การลงทุนหรือซื้อขายสินทรัพย์ไม่ว่าหุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ พวก commodity ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก เงิน หรือกระทั่งที่นิยมในปัจจุบันคือคริปโทเคอร์เรนซี่ สามารถลงทุนได้ตามแนวการลงทุนวิเคราะห์แบบพื้นฐาน (fundamental analysis) ดูความต้องการ demoand-supply หรือถ้าเป็นหุ้นก็ดูผลประกอบการณ์ของบริษัทและอัตราการเติบโตของกำไร แต่มีการวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์อีกแบบที่ได้รับความนิยมเคียงคู่กับการวิเคราะห์แบบพื้นฐาน นั่นก็คือการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างง่ายๆ ให้คนที่ไม่มีพื้นฐานมากก่อนได้เข้าใจ
ประวิติของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ทางเทคนิคถือกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีตลาดเกิดขึ้นในโลกซึ่งขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์และอุปทาน โดยมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ราว ๆ ศตวรรษที่ 17 โดยพ่อค้าชาวดัชต์ และในศตวรรษที่ 18 โดยผู้ค้าข้าวชาวญี่ปุ่น ซึ่งการจดบันทึกราคาทำให้เห็นแนวโน้มของราคาสินค้าได้
ในปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากการนำเสนอต่อตลาดซื้อขายสินทรัพย์โดย Charles Dow ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ The Wall Street Journal นอกจากนี้ยังมี Ralph Nelson Elliott ผู้คิดค้นทฤษฎี Elliott Wave, William Delbert Gann ผู้คิดค้นทฤษฎี Gann Angle, Richard Demille Wyckoff ซึ่งถือเป็นนักจิตวิทยาตลาดคนแรกที่ตั้งทฤษฎีกล่าวอ้างว่าควรมองตลาดซื้อขายที่ประกอบไปด้วยบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียว
ในอดีตการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะจำกัดอยู่เพียงแค่การวิเคราะห์กราฟราคา เนื่องจากการคำนวณทางสถิติของข้อมูลปริมาณมาก ๆ นั้นยังไม่สามารถทำได้ และยังไม่มีอินดิเคเตอร์วิเคราะห์ทางเทคนิคให้ใช้งานด้วยเช่นกัน จนปัจจุบันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างมากและมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังที่มากพอ ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถดูราคาของสินทรัพย์ได้หลากหลายมากขึ้น และมีการค้นคิดวิธีใหม่ การค้นคิดอินดิเคเตอร์ช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคคอลเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการศึกษาพฤติกรรมของสินทรัพย์หรือพฤติกรรมของตลาดในอดีตโดยการใช้หลักสถิติและจิตวิทยาการลงทุนเพื่อนำมาใช้คาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอนาคตและช่วยให้ผู้ลงทุนหาจังหวะในการลงทุนที่เหมาะสมในการซื้อหรือขาย โดยใช้กราฟเป็นตัวแทนแสดงพฤติกรรมของราคาหุ้น
ข้อสมมติฐานที่สำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค
แนวคิดการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะอยู่บนสมมติฐาน 3 ประการคือ
- ‘ราคา’ เป็นผลรวมที่สะท้อนทุกอย่าง ซึ่งสะท้อนถึงข่าวสารในด้านต่างๆ ทั้งหมดแล้วในรูปการเคลื่อนไหวของราคา (Price reflects everything)
- ‘ราคา’ จะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้มและจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มใหม่ (Price moves in trends)
- พฤติกรรมการลงทุนของผู้ลงทุนจะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต (History tends to repeat itself)
แนวโน้มและเส้นแนวโน้ม (Trend Line)
แนวโน้มเป็นการบ่งบอกทิศทางของราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยการเคลื่อนที่ของราคาจะมีรูปแบบที่แบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ
แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
แนวโน้มขาขึ้นให้สังเกตุง่ายๆ คือ ราคาต่ำสุดสูงกว่าราคาต่ำสุดก่อนหน้านี้ และ ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาสูงสุดกว่าหน้า หรือเรียกสั้นว่า ยก Low ยก high (Lower high, Higher high) แสดงว่าหุ้นมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอยู่ถ้าลากเส้นจะจุดต่ำสุดแรกไปจุดต่ำสุดสุดท้ายจะได้เส้นที่เรียกว่า Uptrend line ถ้าเข้าซึ้อที่จุดนี้มีโอกาสทำกำไรจากราคาหุ้นตัวนี้ได้ ที่เรียกว่่า ย่อแล้วค่อยซื้อ
แนวโน้มขาลง (Downtrend)
แนวโน้มขาขึ้นให้สังเกตุง่ายๆ คือ ราคาต่ำสุด ต่ำกว่า ราคาต่ำสุดก่อนหน้านี้ และ ราคาสูงสุด ต่ำกว่า ราคาสูงสุดกว่าหน้า (Lower Low, Higher Low) แสดงว่าหุ้นมีแนวโน้มเป็นขาลง ถ้าลากเส้นจะจุดสูงสุดแรกไปจุดสู่งสุดสุดท้ายจะได้เส้นที่เรียกว่า Downtrend line ถ้ามีหุ้นควรทะยอยขายเมื่อขึ้นมาถึงเส้น Downtrend line เด้งแล้วขาย
แนวโน้มแกว่งตัว ราคาไม่เปลี่ยนแปลง (Sideway)
แนวโน้ม sideway ราคามักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงโดยการแกว่งตามอยู๋ในกรอบ ที่แนวรับ แนวต้าน เป็นส่วนใหญ่
แนวรับและแนวต้าน (Support and Resistance)
หลักคิดของแนวรับ (Support level) คือถ้าราคามาถึงแนวนี้จะมีแรงซื้อเข้ามาทำให้ราคาไม่ลงไปกว่านี้ อาจมาจากราคาที่ถึงว่าถูกเมื่อเทียบกับพื้นฐานในช่วงเวลานั้น ทำให้ราคาไม่ล่วงลงไปกว่านี้
ส่วนแนวต้าน (Resistance level) คือระดับราคาที่เมื่อชนราคานี้ จะมีแรงขายออกมา ทำให้ราคาไม่สามารถข้ามระดับราคานี้ไปได้ อาจจะมีคนติดหุ้นที่ราคานี้อยู่มากเมื่อมาถึงราคานี้ มักจะไม่ผ่าน
ถ้าเป็นนักลงทุนที่ชำนาญและมีการตัดขาดทุน(Stop loss ที่ดีคือผิดทางต้องรีบออกไม่งั้นจะขาดทุนเยอะขึ้น) การซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน จะทำกำไรได้พอสมควร
ตัวอย่างด้านบนเป็นหุ้น TU ที่มีแนวต้านที่ 16 บาท ครั้งแรกช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 ไม่ผ่านแนวต้าน 16 บาท ลงมา sideway จนเดือนพฤษาคม 2021 ทดสอบแนวต้านอีกที่ซึ่งผ่าน ก็ทะลุไปที่ 18.6 บาทในที่สุด
แนวคิดเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคอลยังมีทฤษฎีอีกมากมายที่น่าสนใจเช่น
- ทฤษฎีดาว (Dow Theory)
- ทฤษฎี Elliott Wave
- กราฟแท่งเทียน
- เส้นค่าเฉลี่ย
- อินดิเคเตอร์ต่างๆ เช่น RSI, MACD เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
สรุป การวิเคราะห์เชิงเทคนิคอลมีประโยชน์อย่างมากที่จะสามารถทำนายแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ หรือดัชนีหุ้น set และยังสามารถหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมอีกด้วย ถ้ายิ่งนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นรายได้ หนี้สิน การเติบโตของกิจการ ยิ่งจะทำให้การลงทุนในพอร์ตของเราได้เปรียบและมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้กับเราในระยะยาวอีกด้วย
อ้างอิง https://www.set.or.th