บิล เกตส์ กล่าวว่า เงินในอนาคตจะเป็นรูปแบบดิจิทัล
อีลอน มัสค์ กล่าวว่า ยุคของเงินกระดาษจะหมดไป
หลายคนพูดถึงอนาคตของ “เงินดิจิทัล” ทั้งในระยะใกล้และในระยะยาว คนแรกที่พูดถึงประเด็นนี้ก็คือ “โรเบิร์ต ชิลเลอร์” ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2013 ชิลเลอร์ ยอมรับว่า บิตคอยน์ และคริปโตเคอเรนซี อื่น ๆ เป็นแนวคิดที่ชาญฉลาด “จริง ๆ” และแสดงความประทับใจกับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์ (ซึ่งเหมือนกับเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆ) แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่สบายใจสูงถึงระดับ “เป็นกังวล” ต่อการที่บิตคอยน์ หรือเงินดิจิทัลอื่น แพร่หลายออกไปในสภาพของ “เงิน”
ชิลเลอร์ไม่ถือว่า บิตคอยน์ เป็นเงินสกุลหนึ่ง และแสดงความคิดเห็นในเชิง “เตือน” นักลงทุนเรื่อยมาว่า มูลค่าของมันสามารถ “พังพาบ” ลงเมื่อใดก็ได้ ทั้งมองบิตคอยน์ คริปโตเคอเรนซีเจ้าแรกว่าเป็นเพียง “การทดลอง” ประการหนึ่งที่ “น่าสนใจ” แต่ไม่มีวันเป็น “คุณลักษณะถาวรในชีวิตของคนเรา” เหมือนอย่างที่เงินสกุลต่าง ๆ เป็น
“เราให้ความสำคัญกับตัวบิตคอยน์มากจนเกินไป ทั้ง ๆ ที่ควรให้ความสำคัญครอบคลุมไปถึง “บล็อกเชน” (เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์) มากกว่า” ชิลเลอร์ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะ “บล็อกเชน” สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นได้หลากหลายมาก
Blockchain คืออะไร?
Blockchain คือระบบที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของบิทคอยน์(Bitcoin) เงินดิจิทัลที่โด่งดัง บล็อกเชนเป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Database) แบบหนึ่งของระบบที่ไม่มีศูนย์กลางแต่เชื่อถือได้และโกงยาก บล็อก (Block) คือ การเก็บข้อมูลแบบนึงที่เก็บเป็นส่วนๆ และนำมาร้อยต่อกันเรื่อยๆ เหมือนโซ่คล้องกัน (Chain) โดยมีวิธีเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ที่ทำให้รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บ ณ เวลาใด มีการแก้ไขหรือเปล่า โดยข้อมูลทั้งหมดจะส่งและกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย ดังนั้นข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปแล้ว จึงมีความน่าเชื่อถือเพราะทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กัน ถ้าใครอยากจะแก้ไขก็มีทางเดียวคือต้องไปแก้ในเครื่องของทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากมากเมื่อเครือข่ายนั้นๆ ใหญ่เช่น บิทคอยน์เป็นต้น
หัวใจของมันคือความโปร่งใสและเชื่อถือได้โดยไม่ต้องมีตัวกลางมาคอยรับรอง ด้วยความบล็อคแต่ละบล็อคมันเชื่อมกันกับคนอื่นๆเป็นทอดๆแบบนี้ ทำให้ใครที่คิดจะเข้ามาแทรกแซงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนี่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมันจะกระทบกับบล็อคอื่น ๆ ไปหมดเหมือนล้มโดมิโน ระบบนี้จึงปลอดภัยและไว้ใจได้มาก
บิตคอยน์-อนาคตจะเป็นอย่างไร?
บิตคอยน์ถูกออกแบบให้เป็น people’s money ระบบสร้างความน่าเชื่อถือได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านระบบแบงค์ เรียกว่า de-fi หรือ Decentralized Finance
ในอดีตมีการใช้บิตคอยน์เป็น medium of exchange เช่น เคยจ่ายให้คนไปทำงานเป็นครูแบบ NGO ในประเทศที่ไม่สะดวกจะโอนค่าจ้างเป็นสกุลหลักผ่านแบงค์ ซึ่งเมื่อผู้รับได้บิตคอยน์ ก็สามารถโอนต่อไปให้แก่คนอื่นได้ง่าย
แต่ภายหลังราคาบิตคอยน์หวือหวา ขึ้นไปสูงกว่าเดิมเรื่อยๆ จึงเกิดปัญหาในด้านเป็น medium of exchange เพราะกว่าที่คนรับโอนจะไปแลกบิตคอยน์กลับเป็นสกุลหลัก ก็อาจจะมีได้/มีเสียเป็นจำนวนเงินมาก
นอกจากนี้ จะมีตำนานเล่าขานกันหลายเรื่อง แนะนำว่าคนที่มีบิตคอยน์ให้เก็บเอาไว้ อย่าเอาไปใช้ชำระหนี้ เช่น คนหนึ่งเคยใช้ชำระค่าตั๋วเครื่องบิน มาวันนี้ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน เที่ยวบินนั้นเขาควักกระเป๋าไปกว่ายี่สิบล้านดอลลาร์ มีคนอเมริกันคนหนึ่ง ใช้บิตคอยน์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ตีราคาขณะนั้นเพียงสิบกว่าล้านดอลลาร์ แต่มูลค่าวันนี้เกินร้อยล้าน เขายังคิดเสมอว่า พลาดไปอย่างหนัก ข่าวจากบลูมเบิร์ก ชายคนหนึ่งเขาใช้บิตคอยน์ซื้อพิซซ่า 2 อัน มูลค่าวันนี้สูงถึง 446 ล้านดอลลาร์
ดังนั้น อนาคตของบิตคอยน์ในบทบาท medium of exchange จึงน่าจะมีไม่มาก ไม่ว่าระบบการเงินจะพยายามอำนวยความสะดวกเท่าไหร่ก็ตาม เพราะราคาที่หวือหวาจะเป็นอุปสรรค ทั้งนี้ โดยปกติผู้ที่จะออกสกุลเงินของตนเองได้นั้น จะต้องเป็นระดับประเทศ เพราะจะต้องสามารถสร้างความเชื่อถือ จะต้องมีอำนาจในการเก็บภาษีเพื่อให้ประเทศอยู่รอด แต่คอยน์ในโลกคริปโตนั้น ใครๆ ก็ออกได้ ไม่มีใครกำหนดกติกา ไม่ต้องขออนุญาตใคร และใครก็ห้ามไม่ได้ ย้อนหลังไป 5-6 ปี มีจำนวนคอยน์เพียงห้าร้อยเศษเท่านั้น ซึ่งจำนวนคอยน์ที่มีเพิ่มขึ้นมากมายจนถึงปัจจุบันนี้ และที่จะมีเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ นั้น ขณะนี้มี crypto coin อยู่มากถึง 4,501 คอยน์ มูลค่าตลาดทั้งหมด 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ อันดับหนึ่งคือบิตคอยน์ 8.8 แสนล้าน ตามด้วยอีธีเรียม 2.0 แสนล้าน
อย่างไรก็ดี จำนวนธุรกรรมที่ผ่านบิตคอยน์เพียงวันละ 3.5 แสนรายการในปัจจุบันนั้น ระบบนี้ใช้ไฟฟ้ามากถึง 0.5% ของไฟฟ้าทั้งโลก สาเหตุที่ใช้ไฟฟ้ามาก เพราะออกแบบไว้ให้มีคอมพิวเตอร์เข้ามาสนับสนุนนับหมื่น ซึ่งมีข้อดีที่เป็นการกระจายอำนาจ ถ่วงดุล เชื่อถือได้สูงสุด แต่มีข้อเสียที่กินไฟฟ้ามาก
กรณีถ้าหากจะใช้ระบบบิตคอยน์แทนการโอนเงินผ่านบัตรเครดิตที่ขณะนี้เกิดขึ้นทั่วโลกในแต่ละวัน ด้วยอัตราการใช้ไฟฟ้าที่เรตที่กล่าวข้างต้น ระบบบิตคอยน์จะต้องใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 14 เท่าของไฟฟ้าทั้งโลก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และการโอนแต่ละครั้งก็กินเวลานานหลายสิบนาที ดังนั้น บทบาทสำหรับบิตคอยน์ในด้าน medium of payment จึงกระจุกอยู่ในประเทศที่มีการควบคุมการโอนเงินระหว่างประเทศเข้มงวด เช่น ไนจีเรีย และอินเดีย แทน
จากการสำรวจโดย Statista Global Consumer Survey ใน 74 ประเทศพบว่าชาวไนจีเรียใช้หรือครอบครองคริปโตเคอเรนซี่มากที่สุดในโลกในสัดส่วนถึง 32% หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรที่ใช้สกุลเงินดิจิทัล ไนจีเรียประชาชนมีความจำเป็นต้องส่งเงินข้ามประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายในการส่งเงินค่อนข้างสูง ในระยะหลังจึงหันมาใช้คริปโตในการส่งเงิน
อันดับที่ 2 คือเวียดนาม
อันดับที่ 3 ฟิลิปปินส์ สาเหตุที่ทำให้คริปโตฯ เป็นที่นิยมในประเทศเหล่านี้ก็เนื่องมาจากประชาชนที่ออกไปทำงานต่างแดนนิยมส่งเงินกลับบ้านด้วยสกุลเงินดิจิทัล
ชาวเวียดนามพลัดถิ่นมักส่งเงินกลับไปยังประเทศเวียดนามเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวของพวกตน แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการนำเงินที่ส่งกลับมาไปใช้ลงทุนในประเทศด้วย โดย Bitcoin, Ethereum, Litecoin และ Ripple เป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเวียดนาม
ในประเทศฟิลิปปินส์ ธนาคารกลางของประเทศอำนวยความสะดวกประชาชนในการใช้คริปโตฯ โดยอนุมัติให้เปิดบริการการแลกเปลี่ยนเงินตราปกติกับคริปโตฯ หลายแห่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในการโอนและส่งเงินข้ามประเทศ เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานไปทำงานต่างแดนมากที่สุดประเทศหนึ่ง และบางธนาคารให้บริการ Bitcoin ATM ที่ย่านการค้าในกรุงมะนิลาด้วย
บริษัทยักษ์ใหญ่กำลังสนใจบิทคอยด์
หลังจากที่ Tesla ได้ตัดสินใจเข้าซื้อ Bitcoin มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญไปเมื่อกี่วันก่อน ล่าสุด JP Morgan ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก Morgan Stanley และ Goldman Sachs กำลังอาจเตรียมเข้าลงทุนใน Bitcoin เพราะพวกเขากำลังเตรียมการครั้งใหญ่เพื่อหนีการพิมพ์เงินแบบไม่อั้นของ FED ที่กำลังทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ในบัญชีกำลังอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว
เว็บที่มีวอลุ่มการซื้อขาย Bitcoin
เจ้าที่แลกเปลี่ยนซื้อขาย bitcoin มากที่สุดในโลกคือ Binance ถึง 30%
ส่วนในประเทศไทยจะเป็น bitkub อ้างอิงจากเว็บไซต์ coinmarketcap พบว่า วอลุ่มเทรดของเว็บ Bitkub เพิ่มขึ้นแตะ $101,092,914 ดอลลาร์ (ประมาณ 3 พันล้านบาท)