QR Code คิวอาร์โค้ด ระบบชำระเงินรูปแบบใหม่ 1

QR Code คิวอาร์โค้ดคืออะไร

QR Code คืออะไร

คิวอาร์โค้ด รหัสคิวอาร์ หรือชื่อภาษาอังกฤษที่เรียกว่า (QR Code : Quick Response) ซึ่งในความหมายของคำว่า Quick Response นั้นจะหมายถึง “การตอบสนองที่รวดเร็ว” รหัสคิวอาร์เป็นบาร์โค้ดประเภทบาร์โค้ดเมทริกซ์ (หรือบาร์โค้ดสองมิติ) รหัสคิวอาร์โค้ดถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2537 โดยบริษัทเดนโซ-เวฟซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือของโตโยต้า ต้นกำเนิดของรหัสคิวอาร์มาจากประเทศญี่ปุ่นและถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นรหัสที่มีการอ่านอย่างรวดเร็วและสามารถเก็บความจุได้มากกว่าเมื่อเทียบกับบาร์โค้ดมารฐานในปัจจุบัน และในปัจจุบันรหัสคิวอาร์ได้กลายเป็นที่นิยมในทั่วโลกและในประเทศไทยก็มีให้เห็นอย่างแพร่หลายสามารถพบเห็นได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอาง หรือขนมขบเคี้ยว หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

คิวอาร์โค้ดประกอบด้วยโมดูลสีดำ (จุดสี่เหลี่ยม) จัดอยู่ในตารางสี่เหลี่ยมบนพื้นสีขาวซึ่งสามารถอ่านได้โดยอุปกรณ์การถ่ายภาพ (เช่นกล้อง)  กล้องที่ติดมากับมือถือสมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั้งกล้องเว็บแคม แต่จะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ถอดรหัสรหัสคิวอาร์ ก่อนเช่น QR Code Reader เป็นต้น

รหัสคิวอาร์ (QR Code)

เอาจริงๆ QR Code ก็คือการเปลี่ยนชุดของตัวอักษรให้เป็นรหัสภาพเท่านั้นเองครับ เหมือนบาร์โค้ดนั่นแหละครับ

หลักการทำงานของ QR Code

QR Code มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Barcode ที่อยู่บนกล่องหรือผลิตภัณฑ์ทั่วไป  แต่การอ่าน Barcode จะต้องใช้เครื่องสแกนยิงเลเซอร์ จากนั้นเครื่องสแกนก็จะแปลง Barcode เป็นข้อมูลสินค้าชิ้นนั้นๆ ส่วนการอ่าน QR Code นั้นสะดวกกว่าเพียงใช้โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องและโปรแกรม QR Code Reader  เพื่อใช้ถ่ายภาพ QR Code จากนั้นโปรแกรมจะประมวลผล QR Code เป็นข้อมูลต้นฉบับ เช่น ชื่อเว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อความ เป็นต้น แสดงผลบนโทรศัพท์มือถือได้โดยตรง

ประโยชน์ของคิวอาร์โค้ด

เราสามารถนำ QR Code มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แสดง URL ของเว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้อีกมากมาย ปัจจุบัน QR Code ถูกนำไปใช้ในหลายๆ ด้านเนื่องจากความรวดเร็ว เพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่จะมีมือถือกันทุกคนและมือถือเดี๋ยวนี้ ก็มีกล้องเกือบทุกรุ่นแล้ว ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดของ QR Code คือการแสดง URL ของเว็บไซต์ เพราะ URL โดยปกติแล้วจะจดจำยากเพราะยาวและบางทีก็ จะซับซ้อนมาก แต่ด้วย QR Code เราเพียงแค่ยกมือถือมาสแกน QR Code ที่เราพบเห็นตามผลิตภัณฑ์ต่างๆ, นามบัตร, นิตยสาร ฯลฯ แล้วมือถือ จะลิ้งค์เข้าเว็บเพจที่ QR Code นั้นๆ บันทึกข้อมูลอยู่โดยอัตโนมัติ

ความจุข้อมูลคิวอาร์โค้ดตัวเลขอย่างเดียวมากสุด 7,089 ตัวอักษร
ตัวอักษร ผสม ตัวเลขมากสุด 4,296 ตัวอักษร
ไบนารี (8 บิต)มากสุด 2,953 ไบต์
คันจิ/คะนะMax. 1,817 ตัวอักษร

QR Code (คิวอาร์โค้ด) ระบบชำระเงินรูปแบบใหม่

QR Code (คิวอาร์โค้ด) ระบบชำระเงินรูปแบบใหม่

เราแทบจะสามารถชำระเงินผ่าน QR Code ได้ในการซื้อสินค้าและบริการทุก ๆ แห่งที่มีป้ายชำระเงินด้วยระบบ QR Code ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีก แผงขายของในตลลาดสด ร้านค้าริมทาง จนไปถึงร้านขายของออนไลน์ก็ได้เช่นกัน หากร้านนั้นมีป้าย QR Code

โดยวิธีจ่ายผ่าน QR Code ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนและดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสำหรับการจ่ายเงินด้วยระบบ QR Code จากระบบธนาคารหรือระบบชำระต่างประเทศเช่น Wecat pay หรือ Alipay โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • เข้าไปในแอปพลิเคชันสำหรับชำระเงินผ่าน QR Code
  • สแกน QR Code ของร้านค้าผ่านแอปพลิเคชันที่อยู่ในมือถือ
  • ใส่จำนวนเงินที่ต้องการจ่าย และกดยืนยันการชำระเงิน
  • ระบบแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการจะส่งข้อมูลยืนยันการชำระเงินกลับมาให้เรา โดยอาจจะเป็น SMS หรือ E-Mail เพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงิน

QR Code ต่างจาก Barcode อย่างไร

Barcode 1 มิติ (1 Dimension Barcode)

Barcode 1 มิติ (1 Dimension Barcode)

สำหรับ Barcode 1 มิติ มีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับวางอยู่บนพื้นที่ขาวสลับกัน ใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษร โดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวอักษร การใช้งาน Barcode มักใช้ร่วมกับฐานข้อมูล คือ เมื่ออ่าน Barcode และถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง Barcode 1 มิติมีหลายชนิด เช่น UPC EAN-13 หรือ ISBN ดังรูปที่ 1 เป็นต้น ซึ่ง Barcode 1 มิติเหล่านี้สามารถพบได้ตามสินค้าทั่วไป 7-ELEVEN ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า

ส่วน Bar code 2 มิติ ก็พัฒนามาจาก bar code 1 มิติ คือเพิ่มแนวนอน เข้ามาทำให้บรรจุข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 4000 ตัวอักษรหรือ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า และสามารถใช้ได้หลายภาษาอีกด้วย ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัส มีตั้งแต่ เครื่องอ่านแบบ CCD (ที่อ่านเลเซอร์) หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ลักษณะ Bar code ที่ใช้ก็จะมีหลายแบบ แต่ที่พบเห็นได้บ่อยสุดคือ QR code

บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่

  • รหัสคิวอาร์ (QR Code)
  • ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix)
  • รหัสแม็กซี (MaxiCode)
  • รหัสอีซี (EZcode)
  • รหัสแอซเทค (Aztec Code)
  • เอ็มเอสแท็ก (MS Tag) บาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์
Barcode 2 มิติ

คิวอาร์โค้ดมีหมดอายุหรือไม่

เว็บที่ใส่ logo ได้ ตกแต่งได้ จะมีหมดอายุใช้ QR เนื่องจาก
– เส้นทางการ gen QR เป็น ข้อความไม่ได้ทำโดยตรง แต่อาศัยวิ่งไปที่ระบบของผู้สร้างขึ้นมาก่อน เพื่อจะเข้าไปที่ record ที่จัดทำว่าลงข้อมูล(ลิ้งค์) ไว้ว่าอะไร แล้วดึงข้อมูลนั้นมาให้อีกที
– รูปแบบนี้ผู้สร้างบอกว่า คุณจะเปลี่ยนลิ้งค์ยังไงก็ได้ ทั้งที่ยังใช้ QR ตัวเดิม แต่เข้ามาแก้ไขในระบบเขาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเป็น QR ที่วิ่งไปที่การเก็บข้อมูลใน DB ของผู้สร้างให้
– ระบบของผู้สร้าง เก็บข้อมูลการเข้าถึงของทุกข้อมูลหมด รู้สถิติ ใช้ถี่แค่ไหน ถ้าอันไหนใช้เยอะ ปิดสะ บอกว่าหมดอายุคุณต้องจ่ายเงิน เสร็จละคุณ PR ไปแล้ว จะตามไปเปลี่ยนก็ลำบาก ต้องยอมจ่าย
– หากเว็บผู้สร้างไม่ฮิต ปิดเว็บขึ้นมา QR ทั้งหมดก็หมดอายุเหมือนกัน

หรือถ้า QR Code ไม่มีหมดอายุ แต่เว็บไซต์ไม่ต่ออายุโดเมน ตัวอย่างเช่น ยกเว้นเว็บไซต์ไม่ต่ออายุ หรือ การให้บริการนั้นหมดอายุ เช่น บริการลดราคา 50% ถึงเดือนเมษายน ตอนนี้เดือนมิถุนายน ซึ่งลิงค์นี้หมดอายุไปแล้ว QR Code ที่สร้างไว้จะหาไม่เจอ URL นั้น อาจจะขึ้นว่า “ขออภัยค่ะโปรโมชั่นนี้หมดอายุแล้วค่ะ”

แต่ก็มีบางเว็บที่ให้บริการทำ QR Code บางเว็บมีวันหมดอายุครับ เช่นเว็บ qr-code-generator.com  PRO รุ่นทดลองใช้ 14 วัน ถ้าอยากให้มันใช้งานได้อีกต้องจ่ายเงินเพิ่ม

QR Code แบบไดนามิก

QR Code แบบไดนามิก เป็นโค้ดที่ยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยน URL หรือ เนื้อหา ที่ชี้ทางไปยัง QR Code ได้ตลอดเวลา ดังนั้นคุณจึงสามารถดัดแปลงลิงก์หรือไฟล์ที่เก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสร้าง QR Code ใหม่ วิธีนี้ช่วยประหยัดทรัพยากรและช่วยให้คุณตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในแคมเปญได้อย่างรวดเร็วที่สุด แม้จะพิมพ์เป็นโบรชัวร์ หรือ การทำโปรโมชั่นในแผ่นพับที่พิมพ์ออกไปแล้ว เราก็ไม่ต้องแก้หรือสร้างโค้ดใหม่ เปลี่ยนเฉพาะลิงค์ URL ก็พอ แต่ส่วนใหญ่การทำรหัส QR แบบไดนามิกจะมีค่าใช้จ่าย ราคาแล้วแต่ผู้บริการ

QR Code ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

จะเห็นได้ว่า QR Code ได้เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันในบุคปัจจุบันอย่างมาก ไม่ใช่มีแค่การแสกนแล้วเป็นเว็บไซต์ หรือ ข้อมูลสินค้า ในที่นี้ QR Code ยังสามารถสแกนเพื่อชำระเงินได้ด้วยซึ่งถือเป็นการชำระเงินได้อีกด้วยโดยที่ของไทยก็มี QR Code Payment สำหรับการให้บริการผ่านพร้อมเพย์ ของประเทศจีนที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก็ได้แก่ Wechat Pay หรือ Alipay

ในช่วงโควิท-19 ที่ต้องมีการระวังและการติดตามผู้คนอยากใกล้ชิดเพื่อสังเกตุว่าใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไวรัสโควิท แอปไทยชนะอย่างต้องเคยลองใช้กันมาบ้างแล้ว ก็เป็นการใช้ QR code มาเข้า app ไทยชนะ แอปดังที่ของ ศบค. ที่เปิดให้ประชาชนใช้สแกน QR Code เข้าออกร้านต่าง ๆ หากเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโควิด-19 จะมีข้อความแจ้งให้เข้าตรวจเชื้อได้ฟรี และตอนนี้มีรายงานว่า แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” มีผู้ลงทะเบียนเข้าใช้งานกว่า 18 ล้านคนแล้ว ซึ่งประโยชน์ของ QR Code นับว่าจะมีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ

แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ"

สร้าง QR Code ใช้เอง

เราสามารถสร้าง QR Code ใช้เองได้ง่ายๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเว็บไซต์ที่ให้บริการสร้าง QR code หลายเว็บดูได้ที่