Deepfake example 1

เทคโนโลยี Deepfake ภัยคุกคามในโลกยุคใหม่

เทคโนโลยี Deepfake

เทคโนโลยีนี้กำลังทำให้คนแยกไม่ออกว่า วีดีโอและข่าวสารไหนคือเรื่องจริงหรือเรื่องไหนคือเรื่องปลอม ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำให้ Deepfake เป็นภัยคุกคามใหม่บนโลกอินเตอร์เน็ต ด้วยการใช้ข่าวสารที่บิดเบือนเป็นอาวุธในสงครามจิตวิทยา หรือการสร้าง fake news ก็จะมีความร้ายแรง ที่หวังผลสร้างความไม่เชื่อใจในตัวบุคคลสำคัญ ใส่ร้ายป้ายสี และก่อความปั่นป่วน หรือการสร้างคลิปวิดีโอปลอมปั่นป่วนบริษัทในตลาดหุ้นเพื่อเก็งกำไร ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เมื่อผู้ปล่อยข้อมูลเท็จสามารถสร้างสื่อวิดีโอที่แสดงภาพบุคคลสำคัญพูดหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้เหมือนตัวจริง

Deepfake(ดีพเฟค) ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่าง 2 คำ คือ “Deep Learning” ได้แก่ Deep learning และ Fake ที่แปลว่าปลอม โดย Deep learning เป็นกิจกรรมชนิดหนึ่งของ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทำหน้าที่และ Machine Learning เรียนรู้ข้อมูลบางอย่าง และ สามารถตัดสินใจกระทำการบางอย่างโดยอิงจากฐานข้อมูลที่เรียนรู้มา

Deep learning โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ visual effect ในการประมวลผลภาพ การเรียนรู้อัตรลักษณ์ อาทิ ใบหน้าบุคคล รวมไปถึงรูปแบบการเคลื่อนไหว การพูดจา และน้ำเสียง เก็บบันทึกข้อมูลใบหน้า ประมวลผล จากนั้นสามารถนำเสนอใบหน้าของบุคคลนั้นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างอิสระราวกับบุคคลนั้นกำลังปรากฏตัวและพูดอยู่หน้ากล้องจริง ๆ เรียกว่า DeepFake

แม้ว่าจะมีการวิจัยมหาวิทยาลัยและมีการนำ เอฟเฟค สตูดิโอใหญ่ แต่จุดเริ่มต้น DeepFake มาจากผู้ใช้ใน Reddit (เหมือนพันธุ์ทิพย์ของต่างประเทศ)ได้มีการโพสต์คลิปโป๊โดยสลับหน้าของคนดังขึ้นมาแทนเช่น Gal Gadot, Taylor Swift, Scarlett Johansson และคนดังอีกหลายคน

ตัวอย่าง Deepfake AI : วิดีโอซ้ายมือคือไฟล์ที่มีการถ่ายมาจริง (ของ Amy Adams) ส่วนวิดีโอขวามือนั้นนำภาพ Nicolas Cage มาซ้อนลงไป

เทคโนโลยี DeepFake ใน Hollywood

เทคโนโลยี DeepFake ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในเรื่อง Forrest Gump ได้มีการควบคุมการเคลื่อนไหวของปากของประธานธิบดีแคนนาดี้ และ หลังจากการตายของ Paul Walker ในเรื่อง Fast & Furious 7 ก็มีการใช้ เทคโนโลยี DeepFake ในการใช้ตัวแทนเป็น Paul Walker

เพลง Imagine – John Lennon โดยใช้ เทคโนโลยี DeepFake

ภัยจาก Deepfake AI

ในปี 2019 มีการใช้ Deepfake ในการสร้างวีดีโอลามกที่เลียนแบบดาราและคนดังกว่า 15,000 วีดีโอ หน่วยงานต่างๆ เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการนำเทคโนโลยี Deepfake AI ไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อผู้หญิงอย่างมาก

Deepfake ไม่เพียงเลียนแบบแค่ ภาพหรือวีดีโอ แต่ยังเลียนแบบเสียง เนื้อเสียง ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงอย่างมากต่อการโจรกรรมแบบ Call center โดยการปลอมแปลงเป็นญาติหลอกเงินผู้เสียหาย โดยสถิติการเติบโตของวิดีโอ Deepfake ในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตขึ้นเกือบ 100% โดยมีจำนวนวิดีโอดีปเฟกสูงถึง 14,678 วิดีโอ (96% เกี่ยวข้องกับหนังอนาจาร)

ซึ่ง Deepfake AI นั้นสามารถเรียนรู้จาก ภาพนิ่ง และนำไปสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ได้ ขอเพียงมีรูปภาพจำนวนมากพอให้ AI เรียนรู้ ซึ่ง ดาราเป็นกลุ่มบุคคลที่มีภาพตามอินเตอร์เน็ตจำนวนมากจะถูกนำไปสร้างความเสียหายได้โดยง่าย

แอพเปลี่ยนหน้า Deepfake App

แอป Zao แอพฟรีที่ใช้เทคโนโลยี Deepfake ตัดต่อเอาหน้าเรา ไปใส่ในคลิปวิดีโอจากภาพยนตร์หรือซีรีส์ได้ โดยใช้เพียงแค่รูปถ่ายหน้าของเราเพียงรูปเดียว กำลังเป็นที่นิยมในจีนอย่างมาก อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ในนโยบายความเป็นส่วนตัวของแอพพ์ Zao ระบุไว้ว่าผู้ใช้แอพพ์นี้ต้องยินยอมให้ Zao มีสิทธิใช้รูปของพวกเขาเพื่อประโยชน์ในด้านการตลาด ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใช้จำนวนมาก ทำให้ บริษัทเจ้าของแอพพ์ Zao ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวดังกล่าว เพื่อแก้ไขความกังวลของผู้ใช้

Deepfake อาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งอเมริกา

เดิมทีคลิป deepfake จะระบาดในหนังโป๊ โดยการตัดต่อใบหน้าคนดังเข้าไปแทนดาราหนังโป๊ ล่าสุด deepfake ไม่ได้จำกัดอยู่แค่วงการสื่อลามกแต่ลามมาวงการข่าวสารด้วยสิ่งที่คลิปวีดีโอปลอม Deepfake สามารถทำได้คือการสร้างข้อมูลผิดๆ ที่ผู้ไม่หวังดีใส่ลงไป แล้วทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลที่ผิดๆนั้นไปและปักใจเชื่อ ซึ่งปัจจุบันประชากกรส่วนใหญ่ของโลกสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ และนั่นหมายถึงการเข้าถึงคลิปปลอมได้มากขึ้นด้วย หากเปรียนเทียบกับปัจจุบันที่มีข่าวสารปลอมออกมาคนยังหลงเชื่อ ยังการออกคลิปวิดีโอที่ทำโดยเทคโนโลยี Deepfake ด้วยแล้วคนจะหลงเชื่อมากกว่าข้อความด้วยซ้ำ
Wall Street Journal จึงฟอร์มทีมดูแลเรื่องข่าวปลอมและดูแลเรื่อง deepfake โดยเฉพาะ เป็นการรับมือการเลือกตั้งสหรัฐฯที่กำลังจะมาถึงด้วย ในทีมนอกจากทีมนักข่าวยังมีนักวิจัยภายนอกเข้ามาร่วมคิดหาโซลูชั่นตรวจจับ deepfake รวมทั้งสร้างคอร์สฝึกอบรมนักข่าวภายในโดยคาดว่าจะมีนักข่าวร่วมเทรน 150 ราย Francesco Marconi หัวหน้าฝ่ายวิจัยของทีมระบุว่า เทคโนโลยี deepfake นับวันจะพัฒนาไปอีกเรื่อยๆ นักข่าวจึงต้องทำงานเชิงรุก นอกจากคลิปภาพแล้ว คลิปเสียงก็สามารถปลอมได้แนบเนียนมากเช่นกัน

วิดีโอด้านเป็นการเลียนแบบประธานาธิบดีโอบามาผ่านเทคโนโลยี ‘Deepfake’ มาเผยแพร่บน Youtube ไม่เพียงแต่เสียงที่เหมือน แต่ภาพที่เห็นก็คือประธานาธิบดีโอบามาที่ถูกผสมผสานด้วยการเลียนแบบโดยคอมพิวเตอร์ ทั้งการขยับปากและเสียง ซึ่งกำลังให้คำเตือนถึง ภัยจาก Deepfake ทั้งที่ตัวจริงของอดีตผู้นำสหรัฐฯ ไม่เคยพูดข้อความเหล่านี้ออกอากาศเลย

ที่มา
https://www.theguardian.com/technology/2020/jan/13/what-are-deepfakes-and-how-can-you-spot-them


Posted

in

by