เดือนนี้ค่าไฟฟ้าคงขึ้นกันทุกคน เนื่องจากการปิดเมืองเพื่อป้องกันการระบาดของ Covid-19 โดยการออกห่างจากสังคม Social distancing ทำให้ต้องอยู่บ้าน บางคนต้องทำงานที่บ้าน หรือ Work from home ทำให้ค่าไฟแต่ละขึ้นกระฉูด คงสงสัยแล้วว่าไฟฟ้าของประเทศไทยได้มาจากแหล่งไหนบ้าง
ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 31 มีนาคม 2563
ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 45,595.87 เมกะวัตต์
ผลิตเองจาก กฟผ. 35.13 % รับซื้อจากเอกชน 64.87%
64.87% แบ่งเป็นซื้อจากประเทศลาว 5,720.60 เมกกะวัตต์ 12.55% , เอกชนรายใหญ่ 32.78 %, เอกชนรายเล็ก โรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ 20.84%
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=116
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบเดือนมีนาคมเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 20.30 น. มีค่าเท่ากับ 28,636.70 เมกะวัตต์ ในขณะที่ผลิตได้ 45,595.87 เมกะวัตต์ ปริมาณการใช้จริงต่อการผลิต = 63% ซึ่งมีกำลังผลิตเหลือถึง 37% ซึ่งเยอะเกินมาตราฐานที่ประมาณ 15% เท่านั้น
อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ภาพรวมว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 อยู่ที่ 24,481 เมกะวัตต์ ส่วนความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 28,636.7 เมกะวัตต์ ซึ่งยังต่ำกว่าที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด 30,853.2 เมกะวัตต์ เรียกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมามาก สาเหตุน่าจะเป็นเพราะมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเกือบทั้งหมดลง ทำให้กำลังการผลิตสำรองในระบบอยู่ที่ 60% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้ หรืออาจกล่าวได้ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าประมาณ 46% ไม่ได้เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า แต่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและ กฟผ. ที่เรียกว่า “ค่าความพร้อมจ่าย” คือ จะใช้ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย เป็นการ “พร้อมจ่าย” ตามสัญญาที่ทำกันล่วงหน้า ซึ่งสุดท้ายภาระนี้ผลักให้ประชาชนเป็นผู้จ่าย
ซึ่งถูกรวมเข้าไว้ในระบบค่าไฟฟ้าตั้งแต่ทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าแล้ว แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มากแต่ยังต้องจ่ายเงินความความพร้อมจ่าย หรือ “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย” นี้ต่อไปอยู่ดี และรายจ่ายนี้ก็จะถูกเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค ซึ่งก๊าซธรรมชาติ สำหรับโรงไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงสูงเกือบ 70% มานมนานหลายปีแล้ว
กำลังผลิตโรงไฟฟ้าเอกชน
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=355&Itemid=116