เศรษฐกิจปี 2022 1

เศรษฐกิจปี 2022 แย่ World Bank หั่น GDP เงินเฟ้อสูง

World Bank หั่นคาดการณ์ GDP โลก เหลือโตเพียง 2.9% เตือนความเสี่ยง “Stagflation” ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจซบเซาท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970

เศรษฐกิจปี 2022

ในรายงาน Global Economic Prospects ของ World Bank ได้ยอมรับว่า ความเสี่ยงจาก stagflation เริ่มมากขึ้นจากการที่การเติบโตลดลงเรื่อย ๆ …มีการคาดการณ์ว่า GDP ของโลกจะลดลงจาก 5.7% ในปี 2021 เป็น 2.9% ในปี 2022 ซึ่งน้อยกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนมกราคม ที่ 4.1% การเติบโตในช่วง 2021-2024 จะน้อยกว่าการเติบโตช่วง 1976-1979 ถึงเท่าตัว

David Malpass ประธาน World Bank พูดถึงอันตรายจากความเสี่ยงของ stagflation ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจะต่ำตลอดทศวรรษเพราะการลงทุนที่ลดลงทั่วโลก ในขณะที่เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในหลายประเทศก็จะยังสูงขึ้นและอยู่อีกนานกว่าที่คาด รัฐมนตรีคลังสหรัฐ Janet Yellen ก็ยอมรับว่าผิดพลาดเรื่องเงินเฟ้อมาหนึ่งปี และยังยอมรับถึงผลกระทบจาก supply bottlenecks ที่เธอไม่เข้าใจในเวลานั้น การที่ World Bank ออกมาทำนายถึงเรื่อง stagflation นี้ จะชี้ชัดแล้วว่าสถานการณ์เศรษฐกิจกำลังเลวร้ายลง เมื่อตอนเกิดเงินเฟ้อช่วง 1970s

“สงครามในยูเครน การล็อกดาวน์ในจีน การหยุดชะงักของซัพพลายเชน และความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย กำลังส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกลายเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยงสำหรับหลายประเทศ” เดวิด มัลพาส ประธาน World Bank กล่าว

คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ในปี 2022 (เทียบกับปี 2021)

  • สหรัฐฯ: 2.5% (จาก 5.7%)
  • จีน: 4.3% (จาก 8.1%)
  • กลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร: 2.5% (จาก 5.4%)
  • กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว: 2.6% (จาก 5.1%)
  • กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่: 3.4% (จาก 6.6%)
  • ไทย: 2.9% (จาก 1.6%)

เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าพลังงานที่สูงถึง 45% ของ GDP ทำให้ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและแผนการลงทุนของภาคเอกชนเช่นเดียวกับความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นก็จะกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้ภาคการส่งออกไทยอาจได้รับผลกระทบ

“ธนาคารโลกปรับลด GDP ไทยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.9% ในกรณีฐาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่ผลกระทบจากสงครามยูเครนรุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะช็อกในตลาดเงินและมาตรการทางการคลังของไทยไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามคาด เรามองว่า GDP อาจจะขยายตัวได้เพียง 2.6%” ฮานสล์กล่าว

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังมีปัจจัยบวกจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาราว 6.2 ล้านคน ขณะเดียวกันการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดก็จะส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศปรับดีขึ้น

สำหรับประเด็นที่มองว่ายังน่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทย คือปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของ GDP เนื่องจากเงินเฟ้อที่แรงตัวขึ้นในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนระดับล่างและเปราะบางยังฟื้นตัวไม่เต็มที่อาจซ้ำเติมให้ปัญหาหนี้สินของคนกลุ่มนี้รุนแรงขึ้น 

เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาพุ่ง 8.6%

เงินเฟ้อที่อเมริกา 8.6% สูงที่สุดในรอบ 40 ปีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ของ FED เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ CPI ออกมาที่ +8.6% ! ในเดือนพ.ค. (เมื่อเทียบรายปี) สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ +8.3% นับเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 40 ปีใหม่อีกครั้ง ! ส่งผลให้คืนนี้ดัชนี Dow Jones ลบเกือบ -1,000 จุดทันที Nasdaq และ Bitcoin ติดลบ -3%

ทางด้านผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐหรือ Bond Yield ที่จะชี้ถึงมุมมองตลาดต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ก็ขยับขึ้นมาตามที่คาด ตลาดเริ่มกลัวเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ FED มากขึ้น ว่าอาจจะขึ้นดอกเบี้ยได้สูงและเร็วขึ้น อีกทั้งคืนนี้ Yield Curve 5 ปีเทียบ 30 ปี ก็ได้กลับมา Inverted กันอีกครั้งแล้ว เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน ซึ่งก็สื่อถึงความกังวลของผลกระทบของเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่อาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยได้

เงินเฟ้อที่ไทย พ.ค. 65 พุ่งไป 7.1 % นี่ก็สูงที่สุดในรอบ 13 ปี