
หายนะครั้งแรกๆ ของวงการค้าปลีกในประเทศคือการที่ร้านค้าโชว์ห่วย ได้รับผลกระทบจากร้านสะดวกซื้อเช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ห้างโลตัส บิ๊กซี ซึ่งกฎหมายที่เปิดกว้างและไม่มีข้อจำกัดแบบประเทศอื่นๆ ที่ต้องการให้ค้าปลีกรายย่อยยังอยู่ได้ ทำให้ค้าปลีกร้านเล็กล้มหายไปเกือบหมดประเทศ
หายนะรอบ 2 คือ การที่ร้านค้าออนไลน์ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ความสะดวก และ ของที่ถูกกว่า ค้าปลีกรายย่อยตามห้างหรือตลาดต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างมาก
หายนะรอบ 2+ คือการที่ Lazada Shopee JD.com เปิดตัวและทุ่มงบมหาศาล จนเป็นที่นิยมแม้แต่ละปีขาดทุนหลายร้อยล้านเพื่อขยายตลาด การที่สามารถซื้อสินค้าจีนจากประเทศจีนได้โดยตรงอีกทั้งค่าส่งยังถูกมาก เหมือนส่งจากประเทศไทยเองเลยที่เดียว ที่สำคัญสินค้าราคาถูกกว่าของไทยด้วย แต่ข้อเสียคือต้องรอนานประมาณ 10 กว่าวันเลยทีเดียว ซึ่งทาง Alibaba(เจ้าของ Lazada) ก็เตรียมมาลงทุนตั้งสูญกระจายสินค้าในไทย ดังข่าวด้านล่างนี้
ศูนย์กระจายสินค้าของ Alibaba ที่ฉะเชิงเทรากำลังจะเสร็จและส่งมอบในเดือนกันยายน 2562 นี้แล้ว
http://www.thansettakij.com/content/400742

เมื่อสร้างเสร็จและเปิดดำเนินการ ซึ่งทาง Alibaba.มาลงทุนในฐานะผู้กระจายสินค้า ไม่ใช่ผู้ขาย ดังนั้นสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1500 บาท จะไม่เสียทั้งภาษีนำเข้าและVat (กระทรวงการคลังบอกปฏิบัติยุ่งยาก-แยกแยะลำบากนำเข้าเพื่อใช้ส่วนตัว/เพื่อการค้าอีคอมเมิร์ซ แถมอาจไม่คุ้มค่าจัดเก็บ เหตุได้เม็ดเงินภาษีแค่หลักร้อยล้านบาท)
นอกจากนี้ Alibaba ยังอาจไม่ต้องเสียภาษีสูงสุด 15 ปี จากกฎหมาย EEC ซึ่งตามรอการจัดหมวดหมู่ที่ชัดเจนว่าจะอยู่กลุ่มไหน
ตามบทความนี้ alibaba ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจริงหรือมั่ว
ในปี 2561 กรมสรรพากร ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก กรมสรรพากร ( Revenue Department ) ซึ่งเป็นหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่ยกเว้นภาษีให้กับ แจ็ค หม่า ให้ลงทุนขายของออนไลน์ในไทยเป็นเวลา 13 ปี
โดยระบุว่า กรมสรรพากรชี้แจงกรณีรัฐบาลออกกฎหมายเก็บภาษีคนไทยขายของออนไลน์ แต่ยกเว้นภาษีให้นักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนขายของออนไลน์ในไทย กรณีการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของอาลีบาบา เป็นการได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนตามหลักเกณฑ์ของ BOI ซึ่งสิทธิประโยชน์พื้นฐานจะแตกต่างกันไปตามประเภทกิจการ
Alibaba Group นั้นได้รับสิทธิพิเศษด้านการยกเว้นภาษีหากนำสินค้าเข้ามาเพื่อผลิตและส่งออกในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ECC แถมยกเว้นภาษีนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนใหม่ของบีโอไอ ได้รับการยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี และได้สิทธิลดหย่อนภาษี 50% ในปีที่ 9-13 ยังได้รับสิทธิพิเศษในการเช่าที่ดินราชพัสดุนานถึง 50 ปี และอาจพิจารณาต่ออายุสัญญาเช่าอีก 49 ปี ซึ่งเท่ากับว่าอาจเช่าได้นานถึง 99 ปี นอกจากนี้ Alibaba ได้รับสิทธิพิเศษเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำหนดสินค้า(rules of origin) เป็นเกณฑ์ที่อนุโลมให้วัสดุที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดอัตราศุลกากร ยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรได้ แถมด้วยสิทธิพิเศษเรื่อง Alipay ที่ต่อไปการชำระเงินของระบบ Alipay สามารถชำระค่าบริการในการซื้อขายสินค้าได้โดยตรง จากเดิมที่ต้องดำเนินการผ่านระบบธนาคารและสถาบันการเงินของไทย
http://www.ispacethailand.org/economy/15995.html
งานนี้ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลายที่มีสินค้าที่มีต้นกำเนิดมาจากจีนคงหมดทางสู้ ส่วนผู้นำเข้าสินค้าจากประเทศจีนกุมหัว นอกจากผู้ผลิตสินค้าของไทยที่ผลิตสินค้าใกล้เคียงกับจีนคงม้วนเสื่อกลับบ้านแน่นอน นี่เป็นเพียงการลงทุนเพียงเฟสแรกเท่านั้น เพราะการลงทุนในเฟสที่สองก็กำลังอยู่ระหว่างเจราจา
การเปลี่ยนแปลงทางการขายจะไม่ค่อยๆ มาให้เราปรับตัวได้ แต่จะโหมมาด้วยความรวดเร็ว รุนแรง จนอาจตั้งตัวไม่ทัน ตอนนี้การค้าออนไลน์เสมือนยังเดินไปได้แบบปกติ แต่คลื่นใต้น้ำกำลังก่อตัว จนกลายเป็นคลื่นยักษ์ ทุกคนต้องเตรียมตัวรับให้ดีการลงทุนที่จะหวังให้มีการจ้างงาน ก็อาจได้เป็นบางส่วนเพราะคงได้สำหรับพนักงาน warehouse เท่านั้น แถมจำนวนพนักงานก็ใช้น้อยลงแล้วเนื่องจากใช้ระบบ robot เข้าช่วยถึง 70%
ขอบคุณข้อมูลจาก
บทความจาก Pantip
นอกจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะกระทบแล้ว ร้านค้าปลีกทั่วไปตามห้างหรือตลาดนัด ก็พลอยกระทบหนักไปด้วย รวมถึงผู้ผลิตสินค้าต่างๆ
ขณะที่สหรํฐอเมริกาพยายามสุดตัวเพื่อสะกัดกั้นการขาดดุลการค้ากับจีน นอกจากภาครัฐบาลไทยไม่สะกัดแล้ว สินค้าจีนยังไม่เสียทั้งภาษี Vat ภาษีนิติบุคคล ยังช่วยส่งเสริมต่างชาติมาแย่งตลาดค้าปลีกไทยแบบไม่ต้องเสียภาษี แต่ยังเล็งเก็บภาษีการค้าออนไลน์ กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ จากคนไทยอีก
ฉะนั้นคนไทยต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อให้รอดจากหายนะครั้งใหญ่โดยข้อเสนอแนะดังนี้
1. ถ้านำเข้าสินค้าจีนต้องสร้างมูลค่าเพื่อของสินค้าเข้าไป เช่น การเพิ่มบริการหลังการขาย หรือ รับติดตั้ง ซึ่งผู้ประกอบการจีนที่อยู่ที่ประเทศจีนไม่สามารถมาทำที่ไทยได้
2. ทำสินค้าเฉพาะท้องถิ่นจริงๆ ที่จีนไม่ทำ
หวังว่าทุกคนจะเอาตัวรอดจากการต่อสู้ครั้งนี้ได้กันนะครับ
ข้อได้เปรียบของจีนในการส่งสินค้าไปประเทศอื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้จาก
บทความ ส่งของจากที่ไกลๆ ทำไมถูกกว่าเบื้องหลังสมาคมฯผู้บิดเบือนราคาไปรษณีย์ระหว่างประเทศ