
จากสำนักข่าว nikkei สำนักข่าวญี่ปุ่นวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยกำลังตายทีละน้อย เขาใช้สำนวนว่า death by a thousand cuts คือถูกมีดพับจิ้มทีละนิด แต่เป็นพันครั้ง กว่าจะตายใช้เวลา แต่เป็นอันว่าตายแน่นอน สารพัดปัญหาที่โหมกระหน่ำใส่สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจตกต่ำ ภัยแล้ง และการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนการฆ่าตัวตายของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากข่าวการฆ่าตัวตายที่ได้ยินเป็นระยะๆ ในช่วงนี้
ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC-สภาพัฒน์) ในปี 2562 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงร้อยละ 2.4 ช้าที่สุดในรอบ 5 ปีล่าสุด และคณะกรรมการร่วมระหว่างด้านพาณิชย์ อุตสาหกรรมและธนาคาร คาดว่าในปี 2563 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 แต่ผู้คร่ำหวอดในแวงวงการเมืองรายหนึ่งในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทย เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ
นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทเกียรตินาคินภัทร ศุภวุฒิ สายเชื้อ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้คือการสึกกร่อนอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจคนเล็กคนน้อย “มันคือความตายทางเศรษฐกิจที่เหมือนกับการถูกคมดาบฟันซ้ำแล้วซ้ำเล่านับพันครั้ง” สอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลก ที่กล่าวถึงความไม่สงบของเศรษฐกิจไทย โดยติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่ปี 2554 ที่มีการรัฐประหาร ในเวลานั้นไทยมีความวุ่นวายทางการเมืองและเศรษฐกิจก็เติบโตเพียงร้อยละ 1 แล้วก็มีปัญหาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
บทความอ้างหลักฐานธนาคารโลก(ดูกราฟ) ที่ภายหลังการปฏิวัติ สัดส่วนคนจนได้กลับเพิ่มขึ้น

ในห้วงเวลาสิบปีก่อนปฏิวัติ สัดส่วนคนจนในไทยลดลงมาตลอด ปี 2006 (2549) ในระดับ 25% ในปี 2015 (2558) ก่อนผลจากการปฏิวัติ ลงมาอยู่ระดับ 7.2%
แต่ภายหลังการปฏิวัติ สัดส่วนคนจนกลับเพิ่มขึ้น จนปี 2018 (2561) สูงขึ้นเป็น 9.85% จำนวนคนจนเพิ่มจาก 4.85 ล้านคน เป็น 6.7 ล้านคน
ทั้งที่รัฐบาล คสช. ได้ใช้นโยบายแจกเงินมาตลอด โดยแจกแก่ผู้ถือบัตรคนจนจำนวนมากถึง 14.5 ล้านคน มากกว่าคนจนที่มีอยู่จริงด้วยซ้ำ และในโครงการ ชิมข้อปใช้ ก็น่าจะมีคนที่อยู่นอกเหนือ 14.5 ล้าน แต่ชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า ที่ได้เงินแจกไปด้วย
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนในปี 2562 อยู่ที่ 552,500 บาท เพิ่มจาก 377,100 บาทในปี 2552 หรือเท่ากับเกือบร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในประเทศไทย ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้
ถามว่า ทำไมแจกเงินแต่เศรษฐกิจกลับตายลงทีละน้อย?
ตอบว่า เพราะการแจกแบบหว่านลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ (helicopter money) ซึ่งเกิดขึ้นแบบเป็นครั้งเป็นคราวนั้น คนที่รับจะเอาไปต่อยอดยกระดับตัวเองได้ยาก จึงเน้นแต่อุปโภคบริโภค กระตุ้นตัวเลข จีดีพี ชั่วคราว ขณะนี้ กลุ่มที่เดือดร้อนที่สุดคือ sme เพราะรายได้ตกต่ำ และเมื่อบางรายหันไปกู้เงินจากนอกระบบซึ่งดอกเบี้ยสูงลิ่ว ก็จะเหมือนตกนรกทั้งเป็น จึงทำให้มีนักธุรกิจรายเล็กรายน้อยถอดใจ ฆ่าตัวตายอยู่เนืองๆ อัตราฆ่าตัวตายในไทยสูงสุดในเอเซียอาคเนย์อยู่แล้ว คือ 14.4 คนต่อประชากร 1 แสนคน สถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจยิ่งทำให้หนักขึ้น ผลสำรวจพบว่า ในปี 2561 สัดส่วนคนไทยที่บอกว่าพอใจในมาตรฐานการครองชีพ มีเพียงร้อยละ 39 ซึ่งต่ำสุดในเอเซียอาคเนย์
ส่วนบรรดานักวิเคราะห์ทางการเงินต่างจับจ้องไปที่บรรดาทุนใหญ่ได้รับการปรนเปรออย่างมากมายจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ทั้งสัมปทาน ภาษีในลักษณะคุ้มครองการผูกขาด เสียงวิพากษ์วิจารณ์เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ว่า “ประเทศไทยกลายเป็นประเทศของคนเพียงไม่กี่คน” ดังนั้นความเสี่ยงทางการเมืองจึงเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด
“มันจะจบยังไง แต่ถ้าดูย้อนประวัติศาสตร์จะพบว่า การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่มักจะระเบิดตูม”
ข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala/