ภาวะเศรษฐกิจถดถอย(recession) คืออะไร สาเหตุ ผลกระทบ

860
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย(recession)

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย(recession)

นิยามคือเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นติดลบ – สองไตรมาสติดต่อกัน หมายความว่าเศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในทางเทคนิคแล้ว เป็นผลการหดตัวของวัฏจักรธุรกิจซึ่งส่งผลให้เกิดการชะลอโดยรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้ตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคอย่างผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP)

สาเหตุภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เกิดจากหลายเหตุการณ์อย่างวิกฤตการเงิน การเปลี่ยนแปลงการค้าภายนอก และการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์เป็นลบ หรือการแตกของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่  หรือภาวะหนี้สินครัวเรือนมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังรวมถึง ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นในตลาดโลกยังทรงตัวในระดับสูง ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้น กระทบกับการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง เป็นผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่เกิดในปี 2565

ผลกระทบจาก Recession

รายจ่ายการลงทุน กําลังผลิตของภาคอุตสาหกรรม รายได้ครัวเรือน กำไรธุรกิจ ลดลง ส่วนการล้มละลายและอัตราการว่างงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  

ถ้าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ผู้คนหรือภาคธุรกิจ ลดรายจ่าย ประชาชนจับจ่ายใช้สอยลดลง ภาคธุรกิจจ้างงานลดลงหรือยุบ ปรับลดลงคนงาน รวมถึงสั่งสินค้าคงคลังและวัตถุดิบลดลง มองในแง่การลงทุนถ้าบริษัทไม่ขยายกิจการ หรือขายของได้น้อยลงก็ไปกระทบกำไรให้ลดลง ซึ่งทั้งหมดมีผลทำให้การหมุนของเงินลดลง ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวไปอีก

วิธีแก้ปัญหาภาวะ Recession

รัฐบาลปกติสนองต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบขยายตัว ได้แก่ การเพิ่มอุปสงค์เงิน (นโยบายการเงิน) การเพิ่มรายจ่ายภาครัฐและการลดการเก็บภาษี (นโยบายการคลัง) รวมถึงการลดดอกเบี้ย

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย(recession)

จับตาภาวะเศรษฐกิจปี 2565-2566

ด้านตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐออกมาที่ -0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน หลังจากที่ GDP ในไตรมาส 1 -1.6% เศรษฐกิจติดลบติดกัน 2 ไตรมาส นี่คือตัวบอกเหตุว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้เริ่มถดถอยลง หรือที่บอกว่า #TechnicalRecession  ซึ่งตอนนี้มีการพูดกันมากว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบจริงจังในปีหน้า ส่วนหนึ่งมาจากสัญญาณชี้นำในตลาดพันธบัตรที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ของรัฐบาลสหรัฐปรับสูงขึ้นกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี (2-10 Inverted Yield Curve) ในช่วงปลายเดือนมีนาคม แต่เอาจริงๆ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2-10 inversion ซึ่งมีเป็น leading indicator ตัวหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าดอกเบี้ยสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น

ในการประชุมเมื่อวันพุธ (27 ก.ค. 2565) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.25%-2.50%

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหยุดความร้อนแรงของตลาดแรงงานและเงินเฟ้อ ที่ตอนนี้คาดกันว่าอาจจะไปหยุดที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี ในปีหน้า ประเด็นคือ ถ้าไปถึงร้อยละ 3.5 ต่อปี แล้วเฟดยังจัดการเงินเฟ้อไม่ได้ เฟดก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีก ซึ่งหลายฝ่ายคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐไม่น่าจะรับไหว

การถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ หากเกิดขึ้นจริง กระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรงแน่ ในฐานะที่สหรัฐเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกและเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย จึงต้องพิจารณาและติดตามปัจจัยที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างใกล้ชิด

อ้างอิงจาก

https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9912
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_5May2022.aspx