โพลส์สภาวะทางการเงินของคนไทย ในปี 2563 รายได้เดือนชนเดือน ไม่เหลือเก็บ

4152
โพลส์สภาวะทางการเงินของคนไทย ในปี 2563 รายได้เดือนชนเดือน ไม่เหลือเก็บ

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ สภาวะการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563 ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจานวน 1,221 คน พบว่า

กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจ สภาวะการเงินคนไทยปี 63
ร้อยละ 41.4 มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม
ร้อยละ 28.3 มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน
ร้อยละ 61.3 ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอ มาจากข้าวของเครื่องใช้ประจำวัน มีราคาแพงขึ้น
ร้อยละ 81.7 เลือกใช้วิธีใช้จ่ายให้ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ เพื่อให้มีเงินเพียงพอ

ภาพรวมทางการเงินของคนไทยในปีนี้

  • มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออมร้อยละ 41.4
  • มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงินร้อยละ 28.3
  • มีรายได้เพียงพอ แต่มีเงินออมลดลงร้อยละ 17.6
  • มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมตามเป้าทุกเดือนร้อยละ 12.7

ปัจจัยใดที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอในปัจจุบัน (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

  • ข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้นร้อยละ 61.3
  • ต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้านร้อยละ 36.8
  • ลูกค้าน้อยลง ธุรกิจย่ำแย่/ค้าขายไม่ดีร้อยละ 29.3
  • มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการดูแลผู้สูงอายุ คนป่วย คนพิการ ร้อยละ 26.0
  • ตนเอง/คนในครอบครัวตกงาน/ถูกเลิกจ้างร้อยละ 21.4
  • พืชผลทางการเกษตรเสียหาย/ราคาตกร้อยละ 20.6
  • ถูกลดเงินเดือน/ลดโอที/ลดวันทำงานร้อยละ 15.1
  • ผ่อนสินค้า/ผ่อนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
  • มีค่าเดินทางแต่ละวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8
  • จ่ายดอก จ่ายหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2
  • ถูกโกงเงิน/ถูกเบี้ยวเงินร้อยละ 6.1

วิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่าย ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

  • ใช้จ่ายประหยัดขึ้น คิดก่อนซื้อร้อยละ 81.7
  • ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยวร้อยละ 55.7
  • หารายได้พิเศษ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตลาดนัด ขับรถส่งของ ฯลฯร้อยละ 22.7
  • กู้เงินนอกระบบ/ในระบบร้อยละ 15.7
  • ลดการสต็อกสินค้าไว้ขาย เพราะลูกค้าลดลงร้อยละ 6.9
  • ลงทุนทำธุรกิจระยะสั้นที่ได้ผลตอบแทนสูงร้อยละ 3.9
  • ใช้จ่ายปกติ ตามเดิม ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมร้อยละ 11.8

ในสภาวการณ์แบบนี้หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้มากที่สุด (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

  • ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ร้อยละ 80.8
  • ค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆร้อยละ 73.3
  • การศึกษาของตนเอง และ บุตรหลานร้อยละ 43.8
  • ค่าผ่อนบ้าน/ผ่อนรถร้อยละ 35.2
  • ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตร้อยละ 27.5
  • ค่าเดินทางร้อยละ 25.8
  • ค่ารักษาพยาบาลร้อยละ 18.7
  • อื่นๆ อาทิ ค่าชำระหนี้ ค่าผ่อนสินค้า ค่าต้นทุนในการผลิตสินค้า ฯลฯ ร้อยละ2.0

ที่มา http://bangkokpoll.bu.ac.th/poll/result/doc/poll934.pdf