Hyperloop คือเทคโนโลยีการคมนาคมขนส่งด้วยแนวคิดนวัตกรรมใหม่ ด้วยการเดินทาง
ไปยังจุดหมายที่ต้องการผ่านท่อสุญญากาศ โดยมีพาหนะที่เรียกว่า pod หรือแคปซูล ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า(magnetic levitation – Maglev) แคปซูลไฮเปอร์ลูปสามารถเดินทางได้เร็วขึ้นเนื่องจาก ไม่มีปัจจัยรบกวนจากแรงเสียดทานของอากาศที่เหมือนกับรถไฟความเร็วสูง
ไฮเปอร์ลูปเป็นแนวคิดของอีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัทผลิตรถไฟฟ้า Tesla ในปัจจุบัน บริษัท Virgin Hyperloop One ได้ทดสอบเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปที่รัฐเนวาดาสามารถทำความเร็วอยู่ที่ 387 กิโลเมตร / ชั่วโมง
ด้วยการก่อสร้างที่ต้องเป็นเส้นตรงและใช้ท่อสุญญากาศแบบปิดผนึกตลอดระบบตลอดเส้นทาง ทำให้ค่าก่อสร้างแพงมาก 600 ล้านบาทต่อกิโลเมตร อย่างไรก็ตามปี 2017 อินเดียแถลงการณ์ว่าจะดำเนินการก่อสร้างเทคโนโลยีการขนส่งมวลชนความเร็วสูงไฮเปอร์ลูประหว่างมุมไบและปูเน่ จะทดลองก่อนและจะสร้างจริงในปี 2020
ล่าสุดเมื่อ 5 ธันวาคม 2019 โครงการท่าจะเป็นหมันซะแล้ว หลังจากเปลี่ยนรัฐบาลท้องถิ่น ก็ได้มีการยกเลิกโครงการไฮเปอร์ลูป โดย โฆษกของสภา NCP และสมาชิกสภานิติบัญญัติ (MLA) Nawab Malik กล่าวว่า“ บางสิ่งเช่น hyperloop ไม่มีอยู่จริง มันอยู่ในช่วงทดลองเท่านั้น – เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เหตุใดรัฐบาลจึงจ่ายเงินสำหรับการทดสอบประเภทนี้ มีหน่วยงานอื่น ๆ ที่ให้ทุนวิจัยซึ่งเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการกับไฮเปอร์ลูป รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเสียเงินกับการทดลองที่เราไม่รู้ว่าจะกลายเป็นความจริง ดังนั้นเราได้ตัดสินใจแล้วว่าสิ่งนี้ควรได้รับการตรวจสอบและควรยกเลิก”