ant group2 1

Ant Group ผู้จะมาเปลี่ยนโลกการเงินทั้งโลก

Ant Group ผู้จะมาเปลี่ยนโลกการเงินทั้งโลก

ผลประกอบการครึ่งปีแรก 2020 นี้ แอนท์ กรุ๊ป มีรายได้ 72,500 ล้านหยวน มีกำไรสุทธิ 21,900 ล้านหยวน (3,200 ล้านดอลลาร์) เท่ากับมีกำไรสุทธิสูงถึง 30.20% เลยทีเดียว เพิ่มขึ้นถึง 1,000% เมื่อเทียบกับกำไรปีที่แล้ว

Ant Group ทำธรุกิจอะไรบ้าง?

จุดเริ่มต้นของ Ant Group มาจาก เมื่อปี 2014 ผู้บริหารของ Alibaba ตัดสินใจแยก Business Unit ด้านการชำระค่าสินค้าออนไลน์และผู้ให้บริการแอปจ่ายเงิน(Alipay) ออกจากธุรกิจหลัก แล้วตั้งเป็นบริษัทให้ชื่อว่า Ant Financial Services Group แล้วค่อยเปลี่ยนชื่อให้สั้นลงอย่างที่เราเรียกในปัจจุบันว่า Ant Group
ทั้งนี้นอกจาก Alipay แล้ว ธุรกิจในเครือ Ant ก็ยังมี Yu’e Bao ที่เป็นบริการซื้อกองทุนรวมผ่าน Alipay, Huabei บริการสินเชื่อรายย่อย และ MYbank ธนาคารออนไลน์

Alipay ที่คนรู้จักกันทั่วโลก มีลูกค้าในจีนกว่า 900 ล้านคน และมีผู้ใช้บริการสม่ำเสมอทุกเดือนกว่า 700 ล้านคน แอนท์ กรุ๊ป เป็นบริษัทฟินเทคใน เครืออาลีบาบา ซึ่งถือหุ้นอยู่ 33% และ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาลีบาบามีแผน จะนำหุ้น แอนท์ กรุ๊ป ออกขายราว 10-15% ซึ่ง นสพ.ไฟแนนเชียลไทม์ สหรัฐฯ คาดว่าถ้า Ant Group สามารถ IPO สำเร็จตามเป้าหมายจะระดมเงินทุนได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ Ant Group จะมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นไปอยู่ที่ 320,000 ล้านดอลลาร์ 

คนจีน 1,400 ล้านคนไม่นิยมบัตรเครดิตไม่เหมือนคนตะวันตก คนจีนส่วนใหญ่จะใช้บริการจ่ายเงินผ่านแอป บริษัทวิจัยเบิร์นสไตน์เปิดเผยว่า ปี 2018 คนจีนใช้จ่ายเงินผ่านอุปกรณ์โมบายสูงถึง 67 ล้านล้านดอลลาร์ กว่า 2,120 ล้านล้านบาท ผ่านสองค่ายใหญ่ Alipay ของ Alibaba และ WeChat ของ Tencent

อาลีเพย์ เปิดเผยว่า จำนวนมีถึงลูกค้าในจีน 900 ล้านยูสเซอร์ เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการจ่ายเงินและซื้อสินค้าในอาลีเพย์แล้ว ทางแอนท์ ไฟแนนซ์ก็จะเสนอบริการอื่นๆ ผ่านแอปให้อีกมากมาย รวมทั้งสินเชื่อบุคคล ปี 2019 อาลีเพย์มียอดธุรกรรมการเงินผ่านแอปสูงถึง 16 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น สินเชื่อบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กกว่า 260,000 ล้านดอลลาร์ 8.3 ล้านล้านบาท และ การลงทุนอีก 500,000 ล้านดอลลาร์

ด้านการปล่อยกู้ Ant Group ปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ใช้ Alipay โดยเงินกู้ขั้นต่ำที่เขาปล่อยให้วงเงินต่ำสุดอยู่ที่ 20 หยวน หรือประมาณ 100 บาทเท่านั้นเอง ซึ่งธนาคารรูปแบบดั้งเดิมไม่มีทางคุ้มด้วยการปล่อยกู้วงเงินแค่นี้แน่นอน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าบวกกับปริมาณข้อมูลทำให้ Alipay สามารถปล่อยกู้ด้วยวงเงินในจำนวนเล็กๆแบบนี้ได้และเหมาะกับผู้ใช้ในจีนด้วย แถมอัตราดอกเบี้ยต่อปีก็อยู่ราวๆ 15% เท่านั้นสำหรับเงินกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ไม่ใช่แค่ปล่อยกู้ผู้ใช้งานทั่วไปเท่านั้น แต่ Ant ยังปล่อยกู้ให้กับธุรกิจขนาดเล็กหรือค่อนไปทางกลางได้ด้วย เพราะในเมื่อบริษัทพวกนี้ขายของผ่าน Alibaba กันอยู่แล้ว แถมลูกค้าก็จ่ายเงินผ่าน Alipay ด้วย ก็รู้หมดขายดีไม่ดียังไง บริษัทก็ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ได้เลยว่าควรปล่อยวงเงินกู้เท่าไหร่ ยังไงสำหรับใช้หมุนเวียนธุรกิจ โดยอัตราหนี้เสียของการปล่อยกู้ก็ยังอยู่ในระดับ 2% กว่าๆเท่านั้น

Ant Group จะมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นไปอยู่ที่ 320,000 ล้านดอลลาร์

ก่อนหน้านี้ ความพยายามของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อเล่นงานบริษัทในเครืออาลีบาบา ประกาศมาตรการข้อจำกัดต่างๆ ต่อ “อาลีเพย์” (Alipay) ของ แอนต์ ตลอดจนแพลตฟอร์มชำระเงินทางดิจิตอลของจีนรายอื่นๆ โดยเฉพาะ เทนเซนต์ โฮลดิ้งส์ ทำให้ Ant Group ต้องมาระดมทุนที่ประเทศจีนและฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม จีนขวาง IPO “Ant Group” แจงระงับยื่นจดทะเบียนในตลาดหุ้นจีน จากข่าวเดิมที่ Ant Group ฟินเทคจีนเคาะ IPO ทั้งตลาดเซี่ยงไฮ้และฮ่องกงวันที่ 5 พฤศจิกายน  IPO นี้ถูกยกเลิกในนาทีสุดท้าย สร้างความตกตะลึงให้นักลงทุนทั่วโลก

จีนเปลี่ยนกฎก่อนหุ้น Ant Group เข้าตลาด

ตอนนี้รัฐบาลจีนกำลังร่างกฏหมายใหม่เพื่อควบคุมสถาบันการเงินระดับ Microlender กว่า 200 แห่ง เมื่อมีการร่วมปล่อยกู้กับทางธนาคารทางบริษัทออนไลน์หรือฟินเทคจะต้องมีการลงเงินด้วยถึง 30% ของยอดกู้ แทนที่จะเป็นแค่ตัวกลางในการปล่อยกู้แล้วใช้เงินทั้งหมดจากธนาคาร
เงินปล่อยกู้ให้กับรายย่อยจะถูกจำกัดไว้ที่ 45,000 ดอลล่าร์หรือไม่เกินหนึ่งในสามของเงินเดือนเฉลี่ยในช่วงสามปีที่ผ่านมา
สำหรับองค์กรธุรกิจกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 150,000 ดอลล่าร์
นอกจากนี้ฟินเทคยังถูกกำหนดให้บริการเฉพาะในจังหวัดของตนเองเท่านั้น ยกเว้นจะได้รับอนุญาติเป็นกรณีพิเศษจาก CBIRC และยังต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างต่ำที่ 5 พันล้านหยวนอีกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงการควบคุมตลาด
รัฐบาลจีนมองว่าการปล่อยกู้ของฟินเทคคิดค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปและละเมิดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องรีบทำการแก้ไข
ข้อสังเกต Ant Group มีรายได้ 40% ของรายได้ทั้งหมดจากสองบริษัทเล็กปล่อยกู้เรียกว่า Huabei (Just Spend) และ Jiebei (Just Lend) โดยรายได้เพิ่มขึ้นถึง 59% เป็น 29,000 ล้านหยวนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020
ในรอบ 12 เดือนล่าสุดมิถุนายน 2019-มิถุนายน 2020 Ant Group ช่วยปล่อยกู้เงินให้รายย่อยกว่า 500 ล้านคน ภายใต้เงินที่ปล่อยกู้ 1.7 ล้านล้านหยวน เพียงแค่ 2% เท่านั้นที่ Ant Group ใส่ไว้เป็นลูกหนี้ในงบดุล ส่วนที่เหลือเป็นความเสี่ยงไปที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้
ด้วยกฏหมายใหม่ที่ต้องการสำรองอย่างน้อย 30% หมายความว่าบริษัทต้องลงเงินมากถึง 520,000 ล้านหยวนเพื่อที่จะปล่อยกู้ให้ได้เหมือนปีที่แล้ว
นอกจากนี้สำหรับ Leverage Ratio ยังถูกกำหนดไว้ที่ 5 เท่า จะทำให้บริษัทต้องมีสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 104,000 ล้านหยวนในขณะที่ปัจจุบันมีอยู่เพียงแค่ 35,000 ล้านหยวนเท่านั้น
คาดการณ์ว่าเมื่อ Ant Group กลับมาเข้าในตลาดอีกทั้ง ราคามูลค่าหุ้นจะลดลงไปและมีค่าพีอีที่ใกล้เคียงกับแบงค์จากผลกระทบของการควบคุมครั้งนี้ของรัฐบาลที่ต้องการให้เป็นบริษัททางการเงินมากกว่าบริษัทเทคโนโลยี
อีกประการที่รัฐบาลจีนมีความกังวลในอุตสาหกรรมฟินเทคเป็นอย่างมากเนื่องด้วยความสะดวกในความปล่อยกู้จึงทำให้ ประชาชนรายย่อยและนักศึกษาหรือคนที่มีรายน้อยมากๆ ที่ไม่มีประวัติทางด้านเครดิตในอดีตที่ผ่านมา สามารถกู้เงินมาซื้อของออนไลน์ได้ จึงทำให้หนี้สินในประเทศจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นสถิติใหม่
ถ้ายังปล่อยให้มีการกู้อย่างง่ายได้โดยไม่ต้องให้บริษัทฟินเทคมีสินทรัพย์มาค้ำประกัน เพื่อลดความเสี่ยง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ระบบการเงินทั้งระบบก็จะเสียหายอย่างมหาศาล การออกกฏหมายทั้งนี้เหมือนเป็นการป้องกันวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ก่อน นอกจากนี้ทางรัฐบาลจีนยังกังวลว่าถ้าปล่อยให้ Ant Gorup มีขนาดใหญ่มากขึ้น อาจจะมาบั่นทอนอำนาจของรัฐบาลจีนในอนาคตก็เป็นได้

คำพูด “แจ็ค หม่า”

แจ็ค หม่า

จริงๆแล้วทางรัฐบาลจีนมีการวางแผนที่จะควบคุมมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ด้วยคำกล่าวล่าสุดของแจ็ค หม่าที่บอกว่าแบงค์ในปัจจุบันเป็นเหมือนโรงรับจำนำที่ต้องการตัวสินทรัพย์ค้ำประกันถึงจะสามารถกู้เงินได้ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่การปล่อยกู้ควรจะขึ้นอยู่กับข้อมูลของผู้กู้ซึ่งเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้เหมือนอย่างที่ Ant Group ทำได้สำเร็จ

ต้นเหตุของเรื่องเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group Holding Ltd. อย่างแจ็ค หม่า เอ่ยปากแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบธนาคารของจีนอย่างเผ็ดร้อนผ่านเวทีฟอรัมการเงินที่โด่งดังในเซี่ยงไฮ้ งานนี้หม่าไม่เพียงเรียก Basel Accords หรือเกณฑ์ในการกำกับกับดูแลธนาคารระดับโลกว่าเป็น “ชมรมคนชรา” (old people’s club) โดยกล่าวว่า “ความเสี่ยงเชิงระบบ” ไม่ใช่ปัญหาในประเทศจีน แต่ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของจีนคือการขาดระบบนิเวศทางการเงิน
เเจ็ค หม่ายังกล่าวอีกด้วยว่าเทคโนโลยีที่ดีไม่ได้กลัวกฎหมายที่จะมาควบคุม แต่กลัวกฎหมายที่ล้าหลัง ไม่เข้าใจเทคโนโลยีมากกว่าประเทศจีนไม่ควรที่จะควบคุมอนาคตของประเทศด้วยวิธีการแบบในอดีต

แจ๊ค หม่า เคยกล่าวถึงกฏหมายควบคุมการเงินของจีนว่า “เก่าแก่” และแสดงความคิดเห็นว่าระบบของจีน ไม่เหมาะสมสำหรับบริษัทที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน รวมทั้งต่อว่ารัฐบาลว่าไม่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้
เเจ็ค หม่ายังกล่าวอีกว่า ธนาคารจีนเปรียบเสมือน “โรงรับจำนำ” ซึ่งต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ยิ่งใหญ่และห้ามล้มเหลว หม่ายังยกตัวอย่างคำที่คนจีนพูดกันว่า “ถ้ากู้เงินจากธนาคาร 100,000 หยวน คุณจะรู้สึกกลัว หากกู้เงิน 1 ล้านหยวนทั้งคุณและธนาคารก็กังวลเล็กน้อย แต่ถ้าคุณกู้ 1 พันล้านหยวนคุณจะไม่กลัวเลย และธนาคารก็จะไม่กลัวเหมือนกัน”
คำกล่าวนี้น่าจะไปกระตุ้นความคิดของรัฐบาลจีนไม่มากก็น้อย แหล่งข่าวยังระบุอีกด้วยว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ทางรัฐบาลหยุดการทำการซื้อขายหุ้นของแจ็ค หม่าในตลาดจีนและฮ่องกง


Posted

in

by