Glico Pocky “ป๊อกกี้” ขึ้นแท่นขนมช็อกโกแลตขายดีที่สุดในโลก

2708
Pocky

“ป๊อกกี้” ขนมจากบริษัทกูลิโกะ เอซากิ ได้รับการรับรองจากกินเนสบุ๊คว่าเป็น ขนมปังกรอบช็อกโกแลตที่ขายดีที่สุดในโลก

“ป๊อกกี้” มีวางจำหน่ายในกว่า 30 ประเทศและดินแดน มียอดขายในแต่ละปีมากกว่า 590 ล้านดอลลาร์ ขนมยอดนิยมนี้เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2509 และได้ขยายไปยังทั่วโลก โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในต่างแดนที่วางขาย “ป๊อกกี้” ในปี 2515

ป๊อกกี้ ที่ขายในญี่ปุ่นปี 2517
“ป๊อกกี้” ที่ขายในญี่ปุ่นปี 2517

นอกจาก “ป๊อกกี้” รสช็อกโกแลตที่เป็นต้นตำรับและขายดีที่สุดนั้น บริษัทกูลิโกะยังได้สร้างสรรค์ “ป๊อกกี้” รสชาติต่าง ๆ แตกต่างกันในแต่ละประเทศ รวมทั้งยังใช้ส่วนผสมของช็อกโกแลตที่แตกต่างกัน เหมาะกับภูมิอากาศและความนิยมของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่  “ป๊อกกี้” ในแต่ละประเทศจึงอาจมีรสชาติและความอร่อยที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นรสช็อกโกแลตเหมือนกันก็ตาม

ในปี 2557 บริษัทกูลิโกะได้ปรับชื่อทางการค้าของขนมยอดนิยมนี้ ที่เดิมมีชื่อแตกต่างในบางประเทศให้ใช้ชื่อ “ป๊อกกี้” ทั้งหมด ยกเว้นในที่วางขายยุโรปที่ยังคงใช้ชื่อทางการค้าว่า “Mikado.”

Pocky3

ประวัติขนมชื่อดัง “ป๊อกกี้

กูลิโกะ เป็นยี่ห้อขนมชื่อดังของญี่ปุ่น ผลิตโดย บริษัท เอซากิ กูลิโกะ จำกัด ผู้ก่อตั้งกิจการนามว่า ริอิจิ เอซากิ

ริอิจิ เอซากิ

ริอิจิเกิดในจังหวัดซางะ เกาะคิวชู ทางใต้ ปีค.ศ.1882 ตรงกับพ.ศ.2425 เมื่อเรียนจบระดับประถมศึกษาในการเรียน 4 ปี ตอนอายุ 14 ปี ก็เริ่มมาช่วยกิจการเภสัชกรรมของครอบครัว พร้อมกับอาศัยอ่านตำราชั้นมัธยมฯ ที่ขอยืมมา
ช่วงเวลานี้เอง คุณ Ri-ichi Ezaki ไปพบครูที่อยู่ใกล้ๆ บ้านเพื่อศึกษาวิชาการต่างๆ รวมถึงการทำธุรกิจ เขาเรียนรู้และจดจำส่งที่ครูเขาเคยสอนว่า

ธุรกิจไม่ได้ทำเพื่อตนเองเท่านั้น แต่ต้องทำเพื่อสังคมด้วย
“Business is not only for oneself but also for society”
และ
หากคนขายได้กำไรจากการขายของและคนซื้อได้กำไรจากคุณค่าของสินค้า การใช้เงินจึงคุ้มค่า
“A seller profits from selling goods while a buyer profits as a result of obtaining a product that is worth the money spent.”

ซึ่งทั้งสองคำสอนสะท้อนและรวมกันเป็น “Business is equivalent to service”

ริอิจิ เอซากิจึงถือหลักการว่า “ธุรกิจเท่ากับการบริการ” ตลอดชีวิตการทำงานของเขา และจากโลกไปในปีพ.ศ.2523 ขณะอายุ 97 ปี

เริ่มธุรกิจจาก คุณเอซากิ ริอิจิ ไปเห็นชาวประมงในหมู่บ้านมักจะต้มหอยนางรม แล้วทิ้งน้ำที่ต้มทุกครั้ง แล้วเขาบังเอิญไปอ่านเจอในหนังสือพิมพ์ว่า Glycogen (ไกลโคเจ้น) ที่อยู่ในหอยนางรมมีประโยชน์ต่อร่างกายเขาจึงขอซื้อหอยนางรมจากชาวประมงมาต้มและทำการวิจัยที่มหาวิทยาลัยคิวชูแล้วบังเอิญในระหว่างนั้น ลูกชายของเขาเกิดล้มป่วยเป็นไทฟอยด์ ซึ่งหมอยังไม่สามารถหาทางรักษาได้เขาเลยลองขออนุญาตหมอ ให้ลูกชายได้ดื่มน้ำต้มหอยนางรม โดยในขณะนั้นเขาเองก็ยังไม่รู้ว่า Glycogen จะช่วยบำบัดโรคไทฟอยด์ได้ จนกระทั่งลูกชายเขาหายค่อยๆ หายจากอาการป่วยเขาจึงรู้ในทันทีว่า Glycogen เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยเยียวยาโรคได้เขาจึงคิดอยากผลิตขนมสำหรับเด็กที่มีรสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยจะใช้ Glycogen เป็นส่วนผสม
เขาก่อตั้งบริษัทเอซากิ กูลิโกะ ในปีพ.ศ.2465 ที่โอซาก้า ชื่อบริษัทคำแรกมาจากนามสกุล ส่วนอีกคำคือ กูลิโกะ เป็นคำย่อจาก ไกลโคเจน (Glycogen) แต่คำว่า ไกลโคเจ้น (Glycogen) นั้น คนญี่ปุ่นออกเสียงเพี้ยนไปตามสำเนียงญี่ปุ่นเป็น “กูลิโกะ”เพราะฉะนั้น “กูลิโกะ” ก็คือ ไกลโคเจ้น (Glycogen)นั้นเอง

Kettle
หม้อที่ใช้เคี้ยวคาราเมลในการทดลองสูตร Glico
glico caramel 1922


Glycogen โมเลกุลคาร์โบไฮเดรตเก็บสะสมไว้ในเซลล์ มีความเชื่อมโยงกับน้ำตาลในเลือดมีเคล็ดว่า ยิ่งนักวิ่งรักษาระดับของไกลโคเจนไว้ได้นานเท่าไร ก็เท่ากับว่าความอึดก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ริอิจิสกัดไกลโคเจนจากหอยนางรมสด ในรูปแบบของน้ำตาล ทำขนมที่สร้างชื่อให้กับบริษัทตัวแรก คือลูกกวาดคาราเมล มีโลโก้ที่กล่องเป็นรูปนักวิ่งบนลู่วิ่งสีน้ำเงิน สื่อถึงไกลโคเจนหรือกูลิโกะที่กล่าวมา “กูลิโกะ คาราเมล” ที่ห้างสรรพสินค้ามิตซูโคชิ ในเมืองโอซากา พร้อมคำอธิบายว่า ในการกินขนมคาราเมลกูลิโกะ 1 ชิ้นนั้น มีแคลอรีอยู่ที่แท่งละ 15.4 กิโลแคลอรี ซึ่งเพียงพอต่อการนำพลังงานไปใช้ในการวิ่งเป็นระยะทาง 300 เมตร ส่วนฉากหลังเป็นวงกลมสีแดงธงชาติญี่ปุ่น และย่านดงบุริ แหล่งบันเทิงของเมืองโอซาก้า
ในปี 2488 ปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานกูลิโกะในโอซาก้าถูกทิ้งระเบิดพังยับ เช่นเดียวกับที่กรุงโตเกียวต้องปิดตัวลง ทำให้บริษัทไม่สามารถผลิตขนมออกจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ
อีก 6 ปีต่อมากิจการเริ่มฟื้นตัวและกลับมาเปิดโรงงานอีกครั้งในปี 2494 พร้อมขยายสาขาไปเปิดโรงงานที่เกาะคิวชู และดำเนินกิจการรวมทั้งพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเรื่อยมา
ในปีพ.ศ.2509 บริษัทเอซากิ กูลิโกะ คิดค้นดัดแปลงขนมปังกรอบเพรตซ์แบบแท่งยาว (Pretz) มาเคลือบด้วยช็อกโกแลตทั้งแท่ง แล้วใช้กระดาษสีเงินมาห่อตรงปลายเพื่อไม่ให้มือเลอะเทอะเวลากิน แต่ก็ติดปัญหาด้านต้นทุนและการผลิต สุดท้ายจึงเคลือบช็อกโกแลต (รวมถึงรสชาติอื่นๆ) โดยเว้นส่วนปลายแท่งไว้นิดหน่อยเพื่อให้เป็นเหมือนกับ “ที่จับ” ดังที่เห็นในปัจจุบัน แต่เดิมขนมชนิดนี้ใช้ชื่อว่า ช็อกโกเทก (Chocoteck) ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่วัยรุ่นชาวญี่ปุ่น  จนสามารถทำยอดขายได้ถึง 3 หมื่นล้านเยน ในการออกวางจำหน่ายช่วง 2 ปีแรก ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ป๊อกกี้ (Pocky) โดยมีที่มาจากเสียง “ป๊กกิง” (ญี่ปุ่น: ポッキン Pokkin ?) ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นเวลากัดขนมชนิดนี้ (คล้ายกับเสียง กรุบๆ ในภาษาไทย) ชื่อของป๊อกกี้จึงเริ่มต้นนับหนึ่งตั้งแต่นั้น
ตั้งแต่ปีพ.ศ.2514 ทางบริษัทผลิตป๊อกกี้รสชาติใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ บริษัทกูลิโกะรักษาความเป็น ผู้ผลิตขนมชั้นนำระดับโลกมาอย่างยาวนาน นอกจากพัฒนาตัวสินค้าแล้ว ยังมีแผนการตลาดที่มีสีสันไม่หยุดนิ่ง เช่น เป็นสปอนเซอร์ให้ กับการ์ตูนเรื่องเท็ตสึจิน หุ่นเหล็กหมายเลข 28 และล่าสุดออกเวอร์ชั่นหนัง Star Wars เทียบแท่งกูลิโกะป๊อกกี้ กับดาบเลเซอร์ ไลต์ เซเบอร์ ออกมาอย่างมีอารมณ์ขันและน่ากิน

Pocky2
Pocky ถูกนำไปใช้ความคิดสร้่างสรรค์ เพื่อทำเป็นขนมเค้ก
ริอิจิ เอซากิ glico

ที่มา https://mgronline.com/japan/