Mind Map คืออะไร เขียนอย่างไรให้สวยๆและถูกต้อง

6206
mind map1
ที่มา https://mindmapsunleashed.com/10-really-cool-mind-mapping-examples-you-will-learn-from

เคยไหมที่มีความคิดล่องลอยอยู่ในหัวมากเกินไป การจดโน้ตหรือเขียนออกมาจากการขบคิดปัญหาที่ซับซ้อนออกมาจากหัวจะเป็นการดีกว่าโดยเฉพาะถ้าการจัดเรียงความคิดของคุณให้ออกมาเป็นสิ่งที่มองเห็นได้และระบุความสัมพันธ์ระหว่างกันจะทำให้คุณจดจำได้ดีขึ้นและเห็นภาพกว้างขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วธรรมชาติของสมองคนเรามักจะจดจำเป็นรูปภาพ สีสัน ทำให้เราเข้าใจอะไรได้ง่ายมากกว่าการจำเป็นคำศัพท์ โดยวิธีการจดบันทึกแบบ Mind Map นั้นถูกออกแบบเลียนแบบมาจากการทำงานของสมองตามธรรมชาติ โดยจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองได้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า

Mind Map คืออะไร?

Mind Map  หรือแผนผังความคิด คือ ไดอะแกรมแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งเครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง โดยการจดบันทึกใช้เพื่อถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูลออกมาเป็นแผนภาพ (Visual Tool) แบบเป็นรัศมีล้อมรอบความคิดนั้นหรือที่เรียกว่า Radiant Thinking ซึ่งคิดค้นโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzan เครื่องมือนี้ คือ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด) ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเรียบง่ายที่สุด มีรูปแบบการจดบันทึกที่สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพอีกด้วย

Mind Map มีลักษณะสำคัญคือ มีการเชื่อมโยง จากไอเดียหลักตรงกลาง แตกกิ่งออกไปเรื่อยๆ ประกอบไปด้วย “คำสำคัญ” และ “รูปภาพ” โดยองค์ประกอบเหล่านี้มีการเชื่อมโยงถึงกันด้วย “เส้น” และมีการกระตุ้นด้วยการใช้ “สี“

โทนี่ บูซาน (tony buzan)
โทนี่ บูซาน (tony buzan)

Mind Map (แผนผังความคิด) ได้รับการคิดค้นโดย โทนี่ บูซาน (Tony Buzan) ในช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจและพัฒนาเทคนิคการคิดนี้มาจาก การผสมผสานเทคนิคการจดบันทึกส่วนตัวของ Leonardo da Vinci, Albert Einstein, and Joseph D. Novak’s “concept mapping” techniques. โดย โทนี่ บูซาน เป็นนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เขียนหนังสือกว่า 100 เล่มเกี่ยวกับการพัฒนาสมอง ความจำ และ Mind Map ตีพิมพ์กว่า 100 ประเทศ และเว็บไซต์ของโทนี่ บูซาน tonybuzan.com

การใช้ Mind Map สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาตัวเองและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียน ช่วยส่งเสริมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆได้อย่างมากมาย โดย

  • ช่วยด้านความคิดสร้างสรรค์ – ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ ของสมองทั้ง 2 ซีก กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์และเป็นอิสระ กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมเชิงความคิด เกิดความคิดใหม่ โดยการใช้ภาพและคำเป็นตัวกระตุ้นสมองเพราะการที่จะเขียนมายแมพต้องเข้าใจการเชื่อมโยงของ keyword แต่ละคำ
  • จัดระเบียบความคิดและความจำ – ทำให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องราวต่างๆชัดเจน ทำให้สรุปใจความสำคัญของเรื่องราวต่างๆได้ง่ายขึ้น มีแผนผังที่เชื่อมโยงกัน ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งการทำ Mind Map เป็นการช่วยพัฒนาความจำอีกด้วย การใช้ภาพ สี การเชื่อมโยง จะเป็นการกระตุ้นความทรงจำได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยกลยุทธ์และการวางแผนของธุรกิจ – ใช้ในการวางแผนชีวิตและการทำงาน ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว การเรียน การทำงาน และอื่นๆ ซึ่ง Mind Maps ช่วยในการจัดข้อมูลมหาศาลให้เป็นระเบียบและเข้าใจได้ง่าย
  • ด้านการระดมความคิดและการทำงานเป็นทีม – สามารถระดมความคิดแบบกลุ่มกับทีมงานเพื่อกระตุ้นความคิด ไอเดียใหม่ๆ และทำให้ในทีมเข้าใจประเด็นต่างๆได้ง่ายเมื่อใช้ Mind Map ที่เป็นรูปภาพ และ Keyword เป็นตัวสื่อสาร

Mind Map หรือ Mind Mapping ในภาษาไทยมีคำเรียกหลายคำ เช่น มายแมพ, มายแมพปิ้ง, ไมด์แม็ป, แผนผังความคิด, แผนที่ความคิด, แผนภาพความคิด หรือผังมโนทัศน์ความคิด

6 ขั้นตอนการเขียนมายแมพสวยๆ ขั้นเทพ

ขั้นตอนการเขียนมายแมพสวยๆ ได้ข้อมูลมาจาก thaihealth.or.th

1. เริ่มวาดที่จุดกึ่งกลางของกระดาษ

ใช้กระดาษเปล่า ให้เอาแบบไม่มีเส้น และวางตามแนวนอน เริ่มต้นเขียนจากกลางหน้ากระดาษจะช่วยให้สมองมีอิสระในความคิดและ พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทางเรียงตามลำดับที่เราต้องการได้ง่าย

2. วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลาง เพื่อเชื่อมโยง

เชื่อมโยงประเด็นสำคัญหรือ ‘กิ่งแก้ว’ เข้ากับ ‘ไอเดียหลักตรงกลาง’ (Central Idea) ที่เป็นภาพตรงกลางและแตกความคิดย่อยหรือ ‘กิ่งก้อย’ ออกจากิ่งแก้วอีกที เพื่อเชื่อมโยงประเด็นหลักกับประเด็นรองเข้าด้วยกัน ตามที่สมองเราจะคิดได้ การเชื่อมเส้นต่อกัน เพื่อที่ว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากันเช่นกัน

3. วาดเส้นกิ่งให้โค้งดีกว่าวาดแบบเส้นตรง

วาดกิ่งให้เป็นเส้นโค้งแทนเส้นตรงเพราะจะดึงดูดสายตายและต้องตาต้องใจมากกว่า

4. ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบ

ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์เยอะๆ จะทำให้สมองบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น การใช้รูปภาพบางครั้งแทนความหมายมากกว่าบันทึกเป็นคำๆ และยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวอีกด้วย

5. ใช้เพียงแค่คีย์เวิร์ดเท่านั้น เป็นคำสั้นๆ เพื่อแตกข้อมูลอธิบายเพิ่ม

ใช้คำที่มีความหมายในตัวเองและสะท้อนใจความสำคัญของเรื่องได้ เป็น คำที่สั้นๆ หรือที่เป็นคีย์เวิร์ดเข้าใจง่าย เช่น เวลา วันหยุด สถานที่

6. ใช้ปากกาหลากหลายสี เพื่อสร้างความจดจำ สีสันและจินตนาการ

เตรียมปากกาสีสวยๆ ไว้ซัก 1 Set เป็นปากกาหลากหลายสี ถ้าจะให้ดีควรใช้ สีสันตั้งแต่ 3 สีขึ้นไปเพื่อเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์และสนุกเวลาเขียน มาเติมแต่ง Mind Mapping ของเราให้ออกไปในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งสีจะทำให้สมองของเราได้ตื่นตัว สีสันจะทำให้ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แถมการนั่งวาดภาพระบายสียังทำให้เราได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปในตัวอีกด้วย

App ฟรี สำหรับ mind mapping software

XMind – xmind.net

xmind review

โปรแกรมทำ Mind Map ที่ใช้งานง่ายและฟรี โดย Xmind ถือเป็นโปรแกรมที่ตอบโจทย์การทำแผนผังความคิดที่หลากหลายรูปแบบ และสร้างภาพความคิด (Visualized Idea) ได้ตามต้องการ ใช้งานง่าย ถ้าต้องการการใช้งานที่ครบถ้วนและไม่ต้องการลายน้ำต้องจ่ายเงิน

ดาวโหลดได้ที่ App Store : Google Play

Mindomo – mindomo.com

mindomo

โปรแกรมทำ Mind Map ที่ใช้งานง่ายและฟรี โดย Mindomo ถือเป็นโปรแกรมที่ตอบโจทย์การทำแผนผังความคิด ใช้งานง่าย สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือจากเว็บอื่นๆได้

Canva – canva.com/th_th/graphs/mind-maps

canvas

โปรแกรมทำ Mind Map ที่ใช้งานง่ายและฟรีเป็นภาษาไทย มี Templete หรือแม่แบบให้เลือกเยอะมาก แค่ปรับแต่งไม่กี่นาทีก็ได้มายแมพสวยๆ ซึ่ง canva ถือว่าเป็นเว็บออกแบบที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว เมื่อเสร็จแล้ว คุณสามารถดาวน์โหลดแผนที่ความคิดเป็นไฟล์ JPEG, PNG หรือ PDF จากนั้นแชร์ลงในโซเชียลมีเดีย หรือส่งอีเมลไปให้ใครสักคนโดยตรงก็ได้

ตัวอย่าง มายแมพปิ้งสวยๆ

gw medium res
Combating Global Warming mind map – https://learningfundamentals.com.au/resources/
SWOT analysis
 SWOT analysis ที่มา https://www.ayoa.com/ourblog/what-is-swot-analysis-and-are-you-doing-it-right/
Doing Things Differently
Doing Things Differently ที่มา http://www.mindmapinspiration.com/doing-things-differently/
Mind Map ประกอบการเรียนในวิชาชีววิทยา
Mind Map ประกอบการเรียนในวิชาชีววิทยา ที่มา https://wan1966.wordpress.com/2014/01/02/mind-map-hormone/