ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การทำงานเปลี่ยนไปมาก การทำงานที่บ้านผ่านอินเตอร์เน็ต หรือการทำงานโดยผ่านแอปเช่นบริการรับส่งอาหาร กำลังเติบโตอย่างมาก เศรษฐกิจแบบ gig economy ที่ทำงานโปรเจกต์ระยะสั้น เฉพาะแค่ในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็มีคนมากถึง 163 ล้านคน
Gig economy คืออะไร
เศรษฐกิจแบบ Gig คือระบบตลาดเสรี เป็นระบบที่มีการจ้างงานเป็นตำแหน่งชั่วคราวหรือการทำงานระยะสั้นๆ (รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน) เป็นงานๆ ไป (คำว่า “กิ๊ก, gig” เป็นตามภาษาอังกฤษคำสแลงความหมาย “งานตามระยะเวลาที่กำหนด” และโดยทั่วไปจะใช้ในการอ้างถึงนักดนตรี) ตัวอย่างของพนักงานแบบ Gig economy ในที่ทำงานอาจรวมถึงผู้รับจ้างอิสระ ผู้รับเหมาอิสระ ตามโครงการและการจ้างงานชั่วคราว
แนวโน้มของเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เช่น สหรัฐอเมริการ ภายในปี 2020 40% ของแรงงานอเมริกันจะเป็นผู้รับเหมาอิสระ ในยุคดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี และ อินเตอร์เน็ต แรงงานมีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถทำงานได้จากทุกที่ดังนั้นงานและสถานที่จึงแยกออกจากกัน นั่นหมายความว่า freelancer สามารถเลือกได้ระหว่างงานชั่วคราวและสามารถรับงานจากโครงการทั่วโลก
ปัจจัยสำคัญของการเกิด Gig Economy ได้แก่
1. เทคโนโลยี เพราะการที่เข้าถึงโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้นและรวดเร็ว ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้สะดวกขึ้น ด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงการทำงานก็สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และด้วยเทคโนโลยีช่องทางในการติดต่อระหว่างผู้จ้างกับผู้รับงานก็มีมากขึ้นอีกด้วย ยังรวมถึงการหางานในช่องทางสังคมออนไลน์อีกด้วย
2. ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ โดยที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้มองหาความมั่นคง ในหน้าที่การงานเสมอไป แต่เขาจะมองหาช่องทางในการทำเงินที่ได้มากกว่าการทำงานประจำ คนรุ่นใหม่ไม่ก็ไม่ได้อยากเข้างานตอน 8 โมงเช้า เลิกงานตอน 5 โมงเย็น ต้องฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปทำงาน อีกทั้งรายได้จาก Gig Economy บางงานอาจมีรายได้เยอะกว่าการทำงานประจำอีกด้วย
3. โครงทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้บริษัทต้องหากลยุทธ์ต่างๆมาใช้เพื่อเอาตัวรอด หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาคือการลดจำนวนพนักงานประจำและจ้างคนมาทำงานแทนแบบออนดีมานด์มากขึ้น รวมถึงงานบางประเภทที่ไม่ได้มีงานอยู่ตลอดเวลา เช่น งานกราฟิก งานการตลาดบางประเภท เช่น ทำแบบสอบถาม หรือ งานประเภทเว็บไซต์ งานโปรโมทเว็บ ซึ่งการจ้างเป็นงานๆ คุ้มค่ากว่าการจ้างพนักงานมาประจำบริษัท
4. การเติบโตของเศรษฐกิจที่มีการแบ่งปันหรือ Sharing Economy
- Grab : โดยคนที่ขับรถไม่ว่าจะเป็นรถแท็กซี่หรือคนทั่วไปที่มีรถสามารถหาเงินจาก Grab ที่เป็นตัวกลางในการหาลูกค้า
- Grab food, Line man หรือแอปสั่งอาหารอื่น ก็เป็นตัวกลางในการรับสั่งอาหารจะผู้สั่งกับร้านอาหาร โดยมีผู้ส่งอาหารได้รับรายได้จากแอปดังกล่าว
- Airbnb : สำหรับเจ้าของบ้านที่มีห้องว่างและต้องการหารายได้เสริม ก็สามารถที่ปล่อยห้องว่างให้คนอื่นมาเช่าได้ผ่านทาง Airbnb
- Fiverr เป็นศูนย์กลางสำหรับผู้จ้างในการหาบริการต่างๆจาก freelance ในการจ้างรับทำงานเป็นงานๆไป
แรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งให้เกิดปรากฏการณ์ Gig Economy ไปทั่วโลก คือ คนทำงานอิสระเหล่านี้มีทั้งเวลา ทักษะ และความสามารถ ซึ่งแรงงานในตลาดไม่มี หรือไม่อาจทำงานตามความต้องการได้ในเวลานั้น ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เริ่มพิจารณาการจ้างฟรีแลนซ์ รวมทั้งการจ้างพนักงานแบบสัญญาจ้างระยะสั้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานให้ยืดหยุ่นและสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้มากขึ้น
Gig Economy สำหรับประเทศไทย
รูปแบบการจ้างงานในรูปแบบ gig econocmic กำลังเติบโตในประเทศไทยเช่นกัน ผลสำรวจของอีไอซี (EIC) ระบุว่าสัดส่วนของคนทำงานอิสระหรือ Gig Worker นั้นคิดเป็น 30% ของคนวัยทำงาน (จากผู้ตอบแบบสอบถาม 9,387 คน) เช่น รับจ้างทั่วไป ทำธุรกิจส่วนตัว หรือขายสินค้าทางออนไลน์ โดย 1 ใน 3 เป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว ที่เหลือเป็นพนักงานประจำที่รับงานอิสระ อย่างไรก็ดีแรงงานนอกระบบเหล่านี้กำลังประสบปัญหาด้านความมั่นคง เนื่องจากไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย หน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยและเดินหน้าปรับตัวอย่างต่อเนื่อง สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานได้จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะ 5 ปี เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันภารกิจแรงงานระดับประเทศเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งหวังเป็นแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแรงงานไทย และยกระดับการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล