เนื้อจากพืช Mega trend เมกะเทรนด์ใหม่ของโลกในอนาคต

1423

เนื้อเทียมที่ทำจากพืชเทรนด์ใหม่ของโลกในอนาคต

Plant-based Meat หรือเนื้อจากพืช คือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชโดยใช้กระบวนการแปรรูปให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั้งผิวสัมผัสและรสชาติ โดยใช้ส่วนผสมของพืชและโปรตีนจากถั่วชนิดต่างๆ ผสมกับส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้มีสีสัน ความชุ่มฉ่ำ และรสชาติเสมือนเนื้อมากที่สุด นับเป็นเทรนด์การรับประทานอาหารแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในต่างประเทศและในประเทศไทยก็เริ่มมีขายแล้วเช่นกัน

Plant-based Meat หรือเนื้อที่ทำมาจากพืช

Plant-based Meat หรือเนื้อที่ทำมาจากพืช

โดยระหว่างปี 2013 – 2018 เนื้อจากพืชมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 15.4% เทียบกับเนื้อแปรรูป (Processed Meat) ที่เติบโตปีละ 1.2% โดยในปี 2019 ตลาดเนื้อที่ทำจากพืชมีขนาดใหญ่ถึง 3.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐโดยคาดการณ์ว่าปี 2020 มูลค่าตลาดเนื้อที่ทำจากพืชมีขนาดใหญ่ถึง 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยอัตราการเติบโตระหว่างปี 2020 ถึง 2027 จะโตปีละประมาณ 19.4% ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมตลาดเนื้อจากพืชมาจาก การตระหนักที่เพิ่มขึ้นของการฆ่าสัตว์ สิทธิของสัตว์ที่ควรจะมีชีวิตอยู่โดยไม่ถูกทำเป็นอาหาร ถ้าในประเทศไทยก็ถือว่าฆ่าสัตว์เป็นบาป ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยในการกระตุ้นการเติบโตของตลาดเนื้อพืชเป็นอย่างดี ยิ่งรวมถึงพวกที่ทานมังสวิรัติ(vegan)และผู้บริโภคในปัจจุบันจำนวนมากสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ไปด้วยยิ่งเป็นอีกปัจจัยในการหนุนตลาดอย่างมาก
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) เผยว่าการทำปศุสัตว์มีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 14.5% การบริโภคเนื้อสัตว์ล้นเกินจึงสร้างปัญหาทั้งด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อม

ผู้บริโภคเปลี่ยนความคิดหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น สังคมตระหนักมากขึ้นถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของฟาร์มปศุสัตว์ และการระบาดอย่างรุนแรงของอหิวาต์สุกรแอฟริกันในจีน รวมถึงโรคระบาดต่างๆ


ตลาดเนื้อจากพืชในสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างมาก เนื่องจากตัวเนื้อจากพืชเองก็พัฒนาไปอย่างมากเป็นอาหารที่ทำจากพืชที่มี กากใย(Fiber)สูง, มีวิตามิน C มีธาตุเหล็ก, แต่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังพัฒนาให้เก็บได้นาน มีการผสมกลิ่น, รสสัมผัสและมีแร่ธาตุให้เหมือนเนื้อจริงๆ

อย่างไรก็ตามด้านราคานั้น เนื้อจากพืชที่เป็นแฮมเบอร์เกอร์หรือไส้กรอก ถ้าราคาในสหรัฐ ราคาขายปลีก Beyond Burger อยู่ที่ $12 USD ในขณะที่แฮมเบอร์เนื้อทั่วไปราคา $5 USD ในขณะที่แบรนด์ไทย หมูสับเจ หมูบดเจ โปรตีนจากพืช (More Meat) มอมีท 200 กรัม ราคา 99 บาทใน Shopee เทียบ เนื้อหมูบดแท้ 200 กรัมราคาประมาณ 40-50 บาท

ตลาดเนื้อจากพืช

วัตถุดิบ

ในปี 2019 เนื้อจากพืชที่ทำจากถั่วเหลือง Soy-based meat ครองตลาดทั่วโลกมากกว่า 48.0% ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีโดยมีกรดอะมิโนที่ช่วยในการสร้างและเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ โดยการนำถั่วเหลืองมาใช้ในการผลิตไม่เพียงแต่ลดต้นทุนการผลิตแต่ยังลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจาการเลี้ยงสัตว์แบบเดิมที่เอาเนื้อและนมอีกด้วย

ที่น่าสนใจคือเนื้อจากพืชที่ทำจากถั่วลันเตา pea-based meat คาดการณ์ว่าโตเร็วที่สุดในหมวดนี้ในช่วงปี 2020 – 2027 เนื่องจากปลูกและผลิตได้ง่ายและราคาไม่แพง ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ อาทิเช่น วิตามินบี1(Thiamine) เส้นใย(fiber) ฟอสฟอรัส (phosphorous), แมงกานีส (manganese), วิตามินบี 9 หรือที่รู้จักกันในชื่อของโฟลิค(folate), และวิตามิน K และ C ยิ่งกว่านั้น เนื้อจากพืชที่ทำจากถั่วลันเตา pea-based meat สามารถทดแทนได้ทั้งเนื้อไก่ เนื้อหมู หรือเนื้อวัว ซึ่งคุณสมบัติที่หลากหลายเช่น มีโปรตีนสูง มีเนื้อเยื้อที่คล้ายๆ เนื้อจริงๆ และง่ายในการทำเป็นเนื้อจากพืช ทำให้เนื้อจากพืชที่ทำจากถั่วลันเตา pea-based meat น่าจับตาอย่างยิ่ง

ส่วนสินค้าเนื้อเทียมที่มีส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มเนื้อที่ทำจากพืชคือแฮมเบอร์เกอร์อยู่ 29%
ส่วนเนื้อเทียมไก่จะครองส่วนแบ่งอยู่ 34%
เนื้อเทียมแช่แข็งจะครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 57%
ในตลาดอเมริกาเหนือครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ 39% ของยอดขายเนื้อสังเคราะห์จากพืช

ตลาดเนื้อจากพืชในเอเชีย

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ได้กล่าวว่า ผู้ผลิตเนื้อเทียมในต่างประเทศว่า Beyond Meat เป็นบริษัทแรกที่ทำ Plant-based Meat หรือเนื้อไร้เนื้ออันดับแรก ๆ ก่อตั้งปี 2552 และมีสินค้าวางจำหน่ายเมื่อปี 2559 ขณะที่ Impossible Foods คู่แข่งรายสำคัญของ Beyond Meat บริษัทผู้ผลิตเนื้อจำลองสู่ตลาด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ในแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ผลิต Impossible Burger ให้กับ Burger King
ส่วนในประเทศไทย มีสตาร์ตอัพ 2 ราย ที่ได้มีการพัฒนาเนื้อเทียม และผลิตออกจำหน่ายได้แก่ แบรนด์ MORE MEAT และแบรนด์ Meat Avatar ขณะที่มีบริษัท วีฟู้ดส์(ประเทศไทย) จำกัดได้นำเนื้อเทียมจาก MORE MEAT มาทำเป็นเมนูอาหารออกวางจำหน่าย นอกจากนี้มี “Let’s Plant Meat” โดย “นิธิฟู้ดส์” บริษัทผู้ผลิตเครื่องเทศ เครื่องปรุงรสชั้นนำ และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้าน อาหาร จากจังหวัดเชียงใหม่ ได้คิดค้นเนื้้อจากพืชขึ้นมา โดยผลิตออกมาในรูปของเบอร์เกอร์เนื้อจากพืชเจ้าแรกในไทย เพื่อตอบโจทย์ชาววีแกน (ผู้ไม่กินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์) และผู้บริโภคสายกรีนที่อยากลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม 

“ตลาดเนื้อเทียมหรือโปรตีน ทางเลือกจากพืช มีกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายคือ กลุ่มกินเจ กลุ่มวีแกน และกลุ่มมังสวิรัติรวมถึงกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และศีลธรรม โดยไม่สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่ามารับประทาน และขณะนี้เริ่มมีการขยายเข้าไปในร้านอาหารชื่อดังต่างๆ เพื่อเป็นอาหารทางเลือกให้กับคนกลุ่มนี้”

ข่าวเรื่องเนื้อเทียมมักเกิดจากฝั่งอเมริกาและยุโรป แต่รู้หรือไม่ว่ากระแสจากเอเชียก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน ทั้ง Beyond Meat และ Impossible Foods เองก็เดินหน้าขนาดตลาดเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย  ผู้ผลิตแปรรูปเนื้อในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าร่วมด้วยเช่นกัน นำโดย NH Foods ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในญี่ปุ่น เตรียมเสนอผลิตภัณฑ์ไส้กรอก แฮม และเนื้อบดที่ผลิตจากถั่วเหลืองภายใต้แบรนด์ Natumeat

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า  อิโตะแฮมฟู้ดส์ บริษัทแปรรูปเนื้อรายใหญ่กำลังเตรียมเปิดตัวฮัมบูร์กสเต็กสไตล์ญี่ปุ่นและไก่ทอดแปลงจากถั่วเหลืองในเดือน ก.พ.นี้ ส่วนบริษัทลูกอย่างโยเนคิว โฮลดิงส์ก็หวังจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มมังสวิรัติแบบไม่เคร่ง ที่ส่วนใหญ่เลี่ยงเนื้อสัตว์แต่ก็รับประทานบ้างเป็นบางครา มอสเบอร์เกอร์ บริหารโดยมอสฟู้ดเซอร์วิสของญี่ปุ่น เริ่มขายมอสอิมพอสสิเบิลเบอร์เกอร์ในสิงคโปร์เมื่อเดือน ธ.ค. 2562 ในราคา 6.95 ดอลลาร์สิงคโปร์ (155 บาท) เนื้อเทียมที่ใช้พัฒนาโดยอิมพอสสิเบิลฟู้ดส์ ขณะนี้มอสกำลังจับตาการตอบสนองของผู้บริโภค แต่ก็หวังทำยอดขายเบอร์เกอร์ได้ 20,000 ชิ้นภายในสิ้นปี 2562 และวางแผนเพิ่มเนื้อเทียมลงไปในเมนูปกติเร็วๆ นี้

บริษัทที่ผลิตเนื้อจากพืชในต่างประเทศ

plant based meat vs meat

Beyond Meat

​ผู้ผลิตเนื้อจากพืชที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคือ Beyond Meat และ Impossible Foods ซึ่งมีสินค้าดังคือ Beyond Burger และ Impossible Burger
​Beyond Meat ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 ผลิตเนื้อจากพืชโดยใช้โปรตีนจากถั่วลันเตา โปรตีนจากข้าว และโปรตีนจากถั่วเขียวเป็นวัตถุดิบหลัก มีสินค้าหลากหลายให้เลือก ทั้งเนื้อไก่จากพืช เนื้อบดจากพืชในรูปแบบต่างๆ และไส้กรอกหมูจากพืช ผลิตภัณฑ์เด่นที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดก็คือแผ่นเนื้อบดสำหรับทำแฮมเบอร์เกอร์ที่มีชื่อว่า Beyond Burger ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อปี 2015 ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่จุดกระแสให้คนสนใจเนื้อจากพืช เพราะ Beyond Burger มีรสชาติคล้ายกับเนื้อจริง แถมยังมีการเติมน้ำจากหัวบีตลงไปในเนื้อ เพื่อให้เวลากัดเข้าไปแล้ว จะมีน้ำชุ่มฉ่ำไหลออกมาเหมือนกับกินแฮมเบอร์เกอร์จริงๆ นอกจากนี้ยังมีกลิ่นหอม รสชาติใกล้เคียงกับเนื้อวัวของจริงและมีสีแดงสดในเนื้อเหมือนเลือดจริง เนื้อเทียมของ Beyond Meat เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่กินมังสวิรัติประกอบกับกระแสดูแลสุขภาพ และกระแสต่อต้านการทารุณสัตว์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

กระบวนการผลิต Plant-Based Meat นั้นช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากใช้พื้นที่น้อยกว่าการทำปศุสัตว์ถึง 47 เปอร์เซ็นต์! อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก เรอ, ผายลม รวมถึงปล่อยมูลของสัตว์จำพวกวัวและเเกะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย ทำให้กล่าวได้ว่า การเลือกบริโภค Plant-Based Meat คือการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดสรรญพื้นที่, การเพาะเลี้ยง, การลดจำนวนปศุสัตว์ ไปจนถึงการขนส่งสินค้า ก็คงไม่เกินจริงไปนัก

ในตอนนี้สตาร์บัคส์ไทยมีเมนู “Beyond Meat” หรือ เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชแล้ว

beyond meat starbuck

Impossible foods

Impossible foods

Impossible Foods ที่ก่อตั้งในปี 2011 โดยศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทางบริษัทใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แรก นั่นคือ Impossible Burger แผ่นเนื้อบดที่ผลิตขึ้นโดยการสกัด “ฮีม” (Heme) ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการสร้างโปรตีนจากรากถั่วเหลืองแล้วนำมาหมักด้วยยีสต์เพื่อเพิ่มปริมาณ เมื่อ Impossible Burger ออกสู่ตลาดในปี 2016 นักชิมต่างลงความเห็นว่ามันมีรสชาติเหมือนกับเนื้อจริง และชุ่มฉ่ำเหมือนกับเนื้อจริงไม่มีผิด สาเหตุที่เหมือนขนาดนี้ เป็นเพราะว่าฮีมที่ใช้ในการผลิต Impossible Burger นั้นเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่มีในเนื้อสัตว์นั่นเอง

สินค้าหลักของบริษัทตอนนี้คือ Impossible Burgers และต่อไปบริษัทก็มีแผนที่จะปล่อยสินค้าอื่นตามมา เช่น ไส้กรอก, สเต๊ก, พิซซ่าเนื้อที่ใช้ในเมนู Impossible Whopper ของ Burger King ก็ผลิตมาจากบริษัทนี้ บริษัทนี้ได้รับเงินทุนจากหลายฝ่าย เช่น บิลล์ เกตส์, ลี กาชิง มหาเศรษฐีฮ่องกง, Google Ventures

ในต่างประเทศนั้น ผลิตภัณฑ์ของ Beyond Meat และ Impossible Foods ได้เข้าไปอยู่ในเมนูของร้านอาหารเครือใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น McDonald’s, KFC, Burger King, Subway, Carl’s Jr และ Hard Rock Cafe ส่วนในเมืองไทย ร้านที่มี Beyond Burger อยู่ในรายการอาหารแล้วก็คือ Sizzler และ Veganeries Concept

นอกจาก 2 บริษัทแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทที่ผลิตเนื้อจากพืช ซึ่งการเติบโตอาจจะสูงอย่างมากเหมาะสำหรับนักลงทุนในการติดตามบริษัทเหล่านี้

  • Beyond Meat
  • Impossible Foods Inc.
  • Maple Leaf Foods (Field Roast & Maple Leaf)
  • Vegetarian Butcher
  • Conagra, Inc. (Gardein Protein International)
  • Kellogg NA Co. (MorningStar Farms)
  • Quorn
  • Amy’s Kitchen, Inc.
  • Tofurky
  • Gold&Green Foods Ltd.
  • Sunfed Ltd.
  • VBites Foods Limited
  • S Kraft Foods, Inc.
  • Lightlife Foods, Inc.
  • Trader Joe’s
  • Yves Veggie Cuisine (The Hain-Celestial Canada, ULC)
  • Marlow Foods Ltd. (Cauldron)
  • Ojah B.V.
  • Moving Mountains
  • Eat JUST Inc.
  • LikeMeat GmbH
  • Gooddot
  • OmniFoods
  • No Evil Foods
  • Dr. Praeger’s Sensible Foods

ที่มา
https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/plant-based-meat-market