Maslow’s hierarchy of needs
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ จากนักจิตวิทยาชื่อ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) จากมหาวิทยาลัย Yale ในปี 1943 ซึ่งเผยแพร่ในหนังสือ A Theory of Human Motivation เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา ว่าด้วยเรื่องของมนุษย์ ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
ถ้าศึกษาอย่างละเอียด คุณจะเข้าใจตนเอง ผู้อื่น การแสดงออกทางการเมือง และการวางนโยบายเพื่อประชาชนของประเทศ และปรากฎการณ์ในสังคม ถ้าลองวิเคราะห์ทฤษฎีนี้กับชีวิตของคุณ บางคนอาจผ่านบางขั้นตอนลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมผู้คนบนโลกใบนี้ต่างพอใจกับสิ่งที่มีสิ่งที่ได้ต่างกัน บางคนต้องการแค่การงานที่ดี มีเงินเดือน มีอาหาร ได้ไปท่องเที่ยว บางคนต้องการตำแหน่ง ชื่อเสียง เงินทองไม่รู้จบ คุณอาจจะได้รับคำตอบจากทฤษฎีมาสโลว์ก็เป็นได้
ความต้องการของมนุษย์ 5 ขั้นของมาสโลว์ มักถูกนำเสนอโดยรูปพิระมิด แบ่งเป็น 5 ระดับ จากพื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่างและความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตเป็นชั้นสูงสุด “ยิ่งเป็นความต้องการในขั้นที่สูงขึ้น จะยิ่งมีจำนวนคนที่ได้รับการตอบสนองน้อยลง” เหมือนพีระมิดที่ยิ่งสูงขึ้น ยอดก็จะยิ่งแคบลง
- Physiological Needs คือ ความต้องการทางกายภาพเพื่อการดำรงชีวิต (ความต้องการในระดับพื้นฐาน)
- Safety Needs คือ ความต้องการด้านความปลอดภัย
- Love and Belonging Needs คือ ความต้องการความรักความสัมพันธ์และความเป็นเจ้าของ
- Esteem Needs คือ ความต้องการความเคารพนับถือ
- Self Actualization Needs คือ ความต้องการสูงสุดในชีวิต (ระดับสูงสุด)
Physiological Needs
ความต้องการทางกายภาพเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และ เป็นความต้องการที่เป็นขั้นพื้นฐานที่สุดของทฤษฎีมาสโลว์ โดยความต้องการทางกายภาพหรือ Physiological Needs ที่เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เพื่อที่จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ได้แก่ น้ำ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นั่นเป็นความต้องการที่ทุกคนต้องมีนั่นเอง
โดยส่วนใหญ่ของมนุษย์ทั่วไป คนเราทุกคนต่างก็มีความพยายามที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับความต้องการที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกก่อน เมื่อความต้องการนั้นได้รับความพึงพอใจ ความต้องการนั้นจะหมดไปและเป็นตัวกระตุ้นให้คนเราสร้างความพึงพอใจในความต้องการที่สำคัญกับชีวิตในขั้นถัดไป ตัวอย่างเช่น คนที่หิวโหย อดอยาก (ความต้องการทางกาย) ก็ไม่ได้ให้คนอื่นมาชื่นชม ไม่ได้สนใจที่ที่ปลอดภัย หรือแม้แต่ความรักใดๆ ของให้ท้องอิ่มไปวันๆ เอาตัวรอดไปก่อนให้ได้ก็พอ จนไม่หิวท้องแล้วจึงอาจอยากได้ความต้องการขั้นถัดๆ ไป
Safety Needs
ความต้องการเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อมนุษย์เรามีความต้องการพื้นฐานแล้ว ความรู้สึกต้องการความปลอดภัยจึงเป็นความต้องการขั้นต่อมา มนุษย์ก็จะเริ่มต้องการความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่น ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ความมั่นคงทางการเงิน ความปลอดภัยของชีวิต การดูแลสุขภาพ การประกันชีวิต ความปลอดภัยของทรัพย์สิน ความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ดูแลให้สถานที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่เป็นมลพิษกับสุขภาพ ถ้าเป็นที่ทำงานควรมีมาตรการลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ในการทำงานให้กับทีม รวมไปถึงความมั่นคงด้านรายได้
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยเมื่อความต้องการทางการภาพได้รับการตอบสนองในระดับที่พอเพียง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ การขาดโอกาสทางการงาน) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฏออกมาในรูปของ การนิยมงานที่มีความมั่นคง กระบวนการร้องทุกข์เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชา หรือ ปกป้องบัญชีเงินฝาก เรียกร้องนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ต่างๆ การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ เป็นต้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน สุขภาพและความเป็นอยู่ ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย
Love and Belonging Needs
ความต้องการความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรัก ความเป็นเจ้าของ การมีคู่ครอง ครอบครัว เพื่อน และการยอมรับจากสังคม โดยความต้องการในขั้นของ Love and Belonging Needs จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลมีความมั่นคงปลอดภัยทั้งด้านชีวิต ด้านการงานและการเงิน ถ้าหากสังเกตจะเห็นว่าในขั้นนี้ความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์จะเริ่มเปลี่ยนจากเอาตัวรอดไปเป็นความต้องการด้านความรู้สึก (Emotional)
ความรักและความเป็นเจ้าของ เมื่อความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ระดับขั้นที่สามของความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็นเจ้าของ มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น ถ้าขาดความต้องการเรื่องนี้ไป หลายๆคนกลายเป็นคนขี้เหงา มีปัญหาการเข้าสังคม และ เป็นโรคซึมเศร้า ความต้องการเป็นเจ้าของนี้ บ่อยครั้งที่สามารถจะชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได้ ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง (peer pressure) เช่น คนที่มีอาการ anorexic (เบื่ออาหาร) อาจละเลยความต้องการอาหาร และความปลอดภัย เพียงเพื่อได้ความต้องการควบคุมและเป็นเจ้าของความเคารพนับถือ
Esteem Needs
ความต้องการการยกย่อง การให้ผู้อื่นเห็นค่า ยอมรับ และการได้รับความเคารพนับถือจากคนรอบตัว อย่างเช่น ลูกน้อง สังคมรอบตัว ญาติพี่น้อง ถ้าในการทำงานจะไม่ชอบการดูถูกหรือการทำให้รู้สึกด้อยค่าลง เพราะมีคนสั่งการทุกอย่างในงานที่ตัวเองทำ ทำให้ความภูมิใจในตัวเองและ Self-esteem ลดลง
มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับการนับถือและเคารพให้เกียรติ ความเคารพนับถือแสดงถึงความต้องการของมนุษย์ที่จะได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าโดยคนอื่น คนต้องการที่จะทำอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับการยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่าเขาได้มีส่วนทำประโยชน์ เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรก ความไม่สมดุลในความเคารพนับถือ อาจส่งผลให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและรู้สึกต้อยต่ำ คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำต้องการการเคารพจากคนอื่นๆ เขาอาจพยายามแสวงหาความมีชื่อเสียง (ซึ่งขึ้นกับผู้อื่น) หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ไม่สามารถที่จะแก้ไขความภาคภูมิใจตัวเองได้ง่ายๆโดยการมีชื่อเสียง ได้รับความเคารพ จากภายนอก แต่ต้องยอมรับตัวเองจากภายใน ความไม่สมดุลทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ได้คนส่วนใหญ่มีความต้องการความเคารพและความภาคภูมิในในตนเองที่มั่นคง
มาสโลว์ได้กล่าวถึงต้องการความเคารพนับถือใน 2 ระดับ คือ ระดับล่าง กับ ระดับสูง
ระดับล่าง เป็นความต้องการความนับถือจากคนอื่น ความต้องการสถานะ การยอมรับ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และ ความสนใจ
ระดับสูง เป็นความต้องการความเคารพตัวเอง ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และ อิสระ ที่ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่า มันขึ้นกับความสามารถภายในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์การขาดความต้องการเหล่านี้ อาจทำให้ความรู้สึกต่ำต้อย อ่อนแอ และช่วยตัวเองไม่ได้ หมดหนทางมาสโลว์ได้หมายเหตุไว้ว่าการแบ่งขั้นความต้องการความเคารพนับถือระดับล่างกับสูงนี้เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเป็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน
Self Actualization Needs
ความต้องการให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิต ความต้องการสูงสุดในชีวิตตามทฤษฎีมาสโลว์ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสุดท้ายของมนุษย์หลังจากได้รับการตอบสนองใน 4 ขั้นแรกแล้ว ในขั้นนี้ความต้องการ (Needs) ในแต่ละคนจะต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปมักจะเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ เป็นสิ่งที่ใฝ่ฝัน และการเติมเต็มความฝัน
ขั้นสุดท้าย คนต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต บางคนต้องการเปลี่ยนสังคมบางคนวาดรูป ดูงานศิลปะ เขียนหนังสือ ไปอยู่กับธรรมชาติ มีเมียเพิ่ม “อะไรที่บุคคลเป็นได้ เขาต้องเป็น” “What a man can be, he must be.” เป็นคำกล่าวของมาสโลว์ที่สรุปความหมายของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตไว้ ความต้องการนี้ เกี่ยวกับ ศักยภาพสูงสุดของบุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น มาสโลว์อธิบายว่านี้คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที่่เขาเป็นอยู่ เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆอย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้ยาวไปนิด แต่สั้นกว่าเวลาที่จะค้นหามันด้วยตนเองอีกหลายปีเพื่อที่จะเข้าใจความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตได้ บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการอื่นๆ (กายภาพ ความปลอดภัย ความรัก ความเคารพนับถือ) อย่างดีแล้ว
ประยุกต์ทฤษฎีมาสโลว์การด้านธุรกิจ
ชั้นความต้องการที่พื้นฐานหรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได้ความต้องการทางกายภาพความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย์ ถ้าความต้องการพื้นฐานที่สุดนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทำงานได้ หรือไม่สามารถทำงานได้ดี ดังนั้นบริษัทต้องการให้บุคลากรทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพต้องให้พนักงานได้รับการตอบสนองความต้องการในระดับพื้นฐานก่อน ก่อนที่บุคคลากรของเราจะไปถึงจุดที่พยายามค้นพบศักยภาพของตนหรือใช้ความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ คือความต้องการขั้นใน Self-Actualization
ในแง่ของการตลาด สินค้าและบริการของเรานั้นสามารถสนองความต้องการของมนุษย์ในขั้นไหน และในขณะเดียวกันก็สามารถต่อยอดได้ว่านอกจากตัวสินค้าจะทำหน้าที่ “พื้นฐาน” เพื่อตอบสนองความต้องการแรกได้แล้วนั้น การสื่อสารการตลาด หรือการสร้างแบรนด์เองก็สามารถจะสนองความต้องการอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน
กาแฟ, รถยนต์ หรือกระเป๋า ที่ตัวสินค้าเองอาจจะตอบสนองความต้องการขั้นแรก (กายภาพ) และนั่นทำให้ตัวสินค้าเป็นที่ต้องการพื้นฐานของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันนั้น ภาพลักษณ์ของแบรนด์เองก็เน้นเป็นเรื่องจะแสดงขั้น Esteem Needs ยังสามารถช่วยให้ตัวเจ้าของได้รับการยอมรับจากคนอื่นๆ ด้วย
ในขั้น Esteem Needs มนุษย์อาจแสดงออกด้วยการใช้สินค้าที่แพงกว่า การวางตัวที่ดูดี การแสดงถึงความสำเร็จ การใช้ความสามารถเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นต้น
ที่มา th.wikipedia.org/wiki