
การที่เราเลือกทำธุรกิจ ถ้าเราจะทำธุรกิจได้ดีควรคำนึงถึง Business Model ถ้ามีโมเดลธุรกิจที่ดีจะทำให้บริษัทเติบโต มีกำไร แล้วโมเดลธุรกิจคืออะไร สำคัญอย่างไร
Business Model คืออะไร
Business Model (โมเดลธุรกิจ) คือแบบจำลองของธุรกิจที่บริษัทสร้างกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการ รวมถึง จุดประสงค์ กลยุทธ์ โครงสร้างบริษัท สินค้าหรือบริการที่จะทำ ขายให้ใคร ขายอย่างไร ขายที่ไหน ผลิตด้วยอะไร การทำงาน การเงิน รวมถึงวัฒนะธรรมองค์กร หรือเรียกสั้นได้ว่า รูปแบบการทำธุรกิจ โดยโมเดลธุรกิจของบริษัทเป็นตัวแทนที่บอกถึงว่าบริษัททำธุรกิจอย่างไร
ดังนั้นโมเดลธุรกิจควรคิดก่อนการเริ่มธุรกิจ แต่ใครที่ได้ทำธุรกิจไปแล้วก็ยังสามารถนำโมเดลธุรกิจมาปรับปรุงโดยปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น คิดให้เป็นภาพรวมมากขึ้น
หัวใจสำคัญของธุรกิจจึงอยู่ที่ “โมเดลธุรกิจ (business model)” รูปแบบวิธีการดำเนินกิจการของบริษัทในการสร้างรายได้ โดยรูปแบบโมเดลธุรกิจที่ดีต้องทำซ้ำได้ (repeatable) และขยายตัวได้ (scalable)
เพื่อให้การทำ Business model ง่ายขึ้น มีการคิดค้น Business Model Canvas
วิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบ 9 อย่าง ดูเพิ่มเติมได้ที่ www.thinkaboutwealth.com/business-model-canvas
ตัวอย่างรูปแบบของ Business Models
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายในที่นี้จะนำตัวอย่างรูปแบบ Business Model ที่ใช้ในธุรกิจมาเป็นตัวอย่าง
เปิดร้านขายของหรือบริการ (brick-and-mortar)

เป็นรูปแบบธุรกิจที่เห็นได้ทั่วไป น่าจะเป็นโมเดลธุรกิจเกือบจะส่วนใหญ่ของคนทำธุรกิต เปิดร้านขายมาขายของ ซื้อของมา + กำไร ขายของให้ลูกค้าโดยการเปิดร้าน เป็นรูปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน มีที่มีทำเลก็สามารถเปิดได้ง่ายๆ สามารถบริหารงานคนเดียว หรือ เปิดร้านหลายๆ สาขา
หรือการให้บริการเช่น ร้านนวด คลินิคความงาม คลินิคทำฟัน หรือธุรกิจโรงแรม
Key : ขาย –> กำไร –> ขยายสาขา หรือ ขายสินค้าอย่างอื่นเพิ่ม –> ผลิตเอง
บริการ : ขายบริการ –> กำไร –> ขยายสาขา(ลดต้นทุนการบริหาร + กำไรเพิ่ม)
เปิดร้านออนไลน์

รูปแบบคล้ายกับเปิดร้านแบบมีหน้าร้าน แต่ขายของทางออน์ไลน์แทน รูปแบบการบริหารการขายก็จะแตกต่างกันบางอย่าง เช่น ต้องถ่ายรูป ลงสินค้า โฆษณาออนไลน์ หรือ ต้องมีพนักงานมาตอบแชท หรือเมล์ คนแพคของ
Key : ขาย –> กำไร –> ขายสินค้าอย่างอื่นเพิ่ม –> ผลิตเอง
แฟรนไชส์ Franchise Model

เจ้าของสิทธิ์หรือเจ้าของกิจการ (Franchisor) ให้สิทธิ์รับสิทธิ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบบริหารแบบเดียวกันกับธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ โดยเจ้าของสิทธิ์จะได้ค่า License fee จากผู้รับสิทธิ์ ซึ่งคิดเป็น % หรือเป็นรายได้รายปี
ระบบของธุรกิจแฟรนไชส์ เมื่อเลือกใช้อย่างเหมาะสมจะเติบโตได้อย่างมาก ยิ่งโมเดลของต่างประเทศธุรกิจฟาสต์ฟู้ดตะวันตก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่เขาใช้ Business Model นี้มากว่า 100 ปีแล้ว สตาร์บักส์ เคเอฟซี หรือแมคโดนัลด์ ถ้าเป็นของไทยก็คงเป็นคาเฟ่อะมาซอนจาก ปตท. หรือ 7-11 ของเครือ CP
Key : สร้างชื่อเสียงของตัวกิจการ –> ขายแฟรนไชส์ –> ขยายสาขา
Freemium

ฟรีเมี่ยมคือบริการเซอร์วิสแบบฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอด โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นออนไลน์ Application และ Online Service แต่ลูกค้าสามารถจ่ายเงินเพิ่มเพื่อใช้บริการที่มากกว่าเดิมได้ (premium) ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่นเกมบนมือถือต่างๆที่เล่นฟรีได้แต่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อไอเทมพิเศษ หรือ Spotify หรือ youtube ดูฟรีแต่ถ้าเสียรายเดือนจะไม่มีโฆษณา
โดยเฉพาะ Dropbox Cloud Storage ชื่อดังที่ก่อตั้งในปี 2010 และยึดโมเดลแบบ Freemium มาตลอด ปัจจุบัน Dropbox ให้บริการผู้ใช้ราว 500 ล้านคน ซึ่งมีเพียง 2-4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ Upgrade เป็น Premium แต่กลับทำรายได้มากถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 (Dropbox ถ้าจะใช้พื้นที่บริการเพิ่มต้องเสียค่าใช้จ่าย)
Key : ปริมาณคนเข้าใช้บริการ –> ขายบริการพิเศษที่เหนือกว่าของฟรี
บอกรับสมาชิก Subscription Model

Subscription Model ถ้าเราคุ้นเคยกันเช่น สมาชิกฟิตเนส สมาชิกเคเบิ้ลทีวี ค่าบริการมือถือ AIS True Dtac แต่การบอกรับสมัครอนาคตใหม่ของการสร้างธุรกิจ โดยบริษัทสายเทคโนโลยีนั้นนิยมใช้โมเดลนี้กันเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น Netflix, Spotify, Apple, Amazon และ Disney Plus ที่นับวันจะรุนแรง และเป็นโมเดลที่่สนใจโดยเฉพาะ Netflix ที่เป็นคน Disrupt วงการเช่าหนัง การดูหนัง และการขายแผ่น DVD ตลอดกาล ด้วยบริการสตรีมมิ่งหนังโมเดล Subscription
ข้อดีของโมเดลนี้คือ การคาดการณ์รายรับในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เพราะนับตามจำนวนสมาชิก ทำให้วัดผลชัดเจนที่สุด โดยโมเดลนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ลูกค้าประจำ ทำอย่างไรให้ลูกค้าเป็นสมาชิกกับเราตลอดไป
Key : การรักษาลูกค้าประจำไว้, พัฒนาบริการหรือ content , หาลูกค้าใหม่
Startup

Startup คือธุรกิจที่เปิดบริษัทขึ้นมาใหม่ โดยส่วนใหญ่เราจะเรียก Startup ในธุรกิจด้านไอที และธุรกิจให้เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะไม่เน้นทำกำไรเป็นหลักแต่เน้นจำนวนผู้ใช้บริการ โดยมีแนวคิดที่ว่าถ้ามีผู้ใช้บริการเยอะๆ ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยจะลดลง(Economic of scale) ฉะนั้น Business Models ของ Startup จะเน้นที่จะดึงดูดผู้ใช้จำนวนมากให้ใช้บริการ เช่น Uber ที่ยังขาดทุนอยู่ทุกปี แต่ผู้ถือหุ้นก็ยังไว้วางใจลงทุนเพิ่ม เพราะผู้ใช้บริการเยอะขึ้น แม้แต่ LAZADA หรือ Shopee ที่ยังขาดทุนปีละเป็นพันๆล้าน เพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าใช้บริการ
Key : เพิ่มจำนวนผู้ใช้ –> ทำ Big data –> กำไร
กรณีศึกษา RS ในการเปลี่ยน Business Model
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงธุรกิจในอุตสาหกรรมสื่อมีมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หรือช่วงที่เกิดทีวีดิจิทัล เพราะด้วยจำนวนช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวจากยุคแอนะล็อก ที่มาพร้อมกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของโซเชียลมีเดีย “ธุรกิจสื่อ” จึงต้องหาทางรอด RS เป็นหนึ่งในตัวอย่าง ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน จากการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ จากธุรกิจเพลงไปสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัล และธุรกิจสุขภาพและความงาม (Health and Beauty)
RS เป็นบริษัทที่เติบโตจากธุรกิจเพลง แต่เมื่อยุคสมัยได้เปลี่ยนไปเริ่มขยับขยายไปธุรกิจสื่อ มีทั้งวิทยุ และทีวีดิจิทัลช่อง 8 หลังจากนั้นเริ่มเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจความงามเต็มตัว เพราะมองเห็นโอกาสทางการตลาด ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ในขายของผ่านทีวี

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า “ปี 2563 หรือ 2020 เป็นอีกหนึ่งปีที่สำคัญมาก เพราะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นของ อาร์เอส กรุ๊ป หรือธุรกิจ RS ยุคใหม่ ที่ได้พิสูจน์แล้วว่าการทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วยโมเดลธุรกิจที่แตกต่างไม่เหมือนใครนั้นเป็นไปได้ และเป็นก้าวใหม่ที่ยั่งยืน ทำให้ถึงเวลาแล้วที่ อาร์เอส จะประกาศรีแบรนด์องค์กรอย่างเป็นทางการ เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ใหม่ และส่งต่อพันธกิจใหม่ของเราไปสู่ผู้คน ไม่เพียงแต่เปลี่ยนโลโก้เท่านั้น เรายังปรับโครงสร้างองค์กร โดย สินค้าที่เป็นไฮไลท์จะเป็นกลุ่มสินค้าเฮลท์แอนบิวตี้ (Health and Beauty) และกลุ่มสินค้าโฮมแอนไลฟ์สไตล์(Home and Lifestyle) เพราะเป็นเทรนด์การเติบโตที่สูง

โดยรายได้จาก ธุรกิจพาณิชย์คิดเป็น 65% ส่วนสื่อและบันเทิงคิดเป็น 35%
โดยในตลาดหุ้น RS ก็เปลี่ยนจากกลุ่ม สื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA) ไปเป็นหมวดธุรกิจพาณิชย์
ธุรกิจความงามได้กลายเป็นธุรกิจหลักของ RS ไปแล้วเรียบร้อย ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว การที่ RS ขยับตัวไปธุรกิจอื่นก็มใช่เรื่องแปลก เพราะธุรกิจเพลง ธุรกิจสื่อมีความผันผวน และโดนเทคโนโลยีเล่นงานตลอด
Comments
2 ตอบกลับไปที่ “Business model คืออะไร และ รวมตัวอย่างโมเดลธุรกิจ”
[…] Disney Plus ก็คล้ายๆ หน้าตาของ Netflix ซึ่ง Business model ของ Netflix […]
[…] Business Model ในบทความที่ผ่านมา […]