เงินออมหลังเกษียณ

ตัวเลขเงินออมหลังเกษียณควรจะมีเงินเท่าไรถึงจะอยู่รอด

หลังเกษียณต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเท่าไหร่?

ในยุคที่สังคมไทยเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ ก่อนเกษียณเราควรจะคิดถึงเงินออมที่จะใช้หลังเกษียณได้ตลอดอายุขัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก อายุหลัง 60 ปีควรเป็นอย่างไร คณเคยออกแบบชีวิตในวัยเกษียณไว้บ้างหรือไม่ หลังเกษียณอยากใช้ชีวิตแบบไหน? ที่สาคัญอย่างมากๆ คือ ต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเท่าไหร่?

อย่างไรก็ตามก่อนที่เกษียณอายุควรที่จะ

1. ไร้หนี้สินก่อนอายุ 60 ปี
2. ถ้าหลังเกษียณอยากใช้จ่ายวันละ 500 บาท ต้องมีเงินออมเกือบๆ 4 ล้านบาทเพื่อที่จะดำรงชีวิตต่อแบบสบายใจและไม่ต้องขวนขวายหางานทำเพื่อในวัย 60 ปี ไปจนกว่าอายุ 80 ปี ถ้าอายุขัยเกิน 80 ปีก็ต้องสำรองเงินเพิ่มอีก

โดยเงินก้อนนี้

  • ไม่ต้องคำนึงถึงเงินเฟ้อ
  • ไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอาการป่วยไข้หนัก
  • ไม่ต้องคำนึงถึงการซื้อทรัพย์ชิ้นใหญ่
เงินออมหลังเกษียณ

ถ้าหลังเกษียณยังไม่มีเงินตามที่ต้องการจะทำอย่างไร วิธีแก้แบบ

1. ลดรายจ่ายการใช้เงินให้น้อยกว่าวันละ 500 บาทต่อวัน ทำยังไงได้บ้าง ประหยัดค่าใช้จ่าย ปลูกผักสวนครัว ซื้อของเป็นแพค เข้าถึงแหล่งของถูก ธงฟ้า คนละครึ่ง เราชนะ ฯลฯ
2. เพิ่มรายได้ อันนี้ยังแบ่งออกเป็นสองวิธี
2.1 พึ่งตัวเราเองต้องขวนขวาย หางานทำ สร้างรายได้ เพื่อขยายอายุเกษียณออกไปอีก เช่น ยังหารายได้ได้จนถึงอายุ 67 (แบบฝรั่งบางประเทศ เกษียณ 67 ปี) นั่นจะทำให้ช่วงเกษียณ เหลือเพียง 13 ปี และเงินเก็บจะใช้พอ ถามว่าทำงานอะไรดี อันนี้ขึ้นกับความถนัด ความชอบ เพื่อนฝูง โอกาส ฯลฯ
2.2 พึ่งคนอื่นซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ร้อยละ 90 อัพของคนมีลูกหลาน มักจะเป็นการหวังพึ่งพาลูกหลาน ถ้าเขาเลี้ยงดูให้เงินเดือน ก็ดีไป นี่คือสุดยอดแต่ถ้าลูกหลานอาจจะไม่เลี้ยง ก็อาจไม่ใช่ว่าพวกเขาอกตัญญูนะครับ แต่มันเลี้ยงเราไม่ไหวไง ยุคสมัยนี้ เด็กรุ่นใหม่เรียนจบมาทำงาน หาเงินเลี้ยงดูตัวเอง ส่งตัวเองเรียนโท ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายสารพัดบิล แต่ละเดือนยังเป็นบวกอยู่ นี่มันก็เก่งแล้วครับ

ดังนั้น ใครที่ยังมีแรง อายุยังไม่ถึงวัยเกษียณ แปลว่า หนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุด”คือแผนเกษียณอายุ”ตั้งเป้าว่าจะมีเงิน มีพอร์ต ตอนเกษียณอายุ เท่าไหร่ จึงสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าตอนนี้ยังไม่เกษียณและมีแรงในการทำงานควรคำนึงถึงเงินที่ออมเผื่อไว้เพื่อการเป็นอิสระหลังเกษียณที่อย่างน้อยสามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่าคิดว่าเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว

คำนวณเงินออมที่ใช้หลังเกษียณอายุ

ตัวเลขที่ต้องออมก่อนเกษียณอายุควรอยู่ที่เท่าไร จะข่าวด้านล่างสภาพัฒน์แนะนำว่า 2-4 ล้านบาทตัวเลขนี้มาจากไหน

ซึ่งเราคำนวณได้ง่ายๆ โดยเราสามารถใส่ค่าที่ต้องการในการคำนวณในช่อง จำนวนเงินที่คาดว่าจะใช้แต่ละเดือน (บาท) และ อายุที่คาดว่าจะอยู่จนแก่ตาย (ปี)

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”7″]

สภาพัฒน์เปิดตัวเลขเงินออมหลังเกษียณ 2.8- 4ล.ถึงจะอยู่รอด

ทางด้านสภาพัฒน์ฯ 23 ก.พ. 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ยังเผยแพร่รายงานพิเศษเรื่อง ‘หลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุ : เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น’ โดยระบุว่าไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ในปี 2566 และสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี 2576 หรือ 12 ปีข้างหน้า แต่การออมในผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงในชีวิต โดยเสนอให้ภาครัฐดำเนินการใน 2 ประเด็น ได้แก่

1.การส่งเสริมการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุโดยการสร้างการรับรู้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงหลักประกันให้สะดวกและรวดเร็ว ทั้งการสมัครและการขอรับสิทธิประโยชน์และทบทวนฐานเงินเดือนสูงสุดในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมและปรับอัตราการออมเพื่อให้แรงงานสามารถออมได้มากขึ้น ขณะที่ภาคประชาชนสามารถเตรียมความพร้อมโดยการเก็บออมได้อีกทางหนึ่งด้วย

2.การเพิ่มรายได้โดยส่งเสริมการมีรายได้หลังเกษียณและความรู้ทางการเงิน การประกอบอาชีพตามความสามารถของผู้สูงวัย และเพิ่มความรู้ในการบริหารจัดการการเงิน (Financial literacy)

“เราเคยมีการศึกษาไว้ว่าเงินออมที่พึงมีหลังจากอายุ 60 ปีไปแล้ว ในเขตเมือง ต้องมีเงินออม 4 ล้านบาท เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ต่อไปหลังเกษียณ ส่วนในชนบท ต้องมีเงินออมประมาณ 2.8 ล้านบาท แต่ระบบบำนาญของเรา จะพบว่าคนที่มีรายได้เพียงพอหลังเกษียณไปแล้วอยู่ในระดับไม่ค่อยดีนัก และหากเราไม่ทำอะไรเลย ในอนาคตจะมีคน 14 ล้านคน ที่จะอยู่ได้หรือมีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเท่านั้น จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบการออม” นายดนุชา กล่าว

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ที่มา เพจนิ้วโป้ง