อาร์เซ็ป RCEP

ข้อตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก RCEP มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565

ข้อตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก RCEP

ข้อตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก ที่มีชื่อว่า ‘อาร์เซ็ป – RCEP’ มีผลบังคับใช้แล้วอย่างเป็นทางการ (กับสมาชิกส่วนใหญ่) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป.

อาร์เซ็ปคือ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นข้อตกลงการค้าเสรี (FTA-Free Trade Area) แบบพหุภาคีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) มีสมาชิก 15 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) 10 ประเทศ และคู่เจรจาอีก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์. อาร์เซ็ปยังเป็นเขตการค้าเสรีแบบพหุภาคีฉบับแรกในประวัติศาสตร์ ที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ร่วมลงนามพร้อมกัน โดยการเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากการค้าขายสินค้าระหว่างสมาชิกในข้อตกลง ‘อาร์เซ็ป’ จะทยอยลดลงจนเป็น ‘ศูนย์’ ในที่สุด.

เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้คือ สมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 6 ประเทศ และคู่เจรจาอย่างน้อย 3 ประเทศ ร่วมกันให้สัตยาบันต่อข้อตกลง ซึ่งอาเซียน 6 ประเทศคือ บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย และประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศคือ ออสเตรเลีย จีน นิวซีแลนด์ ร่วมให้สัตยาบันแล้ว อาร์เซ็ปจึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 กับ 9 ประเทศนี้.

ส่วนเกาหลีใต้จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.พ. 2565 ส่วน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์ ยังไม่ได้ร่วมให้สัตยาบันต่อข้อตกลง.

อาร์เซ็ปเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของสมาชิกอาร์เซ็ป มีสัดส่วนรวมกันคิดเป็น 1 ใน 3 ของโลก มีมูลค่าสูงถึง 870 ล้านล้านบาท ครอบคลุมประชากร 2,200 ล้านคน (1 ใน 3 ของประชากรโลก).

ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการมีข้อตกลงอาร์เซ็ปคือ การเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากการค้าขายสินค้าระหว่างสมาชิก จะทยอยลดลงจนเป็น ‘ศูนย์’ ในที่สุด กฎระเบียบการค้าจะถูกปรับให้เหมาะสม กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น การค้าการลงทุนด้านบริการเปิดกว้างมากขึ้น.

ด้านจีนระบุว่า จีนจะทำงานอย่างแข็งขันร่วมกับประเทศสมาชิก เพื่อทำให้พื้นที่อาร์เซ็ปเป็นพื้นที่หลักสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าในเอเชียตะวันออก.

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) คาดการณ์ว่า อาร์เซ็ปจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างภูมิภาคได้ราว 1.39 ล้านล้านบาท

RCEP คืออะไร

การลงนามร่วมกันในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ที่ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศกับคู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (อินเดียถอนตัวออกไป) และประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ต่างมีข้อตกลงการค้าการลงทุนระหว่างกันอยู่แล้ว มีมากถึง 71 ข้อตกลง โดยแบ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรี 27 ข้อและสนธิสัญญาการลงทุน 44 สนธิสัญญา ดังนั้น RCEP จึงพยายามเอาข้อตกลงต่าง ๆ มารวมกันให้เป็นข้อตกลงในมาตราฐานเดียวกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรวิเคราะห์เพิ่มเติมไว้ว่า ในระยะข้างหน้าไทยจะได้รับอานิสงส์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้น โดยผลทางตรงจะมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกอาร์เซ็ป ขณะที่ผลทางอ้อมจะมาจากการที่ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนที่จะลดกำแพงภาษีระหว่างกันเป็นครั้งแรกและไทยยังคงเป็นตัวเลือกหลักของฐานการผลิตที่สำคัญในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ยังได้เปรียบ อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

RCEP กับ CPTPP

TPP ย่อมาจาก Trans-Pacific Partnership ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประเทศร่วม ก่อตั้ง 4 ประเทศคือ ชิลี สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ และบรูไน มีชื่อว่า Trans-Pacific Strategic Economic Partnership ต่อมา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเวียดนามได้เข้า ร่วมเป็นสมาชิก และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Trans-Pacific
Partnership หรือ TPP และต่อมา ญี่ปุ่น แคนาดาเม็กซิโก เปรู และมาเลเซียได้เข้าร่วม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวออกไปแล้วในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ประเด็นหลักในการเจรจา FTA ของ TPP แตกต่างจากการเจรจา FTA ทั่วไป ทั้งนี้ TPP จะไม่ใช่แค่การเจรจาเพื่อยกเลิกภาษีนำเข้าและมาตรการกีดกันทางการค้า
ที่มิใช่ภาษีทั้งสินค้าและบริการ (comprehensive market access) แต่จะเจรจาเพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาห่วงโซ่ อุปทานและการผลิตที่ครอบคลุมประเทศสมาชิก TPP ทุกประเทศ (full regional agreement) และครอบคลุมถึงประเด็นที่มีความคาบเกี่ยวกัน (cross-cutting trade issues) รวมถึงความสอดคล้องด้านกฎระเบียบ (regulatory coherence) การแข่งขันและการส่งเสริมธุรกิจ full regional agreement และ cross-cutting trade issues

ประเทศที่อยู่ใน RCEP TPP
ประเทศที่อยู่ในข้อตกลงการค้า RCEP กับ CPTPP
AEC RCEP TPP
ที่มา https://www.tfac.or.th/upload/9414/2bLr1kPoJa.pdf

Posted

in

by