- ระดับหนี้สาธารณะสะสมของประเทศไทยในเดือนพฤจิกายน 2563 อยู่ 50.46% โดยแบงก์ชาติกำหนดกรอบหนี้สาธารณะไว้ไม่ให้เกิน 60% ของ GDP
- ระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นต่อเนื่องและการกู้เงินฉุกเฉินเพื่อรักษาสภาพคล่องจากโควิด-19
หนี้สาธารณะเดือนพฤจิกายน 2563
หนี้สาธารณะ = 7,925,377.69 ล้านบาท
หนี้สาธารณะต่อ GDP = 50.46%
ประชากรในประเทศไทย = 70,626,229
หนี้สาธารณะของไทยเพิ่มเกือบ 50%และ GDP ลดลง

2 พ.ย. 2563 เว็บไซต์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ได้เผยแพร่รายงานหนี้สาธารณะ ล่าสุด
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2563 พบว่า มีหนี้สาธารณะจำนวน 7.84 ล้านล้านบาท คิดเป็น 49.35% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับข้อมูล มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 15.9 ล้านล้านบาท
ณ วันที่ 31 ส.ค. 2563 หนี้สาธารณะอยู่ที่ 7.66 ล้านล้านบาท คิดเป็น 47.90% ของจีดีพี คิดเป็นจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้น 1.8 แสนล้านบาท จีดีพีอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รัฐบาลต้องกู้เงินจำนวนมหาศาล เพื่อเยียวยาด้านสังคมรวมถึงเศรษฐกิจ จนกำลังทำให้หนี้สาธารณะไทยใกล้ชนกรอบที่เหมาะสมทางการเงินการคลัง
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยเฉพาะการที่ต้องคงสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ของ GDP

ในส่วนของหนี้ที่รัฐบาลก่อเพิ่มในปีงบประมาณ 2563 ได้แก่
การกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ 4.91 แสนล้านบาท
การกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3.55 แสนล้านบาท
เงินกู้ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท อีก 3.35 แสนล้านบาท
สำหรับแผนการก่อหนี้สาธารณะใหม่ในปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 1.46 ล้านบาท
รัฐบาลก่อหนี้ 1.34 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เพื่อชดเชยขาดดุล 6.23 แสนล้านบาท
กู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉิน จำนวน 5.5 แสนล้านบาท กู้บริหารสภาพคล่อง 9.9 หมื่นล้านบาท
กู้ลงทุนโครงการ 7.41 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ที่เหลือเป็นการก่อหนี้ของรัฐวิสาหกิจ 1.17 แสนล้านบาท และการก่อหนี้ของหน่วยงานอื่นอีก 1,808 ล้านบาท
หนี้สาธารณะหมายถึงยอดหนี้คงค้างของรัฐบาลที่มีการกู้ยืมในช่วงที่ผ่านมา และมีผลผูกพันต่อรัฐบาลทุกรัฐบาลในการชําระคืนจากงบประมาณของแผ่นดิน โดยประกอบไปด้วยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ทั้งจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ หนี้ของรัฐวิสาหกิจทั้งจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ โดยในกรณีของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จะประกอบไปด้วยหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินจะนับรวมเฉพาะหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลค้ำประกันเพียงอย่างเดียว
ส่วนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หมายถึงหนี้สินจากการดําเนินการช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา และการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินในช่วงวิกฤติตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นพันธะที่รัฐบาลจะต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนฯ และยังมีหนี้ของหน่วยงานภาครัฐอื่น หมายถึงหนี้ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามนโยบายรัฐบาล ได้แก่หนี้ของกองทุนน้ำมัน และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันรัฐบาลได้ชําระหนี้ของหน่วยงานภาครัฐอื่นหมดแล้ว.
หนี้ของแต่ละประเทศทั่วโลก
หนี้ของทั่วโลกอยู่ที่ $78,836,656,849,004 (commodity.com)
ของสหรัฐอเมริกา $27,210,454,017,80796 (usdebtclock.org)
ก่อนวิกฤตโควิท-19 โดย ถ้าเทียบหนี้ทั่วโลกหนี้สาธารณะเฉลี่ยต่อ GDP จะอยู่ที่ประมาณ 80%
แต่ถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันแล้ว หนี้สาธารณะเฉลี่ยต่อ GDP จะอยู่ที่ประมาณ 46%
โดยประเทศญี่ปุ่นหนี้ต่อ GDP อยู่ที่ 270% เป็นอันดับที่ 1 ของโลก
ขณะที่สหรัฐอเมริกาหนี้ต่อ GDP อยู่ที่ 128%

