Facebook, Meta, Metaverse

Facebook เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta สู่โลก Metaverse

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก  Meta

เมื่อไม่กี่ชั่วโมงนี้ พี่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้วว่า ชื่อใหม่ของบริษัทคือ เมทา (Meta) เหตุผลเพราะจะมุ่งพัฒนาบริษัทไปทาง Metaverse โลกใบใหม่โลกเสมือนจริง โดยตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์จะเปลี่ยนจาก FB เป็น MVRS โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 นี้ก่อนหน้านี้ Facebook ประกาศทุ่มเงินกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 3 แสนล้านบาทในปีหน้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการสร้าง ‘metaverse’ หรือโลกดิจิทัลเสมือนจริงซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ในรูปแบบ 3 มิติ

เจ้าพ่อ Facebook อย่าง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ประกาศรีแบรนด์ทิ้งท้ายงานใหญ่ประจำปี Connect 2021 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘Meta’ ในภาษากรีกที่หมายถึง “เหนือกว่า” ปรับแพลตฟอร์มเต็มรูปแบบเพื่อเข้าสู่โลกของ Metaverse โดยประกาศว่า นับอีก 5 ปีต่อจากนี้ Facebook กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านเพื่อเข้าไปสู่ Metaverse บริษัทโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่แห่งนี้ต้องการปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมและรายล้อมไปด้วย การสร้างสายสัมพันธ์ การทำงาน การค้าขาย และ ความบันเทิง อยู่ด้วยกันภายใต้โลกใบเดียว

Mark Zuckerberg ระบุว่าแรกเริ่ม Facebook เป็นแค่หน้าเว็บเท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้เราถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ตอบแชทบนสมาร์ทโฟน ซึ่ง Facebook เองก็มีผลิตภัณฑ์อื่นทั้ง Instagram และ Whatsapp และในอนาคต Mark มองว่าเราจะเชื่อมต่อถึงกันแบบเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น เช่น ผ่านโฮโลแกรมหรือแว่น AR หรือในรูปแบบที่ยังนึกไม่ถึง ดังนั้นบริษัทจึงไม่อยากผูกชื่อเอาเข้ากับผลิตภัณฑ์เดียวเท่านั้น.
“เราเปลี่ยนชื่อเป็น Meta ก็เพื่อสะท้อนสิ่งที่เราเป็นและสิ่งที่เรามุ่งหวังจะสร้าง”

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก สู่โลก Metaverse

สำหรับโลก Metaverse มาร์กนิยามไว้ว่าเหมือนเป็นโลกอนาคตของอินเทอร์เน็ต และจะเป็น vision ใหม่ต่อไปเพื่อสร้างจินตนาการ และเปิดโอกาสให้กับผู้ใช้ในการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น ครีเอเตอร์, นักพัฒนา หรือนักธุรกิจการลงทุนใน Metaverse สำหรับมาร์กมองว่า “Facebook (Meta) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการผู้คน DNA ที่ชอบสื่อสารกัน และจินตนาการที่อยู่ในตัวทุกคนในรูปแบบปัจเจกชน ดังนั้นการ unlock ความคิด ความรู้สึกที่มากกว่าเคยรู้สึกจะเป็น next chapter ของโลกอนาคต”

เฟซบุ๊ก สู่โลก Metaverse

มาร์ก อธิบายถึงหลักการและข้อดีของ Metaverse ก่อน เช่น โลกเสมือนนี้ จะทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดของ Smartphone และขยายขอบเขตการรับรู้และประสบการณ์ให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีแว่น AR/VR ซึ่งหนึ่งในฟังก์ชันหรือประโยชน์หลักของโลก VR คือ การเชื่อมต่อกับผู้คนในโลกเสมือนที่ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่าวีดิโอคอลมาก ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ Facebook ในการเชื่อมต่อผู้คน โดยเราสามารถสร้าง Avatar หรือตัวแทนของเราในโลกเสมือน และเราสามารถมี Social Connect ในโลกเสมือนได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บน Oculus Quest นั้นแต่ละคนจะมี Horizon Home หรือบ้านในโลกเสมือนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ออกแบบตัวอวตารหรือเจอเพื่อนๆ ได้ด้วยเทคโนโลยี AR และ VR แม้แต่ชั่วโมงออกกำลังกายที่จะกลายเป็น fitness เสมือนจริง

Horizon Workrooms

ที่สำคัญ คือการทำงาน Horizon Workrooms ที่เป็นเสมือนห้องประชุมสำหรับทำงานต่างๆร่วมกับทีม/บริษัท โดยโลกเสมือนของ AR นั้นจะทำให้เราสามารถประชุมงานได้อย่างสะดวกและเสมือนจริงมากราวกับมีเพื่อนร่วมงานอยู่ในห้องด้วย รวมทั้งเทคโนโลยี AR ดังกล่าวจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานในบางสายอาชีพที่ต้องการ Visualization ดีขึ้น เช่น สถาปนิก และอีกประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องโลกเสมือนสำหรับการทำงานนั้น มาร์ก ให้ความเห็นว่า ผู้คนอยากจะแยกโลกส่วนตัวกับโลกการทำงาน ดังนั้น การแยกบัญชีและการแบ่งชั้นข้อมูล (Privacy)จึงเป็นเรื่องสำคัญด้วย รวมทั้งการทำงานแบบ Online/Hybrid นั้นยังเกิดประโยชน์ทางอ้อมต่อสังคม เช่น แก้ปัญหารถติด/ช่วยลดปัญหามลภาวะ เป็นต้น

เฟซบุ๊ก สู่โลก Metaverse

และมี Horizon Worlds ซึ่งในอนาคตจะมีแอพ/ระบบแพลตฟอร์มอื่นมาเชื่อมต่อไปยังกิจกรรมอื่นๆในโลกเสมือนได้ หรือจะเป็น virtual marketplace (ตลาดเสมือนจริง) ที่คาดว่าจะเปิดตัวปี 2022 โลกเสมือนจะเป็นตลาดที่ใหญ่มากสำหรับ commerce ในอนาคต โดยสำหรับสินค้าในโลกจริงนั้น การมาทำร้านค้าในโลกเสมือนจะช่วยเสริมประสบการณ์ช้อปปิ้งของลูกค้าได้ดีขึ้นมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น Beauty Creator ที่ขายสินค้าผ่าน Social Commerce ปัจจุบัน สามารถสร้างร้าน, Studio, Gallery ของแบรนด์ตนเองในโลก VR เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาหลักคือ Digital Items เหล่านี้ยังไม่สามารถใช้ข้ามเกม, แพลตฟอร์มได้ ซึ่ง Meta จะพยายามผลักดันและเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานที่จะรองรับการซื้อขายสินค้าดิจิตัลเหล่านี้ ให้สามารถใช้ได้หลากหลาย ครอบคลุมแอพ, แพลตฟอร์มต่างๆให้มากที่สุด

สำหรับด้านการศึกษานั้น โลกเสมือนก็จะมีส่วนช่วยผลักดันและต่อยอดการเรียนรู้ขึ้นไปได้อย่างมาก ให้นึกภาพการเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ธรรมชาติชีววิทยา ผ่านโลก AR/VR ว่ามันคงทำให้เด็กมีประสบการณ์เรียนรู้ที่ดี สนุก และทำให้สามารถอธิบายเรื่องยากๆได้ดีขึ้น สิ่งนี้ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษาในระดับสูง อย่างเช่น การผ่าตัดสำหรับศัลยแพทย์ที่ปัจจุบัน สามารถจำลองสถานการณ์เรียนรู้หลายอย่างในโลก VR ได้ เหล่านี้ทำให้ในอนาคต เมื่อแพลตฟอร์มพัฒนามากขึ้น มี contents ที่ดี/คุณภาพสูงมากขึ้นก็จะทำให้วงการการศึกษาพัฒนาไปได้เร็วยิ่งขึ้น

เฟซบุ๊ก สู่โลก Metaverse

สำหรับทิศทางธุรกิจใหม่ของ Facebook (Meta) ทั้งประกาศรับสมัครพนักงานใหม่สำหรับฝ่าย Metaverse จำนวน 10,000 คน เพื่อโปรแกรมสำหรับผู้สร้าง AR และ VR โดยเฉพาะ และทุ่มเงิน ลงทุนในด้าน Metaverse นี้ 10,000 ล้านเหรียญในปีนี้ และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เชื่อว่าการแข่งขันในธุรกิจโซเชียลมีเดียน่าจะเดือดมากขึ้น แต่สำหรับผู้บริโภคหรือนักธุรกิจก็น่าจะได้ประโยชน์อยู่มากทีเดียวกับเครื่องมือใหม่นี้

เฟซบุ๊ก ทุ่มทุน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าซื้อกิจการ Oculus ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตแว่นตาอัจฉริยะเมื่อปี 2014 และได้เริ่มพัฒนา Facebook Horizon ซึ่งเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านเทคโนโลยีวีอาร์


Posted

in

,

by