้ที่สายด่วน สปสช.1330 (ตลอด 24 ชั่วโมง) รวมถึงสอบถามข้อมูล/ปรึกษา/ขอคำแนะนำเรื่อง COVID-19 ก็สามารถโทรมาได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422