
“ทฤษฎีดาว Dow Theory” คือ ทฤษฎีที่มีพื้นฐานของการวิเคราะห์ราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อที่จะทำนายโน้มน้าวตลาด โดยเป็นรากฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นเรียนรู้การวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคอล
Charles H. Dow (1851- 1902) ถือได้ว่าเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค เนื่องจากเขาได้เป็นคนคิดค้น ดัชนีราคาในการวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นคนแรก Dow ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ The wall street journal โดยมีเพื่อนของเขาเป็นหุ้นส่วน Edward Jones รูปแบบฉบับของหนังสือพิมพ์จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงิน เขาคิดดัชนีขึ้นมาใหม่โดยใช้ชื่อตัวเขากับเพื่อนตั้งเป็น ดัชนีดาวโจนส์ ในปี 1896 โดยเอาหุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนี ใช้เป็นตัวอ้างอิง เพื่อจะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีการนำตัวเลขดัชนีมาเขียนเป็นกราฟ ให้เห็นรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา (Price Pattern) เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนแนวโน้มได้
หลักสำคัญ 6 ข้อของทฤษฎี Dow
1. ราคาได้สะท้อนทุกอย่างไว้หมดแล้ว (The Market Discounts Everything)
Dow ให้ข้อเสนอว่าทุกอย่างนั้นได้ถูกสะท้อนเป็นราคาในช่วงเวลานั้น ๆ โดย ‘ราคา’ จะเป็นสิ่งสะท้อนของภาพรวมในตลาด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลกระทบทางการเมือง ข่าวทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ และความต้องการของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด ถ้าเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น ราคามักจะสะท้อนออกมาก่อนที่บริษัทจะประกาศผลประกอบการหรือข่าวในบริษัทเสมอ
2. ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements)
เมื่อมองตลาดในภาพรวมแล้ว Dow ให้ข้อเสนอว่าราคาของตลาดจะมีการเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้มเสมอ ไม่ว่าจะ ขึ้น (Bull market) หรือลง (Bear market) ซึ่งแนวโน้มนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้
2.1 แนวโน้มหลัก – Primary trend เป็นแนวโน้มที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป (ในรูปด้านล่างจะเป็นลูกศรสีแดงใหญ่)
2.2 แนวโน้มรอง – Secondary trend แนวโน้มนี้จะอยู่ระหว่างช่วงพักตัวของแนวโน้มหลัก (ในรูปด้านล่างจะเป็นลูกศรสีม่วง)
2.3 แนวโน้มย่อย – Minor trend มีระยะเวลาน้อยกว่า 6 วัน ซึ่งสิ่งนี้ในตลาดถือว่าเป็นเพียงการรบกวน (noise) เพราะมันไม่ส่งผลอะไรมากนักต่อภาพรวมของตลาด (ในรูปด้านล่างจะเป็นลูกศรสีเขียว)

3. แนวโน้มหลัก แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ (Primary Trends Have Three Phases)
- ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase) เมื่อราคาหุ้นตกลงมากๆ และมีระยะเวลาที่ติดต่อกันนานๆ จะทำให้มูลค่าการซื้อ-ขาย น้อยลงอย่างมาก ช่วงรายใหญ่เก็บหุ้น ช่วงนี้ราคาจะไม่ขึ้นจนกว่าจะเก็บของเสร็จ
- ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase) หุ้นในช่วงนี้นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มสนใจ เพราะเห็นว่ามันมีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยอย่างยิ่ง ใครที่เล่นตาม Trend Following ก็จะกระโจนเข้ามาในช่วงนี้ เพื่อจะทำกำไรตามหุ้นที่ขึ้นอย่างร้อนแรง อาจยังไม่ข่าวออกมาแต่ราคาหุ้นเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน
- ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase) ช่วงที่แมลงเม่า คนเหล่านี้ เห็นหุ้นขึ้นมาร้อนแรง เห็นข่าวดีมากมาย นักลงทุนส่วนใหญ่กระโดดเข้าไปตาม ซึ่งมักจะเป็นช่วงที่ตลาดขึ้นไปสุดแล้ว มันเป็นจุดเริ่มต้นของขาลงในที่สุด

4. ราคาต้องยืนยันซึ่งกันและกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)
ในกรณีมีสัญญาณการเกิดแนวโน้มของราคาไม่ว่าขึ้นหรือลง มันควรพิสูจน์ได้จากราคาที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มนั้น เมื่อ Dow เพิ่งริเริ่มทฤษฎีนี้นั้น เขาให้ความเห็นว่าหากหุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) มีค่าสูงขึ้นจนได้ New high ดังนั้นราคาของหุ้นประเภทขนส่ง (Railroads ในสมัยนั้น) ต้องได้ New high ด้วย จึงจะสามารถพิสูจน์และยืนยันทิศทางขาขึ้นของดัชนีหุ้นในสหรัฐ เนื่องจาก Dow มองว่าถ้าภาพรวมของเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นจริง ภาพใหญ่ต้องขึ้นไม่ใช่ขึ้นเฉพาะบางอุตสาหกรรม
5. ปริมาณวอลุ่มยืนยันทิศทางราคา (Volume Must Confirm the Trend)
ยกตัวอย่างเช่นหากภาพรวมของตลาดมีแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ของตลาดควรจะเพิ่มขึ้นด้วย และในช่วงพัก Volume จึงควรหดตัว ในทางกลับกัน ตลาดมีแนวโน้มขาลงและราคาปรับตัวลง ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ของตลาดควรจะเพิ่มขึ้น แต่ควรหดตัวในช่วง Rebound
ถ้าเป็นตลาดหุ้น หุ้นขึ้นพร้อมวอลุ่มจะมีนัยยะสำคัญเป็นขาขึ้นหรือกลับตัวจากขาลง ถ้าหุ้นลงพร้อมวอลุ่มจะเป็นสัญญาญอันตรายที่จะเป็นแนวโน้มขาลง
ข้อสังเกต ปริมาณวอลุ่มจะสูงสุดในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของ Bull market หรือไม่ก็เป็นช่วงที่ตลาด panic ใน Bear market
6. แนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดสัญญาณที่พิสูจน์ได้ว่าแนวโน้มนั้นจะจบลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended)
พื้นฐานของการเทรดสไตล์ Trend-following คือ เชื่อว่าแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มหรือสัญญาณการกลับตัว
Dow เสนอว่าแนวโน้มหรือ Trend ของตลาดนั้นจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเห็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างชัดเจน และในทฤษฎีนี้นั้นไม่คำนึงถึงระยะเวลาหรือระยะทางของแนวโน้มราคา เพียงแต่คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือสัญญานการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้ม หากมีสัญญาณที่ชัดเจนก็แสดงว่าแนวโน้มนั้น ๆ ใกล้สิ้นสุดแล้ว ซึ่งอาจสังเกตได้จากจุดสูงสุด (High) และจุดต่ำสุด (Low) ของตลาด
วิธีดูแนวโน้ม (Trend) สามารถทำได้ตามนี้
โดยถ้าราคาขึ้นทำ Higher high (ทำ High ใหม่) และทำ Lower High (ทำ Low สูงขึ้น) แสดงถึงทิศทางของขาขึ้น (Bull market)

แต่ถ้าราคาทำ Higher Low (ทำ High ต่ำลง) และทำ Lower Low (ทำ Low ต่ำลง) แสดงถึงทิศทางของแนวโน้มขาลง (Bear market)

แนวโน้มออกข้าง หรือ Sideway คือ แนวโน้มที่ยังไม่ชัดเจน ราคามักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงโดยการแกว่งตามอยู๋ในกรอบ ที่แนวรับ แนวต้าน เป็นส่วนใหญ่

ที่มา investopedia.com