เคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนที่รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่มากนักคิดว่าตัวเองรู้มาก มั่นใจว่าตัวเองฉลาดในเรื่องนั้นทั้งที คนมีความรู้เรื่องนั้นเป็นอย่างดีก็งง ทำไมมั่นใจมากขนาดนั้น ซึ่งทฤษฎีดันนิ่งครูเกอร์ สามารถอธิบายได้ว่า เมื่อใครซักคนเริ่มเรียนรู้เรื่องหนึ่งไปได้ระดับนึงแล้ว ความมั่นใจในองค์ความรู้ของตัวเองจะเพิ่มสูงขึ้น และช่วงเวลานี้เองที่ทำให้ใครหลายคนเผลอเชื่อไปว่าตนเองเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ทั้งที่ยังรู้เรื่องเพียงผิวเผิน แต่เมื่อศึกษาเพิ่มกลับทำให้สิ่งที่เคยเชื่อมั่นนั้นลดลง เพราะที่ผ่านมาคนๆ เข้าใจว่าสิ่งที่รู้หรือเข้าใจนั้น อาจจะไม่จริงหรือเข้าใจไม่ถ่องแท้ จนเมื่อศึกษาเพิ่มขึ้นถึงระดับที่เข้าใจในเรื่องนั้น ความมั่นใจในความรู้นั้นก็จะเพิ่มขึ้น
ปรากฎการของ “Dunning Kruger effect” ได้ถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1999 นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันสองคนชื่อ เดวิด ดันนิง (David Dunning) เเละ จัสติน ครูเกอร์ (Justin Kruger) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell) รายงานในวารสารทางจิตวิทยาว่า เขาให้นักศึกษาทำข้อสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงตรรกะ หรือความรู้เรื่องไวยากรณ์ และให้ประเมินว่า หากมีอันดับเรียงจาก 1 ถึง 100 ตนเองน่าจะได้คะแนนอยู่ในอันดับที่เท่าใดเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ผลปรากฏว่า ไม่มีใครคิดว่าตัวเองอยู่ในอันดับต่ำกว่า 50 เลยสักคนเดียว นักจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Above Average Effect คือ ทุกคนมักจะมองเห็นตัวเองในแง่บวก
ดังนั้นไม่ว่าความจริงบุคคลนั้นจะเป็นคนที่มีความสามารถมากน้อยเพียงใด เขาก็มักจะเชื่อว่า อย่างน้อยตัวเองก็ยังดีกว่าค่าเฉลี่ย หรือดีกว่าคนส่วนใหญ่ (มากกว่า 50%) ตามที่หลายคนชอบพูดว่า “อย่างน้อยฉันก็น่าจะแย่ที่สุด” นั่นแหละ
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งที่เขาค้นพบก็คือ คนที่สอบได้คะแนนสูงสุด 25 อันดับแรก ประเมินว่าตัวเองน่าจะอยู่ในอันดับต่ำกว่าที่ตัวเองได้ ส่วนคนที่ทำคะแนนสอบได้ต่ำสุด 25 อันดับสุดท้าย กลับประเมินตัวเองว่าน่าจะได้อันดับสูงเกินจริงมากที่สุด! ผลสรุปของงานวิจัยนี้จึงออกมาให้เห็นดังกราฟนั่นแล “Incompetent individuals tend to overestimate their own level of skill.”
Dunning และ Kruger อธิบายว่า การประเมินความสามารถของตนเองในเรื่องอะไรสักเรื่อง เราต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นในระดับหนึ่งจึงจะบอกได้ว่าตัวเราเป็นคนที่รู้จริงหรือไม่รู้ จะยิ่งแย่ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นน้อยแล้ว ยังขาดความสามารถที่จะประเมินด้วย ในทางกลับกันคนที่รู้มากหรือเชี่ยวชาญมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะรู้ว่าขอบเขตของความรู้เรื่องนั้นดีที่สุด และสามารถประเมินทักษะและความสามารถของตนเองได้เป็นอย่างดี
ดันนิ่ง และครูเกอร์ อธิบายว่าความรู้และประสบการณ์ของคนคนหนึ่งจะทำให้พวกเขามีความมั่นใจในตัวเองลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งที่พวกเขามีประสบการณ์เเละความรู้เพียงพอ เขาจะเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น แต่ความมั่นใจนี้จะไม่ขึ้นจนถึงจุดสูงสุด เช่น นักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเรียนรู้และคิดว่าตนเองรู้ทุกอย่าง แต่จะขึ้นมาอยู่ในระดับที่พอดี เพราะเขามีองค์ความรู้ และประสบการณ์ที่เพียงพอที่จะหยุดตัวเองไม่ให้มั่นใจจนเกินไป และนั่นคือจุดที่คนคนหนึ่งได้กลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ นี่คือวิธีที่ เดวิด ดันนิง และ จัสติน ครูเกอร์ อธิบายว่าทำไมคนคนหนึ่งที่ยังไม่เชี่ยวชาญ จึงมีความมั่นใจในตอนเองสูง และทำไมประสบการณ์ ความรู้ที่เพียงพอ จะไม่ทำให้เรามั่นใจจนเกินไป หรือ คนที่ไร้ความสามารถเท่าไร มักจะเต็มไปด้วยความมั่นใจ และกลับกันคนที่มีความสามารถที่แท้จริง จะยิ่งสงสัยในความสามารถของตัวเองมีพอสำหรับความรู้ทั้งหมดหรือยัง และยังขาดส่วนไหนที่ยังไม่รู้
การประเมินความสามารถของตนเองในเรื่องอะไรสักเรื่อง เราต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นในระดับหนึ่งจึงจะบอกได้ว่าตัวเราเป็นคนที่รู้จริงหรือไม่รู้ คนที่รู้น้อย ก็จะขาดความสามารถในการประเมินทักษะความสามารถของตัวเอง ว่า ตนเองยังไม่เข้าใจเรื่องไรในศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่
กลับกัน คนที่รู้มากหรือเชี่ยวชาญมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะรู้ว่าขอบเขตของความรู้เรื่องนั้นดีที่สุด และสามารถประเมินทักษะและความสามารถของตนเองได้เป็นอย่างดี ถ้าหากอยากศึกษาศาสตร์ใดต้องรู้ลึกถึงขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงจะสามารถประเมินความสามารถของตนเอง
จุดสำคัญของ Dunning-Kruger Effect ก็คือ “little knowledge can be dangerous” การมีความรู้ที่น้อย อันตราย
“เสียเวลาที่คุณทะเลาะกับคนโง่ คุณจะไม่มีวันชนะเพราะคนโง่จะใช้เหตุผลโง่ๆ มาเป็นเหตุผลให้ตัวเองรู้สึกว่าเขาชนะคุณ” ถ้าคุณเข้าใจใน Dunning-Kruger Effect คุณควรจะยืนดูอย่างชาญฉลาด และให้ความเห็นใจพวกเขา
ที่มา https://psychodiary.com/behavioral/dunning-kruger-effect