ตลาดหุ้น บิทคอยน์ ทอง ปรับตัวขึ้น หลัง Fed คลายความกังวล อัดฉีดต่อ
17 มีนาคม : ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทอเมริกา “ทุบ” สถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลัง Fed ธนาคารกลางสหรัฐยืนยั่งคงดอกเบี้ย 0-0.25 ถึงปี 2023
ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 189.42 จุด (0.58 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 33,015.37 จุด ทำสถิติ All Time High
เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 11.41 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,974.12 จุด ทำสถิติ All Time High
แนสแดค เพิ่มขึ้น 53.64 จุด (0.40 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,525.20 จุด
ทองคำ ราคา 1,750 ดอลลาร์ต่อออนซ์
บิทคอยน์ ราคา 58977 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์
เฟดคงอัตราดอกเบี้ยและคาดหมายว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 อย่างรวดเร็วโดย เฟดมองว่าอัตราเงินเฟ้อปีนี้จะไปถึง 2.4% ทะลุเพดาน 2% ที่เฟดตั้งไว้ ส่วนปี 2022-2023 อยู่ที่ 2.0% และ 2.1% ตามลำดับ และยังคงตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 2.0% ในขณะที่ตลาดเชื่อว่าเงินเฟ้ออาจไต่ได้สูงขึ้นกว่า 3% ทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่ 1.5% นั้นไม่คุ้มค่า จึงแห่กันเทขาย
เศรษฐกิจอเมริกาด้วยมาตรการนี้ ปี 2021 คาดการณ์ GDP จะพุ่ง +6.5% แรงสุดในรอบเกือบ 4 ทศวรรษปี 2022 โตต่ออีก +3.3% และปี 2023 ขยายไปอีก +2.2% และคงการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่ระดับ +1.8%
อัตราการว่างงาน ในปี 2021 นี้ทาง FED คาดว่าจะทยอยปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆลงมาสู่ระดับ 4.5% ส่วนในปี 2022 และ 2023 จะลดลงต่อเนื่องลงมาเหลือ 3.9% และ 3.5% ตามลำดับ
Fed แย้ม ยังไม่ถึงเวลาที่จะมาถกเรื่องเบาอัดฉีดลง เดินหน้าปั๊มเงิน ซื้อสินทรัพย์ในตลาด เฟดระบุว่าจะยังคง
ซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน แบ่งเป็น
– ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน
– ซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์
ยังมีกระสุนจากการคลัง (fiscal) ที่รัฐบาลจัดหนัก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ แจกให้ประชาชนคนละ 1,400 ดอลลาร์ (ประมาณ 4.2 หมื่นบาท)
สหรัฐพิมพ์เงินเกินตัวหรือไม่
ในปี 2008 ที่เกิด วิกฤติซับไพร์ม นั้น Fed พิมพ์เงินเพื่อ bailout ระบบแบ้งกิ้ง ก็ยังเป็นเงินแค่ $7 แสนล้านเท่านั้น
ในช่วง 12 เดือนระหว่างต้นเดือนมีนาคมปีที่แล้วก่อนที่จะมี Covid จนถึงเดือนมีนาคมปีนี้ หนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก $23.5 ล้านล้านเป็น $28 ล้านล้าน เป็นการเพิ่มขึ้นถึง $4.5 ล้านล้าน แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน Balance Sheet ของ Federal Reserve ก็โตขึ้นจาก $4 ล้านล้าน เป็น $7.5 ล้านล้าน …เพิ่มขึ้นมา $3.5 ล้านล้าน
เมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐบาลต้องการใช้เงิน …Fed ก็แค่กดปุ่ม เสกเงินนับ trillions จากกลางอากาศ และให้กระทรวงการคลังกู้ ผ่านทางระบบแบ้งกิ้ง
เงินเฟ้อจะทำให้ผู้คนยากจนเพิ่มขึ้น แต่ทั้ง Fedและกระทรวงการคลังก็ยังคง ต้องการ ให้เกิดเงินเฟ้อ Fed ก็ได้ประกาศแล้วว่าเต็มใจรับอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ส่วนกระทรวงการคลังก็ต้องการให้เกิดเงินเฟ้อเพื่อให้รัฐบาลสามารถชำระหนี้ง่ายขึ้น ($30 ล้านล้านจะมีค่าน้อยลงอีกเยอะในสิบปีข้างหน้าถ้าเงินเฟ้อสูง)
- ธนาคารกลางกำลังเพิ่มขนาด money supply ในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน
- รัฐบาลกลางกำลังกู้เงินในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน
- ทั้งสองเรื่องนี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดเงินเฟ้อ
- นักวางนโยบายเศรษฐกิจก็ต้องการให้เกิดเงินเฟ้อ โดยเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ดีต่อเศรษฐกิจ
ในช่วงเวลาระหว่างเกิดเงินเฟ้อ การออมเงินเอาไว้ก็จะยิ่งทำให้คุณจนลง อัตราดอกเบี้ยของธนาคารมันต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อซะอีก ทุกปีอำนาจซื้อของเงินลดลงเรื่อย ๆ คนก็มักจะเลี่ยงไปซื้อเป็นทรัพย์สิน เช่นหุ้น เรียลเอสเตท บริษัทเอกชน …ราคาทรัพย์สินดูจะไปได้ดีกว่าในช่วงเงินเฟ้อ
แต่ ดัชนีราคาหุ้น S&P 500 ของสหรัฐอยู่ในช่วง all-time-high ในปลายปี 1968 ตอนที่กำลังจะเกิดเงินเฟ้อซึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายมหาศาลในสงครามเวียตนามและโครงการใช้จ่าย “Great Society” ของ ปธน.จอห์นสัน ก่อนถึงปี 1974 อัตราเงินเฟ้อมากกว่า 11% แต่ตลาดหุ้นสูญมูลค่าไปมากกว่า 40% มันใช้เวลาอีก 25 ปีจากนั้น..ถึงปี 1993 ..S&P 500 ถึงได้กลับมาที่ระดับเดียวกับเมื่อปี 1968 หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว
ทรัพย์ที่ยังไม่ปรับตัวขึ้นและยังมีค่าเสมอสำหรับสังคมโลกคือ โลหะทองและเงิน ซึ่งไม่ใช่กองทุนหรือสัญญากระดาษ
ที่มา
reuters.com
เพจ สายัณห์ รุจิรโมรา