GDP คือค่าอะไร?
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด เช่น หากเป็นอุตสาหกรรมต่างประเทศ ถ้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย จะถือว่าเป็น GDP ของไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม ซึ่งวิธีคิด GDP ถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย
GDP ประเทศไทย จะนับการคำนวณเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนไทย แล้วมีรายได้ที่ต่างประเทศ อันนั้นเรียก GNP : Gross National Product ที่จะนับเฉพาะรายได้จากคนไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใดในโลกนี้ก็ตาม
การคํานวณ GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัด สมการที่คำนวณเข้าใจง่ายๆ
GDP=C+I+G+(X-M)
ค่าแต่ละค่าประกอบด้วย
โดยที่
- C คือ Consumption (รายจ่ายเพื่อการบริโภค) หมายถึง การบริโภคของภาคเอกชน และ ประชาชน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมด เช่น ค่าอาหาร สาธาณูปโภค เป็นต้น แต่ไม่รวมการซื้อที่อยู่อาศัยหลังใหม่
- I คือ Investment (การลงทุนภาคเอกชน) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุนของภาคเอกชน เช่น การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ , เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น
- G คือ Government Spending (รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการโดยรัฐบาล) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ
- (X-M) คือ รายจ่ายเพื่อการนำเข้าและส่งออก
X = Export (ส่งออก + ท่องเที่ยว) *มีผลต่อ GDP ของประเทศไทยมากที่สุด
I = Import (นำเข้า)
อันดับ GDP ของแต่ละประเทศในโลกดูได้ที่นี่
Nominal GDP (มูลค่าตามราคาปัจจุบัน) คานวณได้จาก มูลค่าการผลิตและสินค้าทุนคิดตามราคาของปีนั้นๆ
Real GDP (มูลค่าตามราคาคงที่)คานวณได้โดยการกาหนดปีใดๆปีหนึ่งเป็นปีฐานแล้วนาค่าคิดค่าGDP ของแต่ละปีอื่นๆโดยใช้ราคาสินค้าในปีฐานคิดจะเปลี่ยนเมื่อราคาสินค้าในตลาดหรือจานวนผลผลิตเปลี่ยน จะเปลี่ยนเมื่อจานวนผลผลิตเปลี่ยนเท่านั้น
Nominal GDP ที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องค่าครองชีพ
GDP at Purchasing Power Parity (PPP) เปรียบเทียบกับอำนาจซื้อโดยดูจากค่าครองชีพ
อัตราการเติบโตของ GDP
เมื่อคำนวณได้ค่า GDP แล้วมักจะนำมาเทียบกับปีที่ผ่านมาดังรูป เป็นอัตราการเติบโตของ GDP ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
ค่า GDP เป็นบวก แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการเติบโตขึ้น มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็จะสูงขึ้น เพราะเมื่อคนมีความต้องการซื้อกันมากขึ้น สามารถดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาได้ ลองนึกถึงช่วงเศรษฐกิจดี คนมีกำลังซื้อ สินค้าทุกอย่างราคาแพงแต่คนก็ซื้อได้
ค่า GDP เป็นลบ แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวเลง มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศลดลง ดังเช่นในช่วงนี้ช่วงโควิด-19 เห็นได้ชัด เศรษฐกิจฝืดเคือง คนไม่ค่อยมีเงินจะใช้ คนมีเงินก็ไม่กล้าใช้ กลัวจะแย่ลงไปอีก ไม่มีการลงทุนใหม่ รายได้จากการส่งออกและท่องเที่ยวหายไปหมด
ประโยชน์ของตัวเลขผลิตภัณฑ์ GDP
- เป็นเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมหภาค
- เป็นเครื่องบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมเศรษฐกิจในระยะสั้น
- เป็นดัชนีเปรียบเทียบฐานะเศรษฐกิจของประเทศ
- เป็นเป้าหมายในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์เฉลี่ย GDP ต่อหัว
เป็นการนา GDP และ/หรือ GNP มาหารเฉลี่ยด้วยจานวนประชากรในประเทศ กลายเป็น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากร 1 คน (per capita GDP) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อประชากร 1 คน (per capita GNP)เพื่อแสดงให้ทราบว่าในปีนั้น ประชากร 1 คนสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นมูลค่าเท่าใด และสามารถเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตของประชากรในแต่ละช่วงเวลาได้
GDP ต่อคนของประเทศไทยอยู่ $7,792 อยู่อันดับ 80 ของโลก หรือประมาณ 240,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
ข้อมูลจาก NESDC 3 อันดับแรกที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร มากที่สุดในประเทศไทย
- ระยอง 88,954 บาท/เดือน
- กรุงเทพ 50,368 บาท/เดือน
- ชลบุรี 47,233 บาท/เดือน
GDP บ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพหรือไม่
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม GDP เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้เพราะอะไร?
เนื่องจากตามนิยาม GDP หมายถึง ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม ถ้าบริษัทใหญ่มีกำไรก็นับเข้าใน GDP หรือบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนส่งออก ก็นับเข้าใน GDP แม่ค้าในตลาดขายของได้ก็นับเข้าใน GDP ซึ่งสัดส่วน GDP ของไทยที่มีบริษัทใหญ่และเน้นการส่งออกคิรายได้คิดเป็น 70% ของ GDP ถ้าส่งออกไม่ดี GDP ก็ไม่ดี ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ในประเทศไม่เกี่ยวข้องกับการส่งออกเลย อีกทั้งตามสูตร GDP=C+I+G+(X-M) ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ GDP โตไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือการใช้จ่ายภาครัฐ ฉะนั้นมาตรฐานการครองชีพของไทยจึงไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับ GDP ตรงโดยทีเดียว ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด GDP ต่อหัว 3 จังหวัดสูงสุดในประเทศจะเห็นได้ว่าระยองเป็นอันดับที่ 1 คนระยองรายได้ดีกว่าคนกรุงเทพหรือไม่ ก็อาจจะใช่ แต่ไม่น่าจะใช่ทุกคน ส่วนนึงเป็นเพราะโรงงานที่มีมมากมายในระยองเป็นตัวที่ทำให้ GDP จังหวัดระยองสูงและประชากร มีเพียง 723,316 คน
จุดอ่อนของ GDP และGNP
1.ไม่รวมมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ซื้อขายผ่านตลาด เช่น ผลผลิตที่ผลิตแล้วบริโภคกันเองภายในครัวเรือนไม่ได้ทาการซื้อขาย หรือกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่นการพนัน ค้ายาเสพติด เป็นต้น
2.ไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากวัดแต่ปริมาณไม่ได้วัคคุณภาพ ในขณะที่สินค้าหลายชนิดมีคุณภาพดีขึ้น ราคาถูกลง
3.ไม่ใช่เครื่องวัดสวัสดิการหรือความกินดีอยู่ดี (เช่น เวลาว่าง การพักผ่อน) เพราะไม่สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตหรือการกระจายรายได้ เพราะรายได้กับสวัสดิการนั้นไม่เหมือนกัน
4.ไม่ได้หักผลเสียของสภาวะแวดล้อม
5.ความถูกต้องในการลงบัญชี เช่น ซื้อในนามนิติบุคคลถือว่าเป็นการลงทุน แต่ถ้าซื้อในนามบุคคลถือว่าเป็นการบริโภค
GDP ของประเทศไทย
GDP ของประเทศไทย $529.177 billion (nominal) อยู่อันดับที่ 22 ของโลก
ประชากร 69,428,524 คน (2018)
GDP ต่อหัว $7,792 อยู่อันดับ 80 ของโลก
GDP ไทยปี 62 โตต่ำเพียง 2.4%
GDP โดยแบ่งเป็นภาค
- ภาคการเกษตร: 8.4%
- อุตสาหกรรม: 39.2%
- บริการ: 52.4%
ส่งออก $236.69 billion (2017)
แบ่งเป็นเครื่องจักร (23%), อิเลคโทรนิค(19%), อาหารและไม่ (14%), เคมีภัณฑ์และพลาสติก (14%), ยานยนต์และชิ้นส่วน (12%), หินและแก้ว (7%), สิ่งทอและเฟอร์นิเจอร์ (4%)
นำเข้า $222.76 billion (2017)
รายได้จากการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นประมาณ 12% ของ GDP (สถิติรายได้ภาคการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี 2019 ประเทศไทย มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด 1.9 ล้านล้านบาท) จำนวน 39,797,406 คน
อัตราการเจริญเติบโตของประเทศในอาเซียน
ถ้าดู GDP ว่าเราทำดีหรือไม่ คงต้องเทียบกับประเทศที่ทรัพยกร ขนาดประเทศ ฐาน GDP ต่อหัว หรือประเทศกำลังพัฒนาพอๆกัน จะเห็นได้ว่าเวียดนามโตมาที่สุด รองมาก็ฟิลิปปินส์ ที่โตต่ำสุดคือสิงคโปร์แต่ด้วยเป็นประเทศที่เจริญแล้วฐาน GDP สูงจึงถือว่าปกติ
แต่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ถ้าเอาประเทศที่พอจะเปรียบเทียบได้ น่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเห็นว่าประเทศไทยทำไว้ไม่ค่อยดี อัตราการเจริญเติบโตน้อยที่สุดในกลุ่ม อีกทั้งยังเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอีกด้วย ในอนาคตถ้ามียุทธศาสตร์ชาติที่ดี มีแนวโน้มอาจจะโตไม่เกิน 3% อีกเลย
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Thailand
https://knoema.com/atlas/Thailand/Tourism-receipts-as-a-share-of-exports
http://fin.bus.ku.ac.th/135512%20Economic%20Environment%20for%20Finance/Lecture%20Slides/Fiscal%20and%20Monetary.pdf