
TOWS Matrix เป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่ได้จากต่อยอดกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์กรที่ได้มาจากการวิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis) แล้วมาทำการจับคู่เข้าด้วยกันเพื่อใช้หาความสัมพันธ์กันเพื่อทำสร้างกลยุทธ์ (Strategy) ที่เหมาะกับสถานการณ์นั้นเพื่อมาใช้ในองค์กร โดย TOWS Matrix ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน Heinz Weirich ในปี 1982 โดย TOWS Matrix ตัวอักษรของคำว่า TOWS มาจากการกลับด้านตัวอักษรของ SWOT จากหลังไปหน้า
SWOT กับ TOWS ต่างกันอย่างไร

SWOT ย่อมาจาก
Strength (S) จุดแข็งขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัย +
Weakness (W) จุดอ่อนขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัย –
Opportunity (O) โอกาสที่เกิดขึ้นกับองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัย +
Threats (T) อุปสรรคที่เกิดขึ้นองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัย –
โดยสามารถอ่านเรื่องของ SWOT และ SWOT Analysis อย่างละเอียดได้ที่ SWOT คืออะไร และ การวิเคราะห์ SWOT ทำอย่างไร
โดย TOWS Matrix เป็นการเอา S W O และ T ของ SWOT มาจับคู่กันเพื่อนำมาใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับองค์กรนำไปใช้ในทางธุรกิจ
TOWS Matrix

แม้ปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอกดูแล้วจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ถ้าเราสามารถสร้างสมดุลย์และหาความสัมพันธ์ เราก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์ของบริษัทได้
จุดแข็งและจุดอ่อนเป็นปัจจัยภายในองค์กรหรือบริษัท เช่น นโยบายบริษัท, เป้าหมายขององค์กร, วัฒนะธรรมองค์กร, คุณค่าหลัก, นโยบาย HR การรับพนักงาน, ขบวนการผลิต, ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เสนอต่อกลุ่มเป้าหมาย, พี้นฐานของบริษัท หรือ ความสามารถของพนักงาน และอื่นๆ อีกมากมายล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญและเป็นปัจจัยในองค์กรซึ่งเราควบคุมได้ เช่น จะเสริมจุดแข็ง หรือไปลดจุดอ่อน เป็นเรื่องที่สามารถจัดการหรือรับมือได้
ในทางกลับกัน โอกาสและอุปสรรค เป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ได้แต่ปรับหรือคล้อยตามสภาวะแวดล้อม เช่น นโยบายของภาครัฐ, สภาวะตลาด, ความชอบ รสนิยมหรือความนิยมของลูกค้า, การแข่งขันกันในตลาด, ราคาของวัตถุ เช่น น้ำมันหรือค่าไฟฟ้า ที่มีการแปรผันตามราคาตลาดโลก แม้กระทั่งการตัด GSP ของสหรัฐต่อสินค้าไทยอาจจะกระทบองค์กรของเราก็ได้

รูปแบบการจับคู่กลยุทธ์ของ TOWS
กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) มาจาก จุดแข็ง + โอกาส (Strength + Opportunity)
Maxi-Maxi Strategy เป็นการเอาจุดแข็งขององค์กรมาใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุดกับโอกาสที่ได้รับจากภายนอก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในตอนนี้ก้บบริษัท Tesla ที่มีจุดแข็งอย่างเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ ที่มาพร้อมโอกาสในช่วงที่เทรนด์สิ่งแวดล้อม หลายประเทศกำลังเลิกใช้รถน้ำมัน (ICE Car) หันไปใช้รถไฟฟ้า (EV car) แทน กลยุทธ์ที่เทสล่าใช้ก็คือกลยุทธ์เชิงรุก ขยายกำลังผลิต เปิดโรงงานเพิ่มในหลายๆ ประเทศ นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้วยังมีประเทศจีน เยอรมัน และในอาเซียนอาจมาเปิดที่อินโดนีเซียหรือประเทศไทยในอนาคต
กลยุทธ์เชิงรับ (ST Strategy) มาจาก จุดแข็ง + อุปสรรค (Strength + Threats)
Maxi-Mini strategy เป็นการเอาจุดแข็งขององค์กรมาหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบที่เกิดจากอุปสรรคที่ได้รับจากภายนอก ตัวอย่างเช่น ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี บริษัทที่มีฐานะการเงินที่ดี ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ยังสามารถลดราคาเพื่อแข่งขันในตลาดได้ หรือพยุงอยู่ได้จนเศรษฐกิจฟื้นตัว
กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) มาจาก จุดอ่อน + โอกาส (Weakness + Opportunity)
Mini-Maxi strategy ในขณะที่บริษัทเรามีจุดอ่อนหรือเรียกว่าแผล บาดเจ็บ แต่มีโอกาสหรือสภาวะแวดล้อมที่ดีเข้ามามากมาย กลยุทธ์เชิงแก้ไขโดยเราลดหรือแก้ไขจุดอ่อนเราอย่างไรหรือทำให้ปัญหาน้อยที่สุดเพื่อรับผลประโยชน์จากโอกาสที่เข้ามา ตัวอย่างที่ชัดเจนคือถ้าบริษัทเรามีปัญหาด้านการเงิน ฐานะการเงินที่ย่ำแย่ แต่ตลาดโตอย่างมากหรือได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐบาล เป็นโอกาสอันดีที่กู้เงินเพิ่มหรือเพิ่มทุนเพื่อขยายกำลังผลิตหรือสาขา แต่เราก็ไม่ควรละเลยในการจัดการการบริหารทางการเงินที่เป็นต้นเหตุให้สถานะทางการเงินของบริษัทย่ำแย่
กลยุทธ์เชิงป้องกัน (WT Strategy) มาจาก จุดอ่อน +อุปสรรค (Weakness + Threats)
Mini-Mini strategy ในขณะที่องค์กรหรือบริษัทเรามีจุดอ่อนและมีอุปสรรคจากภายนอกซ้ำเติมเข้ามาอีก จุดประสงค์ของกลยุทธ์เชิงป้องกันคือทั้งลดและพิชิตจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงอุปสรรคเพื่อประคองให้ธุรกิจอยู่รอดในระหว่างนี้พยายามลดจุดอ่อนและรอโอกาสใหม่ๆที่เข้ามา หรือควบรวมกับบริษัทอื่นเพื่อเพิ่มจุดแข็ง เช่น เมื่อ 2-3 บริษัทควบรวมกันทำให้ยอดขายมาขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลง หรือถ้ามองโลกในแง่ร้ายหน่อยคงเลิกกิจการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงโควิท-19 อุปสรรคเกิดจากโรคไวรัสระบาดทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้ ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมต่างพบปัญหาและอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง ถ้าบริษัทที่กู้มาสร้างโรงแรมยังผ่อนไม่หมดคงต้องขายกิจการ หรืออีกตัวอย่าง สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ธนาคารเล็กๆ จะควบรวมกัน มีลูกค้ารวมกันมากขึ้น ประหยัดต้นทุนบางอย่าง
ข้อดีของ TOWS Matrix
จากการวิเคราะห์ SWOT ทำให้เรารู้ว่าองค์กรมีข้อดีข้อเสีย ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในสภาวะธุรกิจอย่างไร แต่ไม่ชัดเจนว่าจะให้องค์กรเดินไปทางไหน การใช้ tows matrix เป็นเครื่องมืออีกตัวในการช่วยบริษัทหรือองค์กรกำหนดกลยุทธ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในรูปแบบสอดคล้องกับทรัพยากรของบริษัทและเผชิญต่อสิ่งแวดล้อมและตามสถานการณ์ได้อย่างดีและถูกต้อง อย่างไรก็ตามมีแค่ 4 กลยุทธ์ซึ่งจริงๆ ในโลกธุรกิจกลยุทธ์ที่ใช้อาจเยอะกว่านี้ ซับซ้อนกว่านี้ TOWS Matrix ถือว่าเป็นเพียงไกด์ไลน์ในการต่อยอดสู้กลยุทธ์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามจุดชี้เป็นชี้ตายคือ การวิเคราะห์ SWOT ที่เป็นตัวตั้งต้นที่ใช้ในการจับคู่ทำกลยุทธ์ที่ต้องวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการวิเคราะห์ TOWS Matrix ได้นั้นจำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ SWOT อย่างละเอียดให้ดีเสียก่อน
Opportunities โอกาส | Threats อุปสรรค | |
O1 | T1 | |
O2 | T2 | |
Strengths จุดแข็ง | S-O Strategies | S-T Strategies |
S1 | S-O Strategy 1 | S-T Strategy 1 |
S2 | S-O Strategy 2 | S-T Strategy 2 |
Weaknesses จุดอ่อน | W-O Strategies | W-T Strategies |
W1 | W-O Strategy 1 | W-T Strategy 1 |
W2 | W-O Strategy 2 | W-T Strategy 2 |
Tows ใช้งานง่ายมากและจุดดีอีกข้อคือเราสามารถจับคู่ S,W,O,T ได้หลากหลายทำให้ได้กลยุทธ์หลายอย่างมาใช้กับบริษัท
ตัวอย่างการใช้ TOWS matrix ของ Tesla
เนื่องจากบริษัทแข็งแกร่ง มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่เหนือล้ำคู่แข่งอย่างมาก ยังมีเทคโนโลยีขับรถอัตโนมัติตามมาอีกในอนาคต ทั้งยังอยู่ในตลาดที่กำลังเติบบโตอย่างมหาศาล รวมถึงแต่ละประเทศก็กำลังสนับสนุนรถไฟฟาให้มาแทนรถใช้น้ำมัน TOWS matrix แทบจะเป็นการใช้แต่กลยุทธ์เชิงรุกอย่างเดียวสำหรับบริษัท Tesla

Opportunities โอกาส | Threats อุปสรรค | |
O1 ตลาดโตอย่างมาก | T1 การแข่งขันสูงมากจากคู่แข่งรถใช้น้ำมัน | |
O2 ได้รับการลดภาษีสำหรับรถไฟฟ้า | ||
Strengths จุดแข็ง | S-O Strategies | S-T Strategies |
S1 มีนวัตกรรม | S-O เพิ่มโรงงาน | S-T ลงทุน R&D เพื่อหนีคู่แข่งไปอีก |
S2 แบรนด์แข็งแกร่งมาก | S-O เพิ่มกำลังการผลิต | |
Weaknesses จุดอ่อน | W-O Strategies | |
W1 มีหนี้สูง | W-O ปรับโครงสร้างทุน อาจออกหุ้นกู้เพื่อลดดอกเบี้ย | |
W2 กำลังการผลิตไม่ทัน |