ธนาคาร Silicon Valley เป็นธนาคารชื่อดังย่าน Silicon Valley ในสหรัฐ ที่เป็นธนาคารหลักของ venture capital และ /startup หลายแห่ง ที่มีเงินฝาก 6 ล้านล้านบาท ด้วยจำนวนนี้ใหญ่เป็น 2 เท่าของจำนวนเงินฝากในธนาคารกสิกรไทย แต่ล่าสุดธนาคารนี้ เกิด Bank Runคำว่า Bank Run คือการที่คนแห่กันถอนเงิน จนธนาคารมีความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินสดคืนให้กับคนถอนจนล่าสุดผู้กำกับดูแลในสหรัฐ สั่งปิดธนาคารนี้

SVB
SVB เน้นปล่อยสินเชื่อแก่บริษัท Start Up ที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯกระตุก ลูกหนี้ประเภทนี้จะหยุดชำระหนี้ก่อนใคร ส่งผลถึงผลการดำเนินงาน สถานะ และความเชื่อมั่นของธนาคาร
ทำไม SVB จึงล้ม
โดยทั่วไปแล้วธนาคารระดับใหญ่จะมีการตรวจสอบการเงินและบริหารความเสี่ยงอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการล้มเหลว แต่ในกรณีที่ธนาคารถูกคดโกงหรือมีการบริหารไม่ดีอาจส่งผลให้ธนาคารล้มเหลวได้ หรืออาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น การบริหารความเสี่ยงไม่ดี การคดโกง หรือปัญหาในตลาดและเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อธุรกิจของธนาคารในระยะยาวหรือระยะสั้น
แต่สำหรับ Silicon Valley Bank
คำตอบก็คือ การลดสภาพคล่องของระบบการเงินและการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของ FED สภาพคล่องที่หายไป แน่นอนที่สุดต้องดึงมาจากระบบการเงินและระบบธนาคาร
ในตอนนี้โดยปกติแล้วเมื่อมีคนมาฝากเงิน นอกจากธนาคารจะนำเงินไปปล่อยสินเชื่อแล้ว ธนาคารก็จะนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร หรือ Bond แต่เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคา Bond ก็จะผันผวน และไม่เสี่ยงต่ำอย่างที่คิดเพราะเมื่อเราต้องการขายคืน Bond นั้นในตลาด ก่อนที่มันจะครบกำหนดอายุ ราคา Bond นั้นจะตกลงมากเพื่อมาชดเชยกับ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในขณะนั้นมันจะไม่เกิดอะไรขึ้น ถ้าธนาคารไม่มีความจำเป็นต้องรีบขาย Bondแต่ด้วยการที่คนแห่กันถอนเงินธนาคารก็ต้องรีบขาย Bond ในราคาขาดทุน เพื่อนำเงินสดมาคืนให้แก่คนถอนเงินส่วนคนฝากเงินคนอื่นก็กลัวธนาคารจะเจ๊งก็พากันรีบขาย วนกันเป็นลูกโซ่ล่าสุด ราคาหุ้นของบริษัทที่ฝากเงินกับธนาคารนี้ ก็พากันร่วงเป็นโดมิโนเรื่องจะเป็นอย่างไรต้องติดตามกันต่อไปแต่ที่แน่ ๆ การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของ FED ผลลัพธ์ที่ออกมามันจะค่อย ๆ เกิดขึ้น และคนที่ทนไม่ไหวจะเริ่มออกอาการทีละคน
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ได้โพส Facebook:Pipat Luengnaruemitchai ระบุว่ามีข่าวตื่นเต้นในวงการธนาคาร เมื่อ SiliconValleyBank ธนาคารชื่อดังย่าน Silicon Valley ที่เป็นธนาคารหลักของ venture capital และ /startup หลายแห่งออกมาบอกนักลงทุนว่าไตรมาสก่อน ได้ขายพันธบัตรไป 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้เกิดผลขาดทุนจากการขายตราสารหนี้ไป 1.8 พันล้านดอลลาร์ และต้องขายหุ้นเพิ่มทุน 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำเอานักลงทุนตกอกตกใจจนหุ้นธนาคาร Silicon Valley ร่วงไปกว่า 60% เกือบทันที และหลังปิดตลาดลงไปอีก 20% และคนฝากเงินเริ่มหวั่นไหวแห่กันถอนเงินออก
และล่าสุดถูกทางการเข้าควบคุมเรียบร้อยแล้ว เรียกว่าปัญหาสองวันจบ และที่น่าสนใจคือ Silicon Valley Bank เป็นธนาคารที่ได้ชื่อว่าค่อนข้างระมัดระวังในการบริหาร มีสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ค่อนข้างมาก ครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ เช่นพันธบัตรรัฐบาล หรือ mortgage backed securities มีเงินสินเชื่อแค่หนึ่งในสาม NPL ค่อนข้างต่ำมาก (ต่ำกว่า 1%) และปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากคุณภาพสินทรัพย์แบบปัญหาธนาคารอื่นๆ
ลองนึกภาพนะครับ ถ้าพันธบัตรที่ออกมาเมื่อสองปีก่อน ให้ดอกเบี้ยแค่ 1% ที่ราคาหน้าตั๋ว 100 บาท เมื่อระดับอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปที่ 5% พันธบัตรที่ออกมาเมื่อสองปีก่อนย่อมไม่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับพันธบัตรที่เพิ่งออกมา ราคาตลาดก็ต้องปรับลดลงต่ำกว่า 100 บาทแน่ๆ
อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป? รัฐบาลได้เข้ายึดสินทรัพย์ของ SVB แล้ว ต่อไปจะนำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาคืนผู้ฝากเงิน ใครประกันเงินฝากไว้จะได้คืนสูงสุดไม่เกิน 250,000USD ต่อบัญชี
ตอนนี้เริ่มมีคนเริ่มตั้งคำถามว่า ปัญหาแบบนี้จะเกิดขึ้นกับธนาคารอื่นๆอีกหรือไม่? และข้อมูลที่เห็นคือธนาคารในสหรัฐทั้งกลุ่มมี unrealized loss สูงมากถึง 6 แสนล้านเหรียญ (ในขณะที่ทุนรวมของธนาคารมีมากกว่าสองล้านล้านเหรียญสหรัฐ) จนหุ้นในกลุ่มธนาคารร่วงกันระนาว ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสภาพคล่องล้วนๆ (จากภาวะตลาดที่บริษัท startups ไม่สามารถหาเงินได้คล่องอย่างเดิม) จนเริ่มกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคาร และถูกขยายผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนทางการเงิน และสภาพคล่องเริ่มโดนถอนออกไป