อาณาจักรธุรกิจของ Xiaomi

4869
Xiaomi Logo

ตอนนี้คนไทยรู้จัก Xiaomi เสี่ยวหมี่ ไม่ใช่เฉพาะแค่ขายแค่มือถือ ช่วง PM2.5 ปลายปี แบรนด์เสี่ยวหมี่เป็นที่รู้จักยิ่งขึ้นจากเครื่องฟอกอากาศและตัววัด PM 2.5 ตอนนี้สินค้าเสี่ยวหมี่ไม่เพียงมีอุปกรณ์เกือบทุกชนิดของสินค้าอิเลคทรอนิกส์ ยังรวมไปถึงสินค้าอย่างกรรไกรตัดเล็บ ไม้แคะหูอัจฉริยะ Xiaomi ทำอย่างไรจึงมีอาณาจักรธุรกิจใหญ่โตขนาดนี้

ประวัติของ Xiaomi

Xiaomi ผู้ก่อตั้ง Lei Jun

Xiaomi ก่อตั้งบริษัทมาเพียง 10 ปี Xiaomi เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายนปี 2010 Xiaomi มีสำนักงานใหญ่ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน เริ่มจากผู้ก่อตั้ง 8 คนกับพนักงาน 14 ชีวิต โดย Lei Jun อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับซอฟต์แวร์, แอพออฟฟิศ, แอนตี้ไวรัส ,เว็บไซต์พอร์ทัลไอที ปัจจุบัน CEO แห่ง Xiaomi ตอนนี้มากกว่า 18000 คนในประเทศจีน อินเดีย และ อื่นๆ

ภาษาจีนของ Xiaomi คือ 小米 แปลว่า ข้าวฟ่างเม็ดเล็กๆ เกิดจากการที่คุณพ่อของผู้ก่อตั้งท่านหนึ่งทำโจ๊กมาเลี้ยงทุกคน จึงได้ไอเดีย นำคำนี้ไปตั้งเป็นยี่ห้อเสียบริษัทเสียเลย

แต่เดิม Xiaomi ยังไม่ได้ทำฮาร์ดแวร์ของตัวเอง แต่เริ่มจากเป็นทีมทำรอมแบบ after market ให้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ในนาม MIUI ซึ่งในปัจจุบัน ROM MIUI ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อใช้งานกับสมาร์ทโฟนของตัวเอง และใช้กับสมาร์ทโฟนแบรนด์อื่นๆ

สเปคสูง ราคาย่อมเยา

ปี 2011 Xiaomi เริ่มขยายจากการทำรอม มาเป็นการผลิตฮาร์ดแวร์มือถือของตัวเองใช้ชื่อ Mi One ที่สร้างความฮือฮา เพราะเป็นสมาร์ทโฟนสเปกสูงในราคาย่อมเยา จนกวาดยอดขายได้กว่า 7 ล้านเครื่อง เกินเป้าที่ตั้งไว้เพียงหลักแสนเครื่องเท่านั้น

การมาของ Xiaomi พร้อมกลยุทธ์ด้านราคาที่โดดเด่น และความสามารถของสมาร์ทโฟน แตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ จึงทำให้บริษัทได้รับการตอบรับอย่างดี เห็นได้จากสมาร์ทโฟนรุ่นแรกของ Xiaomi อย่าง Mi 1 ที่สามารถขายได้หมดเกลี้ยง 100,000 เครื่องภายในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมงด้วยราคาประมาณ 9,000 บาท หลังจากนั้นก็ขยายกิจการมือถือไปยังประเทศอินเดียและประเทศอื่นๆ

ในปี 2014 Xiaomi ก็เริ่มทำตลาดสินค้า IoT เป็นครั้งแรก โดยสินค้า IoT ล็อตแรกที่ Xiaomi ผลิตออกมาวางขายในขณะนั้นคือ หลอดไฟ IoT, Web Cam ปลั๊กไฟ IoT อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน IoT และอื่นๆ โดยเฉพาะหลังๆ Xiaomi ได้ออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ IoT และ Lifestyle มากมาย ทั้งหม้อหุงข้าว, สมาร์ททีวี, โน้ตบุ๊ก, จอคอมพิวเตอร์, กลอนประตูอัจฉริยะ, เครื่องซักผ้า, เจลซักผ้า, ตู้เย็น, ปลั๊กไฟ IoT, ร่มพับเองได้, หลอดไฟ, สกูตเตอร์ไฟฟ้า, ลู่เดิน, ตู้เลี้ยงปลา, ไดร์เป่าผม, เครื่องชั่งน้ำหนัก, หูฟัง, เว็บแคมรุ่นใหม่ๆ แม้กระทั่งกางเกงใน
โดยสินค้าของเสี่ยวหมี่ยังคงเน้นกลยุทธ์ด้านราคาที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับสเปกของสินค้า บนดีไซน์ที่เรียบง่าย และดูเป็นสากลเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่

จากผลประกอบการล่าสุด ปี 2019 บริษัท Xiaomi มีรายได้ 937,000 ล้านบาท กำไร
130,000 ล้านบาท มีกำไร 13% ซึ่งสูงกว่าปี 2018 ที่กำไรเพียง 5% โดยคุณ Lei Jun ประธานบริษัท Xiaomi เคยระบุไว้ในงบการเงินประจำปี 2018 ว่า“เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ผลประกอบการธุรกิจฮาร์ดแวร์มีอัตรากำไรสุทธิต่ำกว่า 1%”
สินค้าของ Xiaomi จะขายราคาถูกกว่าคู่แข่ง ภายใต้คุณภาพที่ไม่แพ้คู่แข่ง

อาณาจักรธุรกิจของ Xiaomi

สำหรับปี 2563-2568 Lei Jun ได้ประกาศว่าเขาจะใช้งบลงทุนรวม 5 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท ในการลงทุนพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่เข้ามารองรับเทคโนโลยี 5G, AI และ IoT  ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สินค้าภายใต้แบรนด์เสี่ยวหมี่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ก็คือ

1. สินค้าที่ Xiaomi เป็นคนผลิตเอง เช่น สมาร์ตโฟน แล็ปท็อป สายรัดข้อมืออัจฉริยะ โดยธุรกิจมือถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัทที่สร้างรายได้ 54.8% ของรายได้ทั้งหมด
2. สินค้าที่ Xiaomi ไม่ได้ผลิตเอง แต่มีคนอื่นผลิตให้ โดยเรียกว่า Xiaomi Ecological Chain Companies

การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่ Xiaomi เข้าไปซื้อกิจการของ Startup และเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ มากกว่า 200 บริษัทเพื่อพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคออกมาให้หลากหลายที่สุด
ธุรกิจ ioT เป็นธุรกิจที่เสี่ยวมี่ลงทุนผลิต พวกอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ เครื่องดูดฝุ่น นาฬิกาอัจฉริยะเป็นต้น โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานอยู่ทั้งหมด 27 ล้านคนทั่วโลกและมีการเติบโตสูงถึง 38.3%

Mi Home Products

วันนี้ผลประกอบการของ Xiaomi มากกว่า 43% มาจากประเทศต่างๆ ที่นอกเหนือจากจีน และยังเป็นรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี อันดับการขายโทรศัพท์มือถือก็อยู่อันดับ 4 ของโลก อาณาจักรของเสียวหมี่ที่ใช้เวลาเพียง 10 ปีมาถึงขั้นนี้ถือว่าอัศจรรย์มาก

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี Lei Jun ประธานบริหารและซีอีโอของเสียวหมี่ เผยประกาศสำคัญไว้ว่านอีกสิบปีข้างหน้า เสียวหมี่จะอัพเกรดกลยุทธ์หลักสู่การเป็น “สมาร์ทโฟน x AIoT” และบริษัทาจะยึดมั่นใน “หลักการสามประการ” อย่างแน่วแน่ ดังนี้:

  • เราจะไม่หยุดที่จะคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมและนำเสนอเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดให้กับทุกคน
  • เราจะยังคงนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราส่วนราคาต่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
  • เราจะพยายามสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด

7 กุญแจสำคัญของโมเดลธุรกิจ Xiaomi

  1. Xiaomi เน้นไปที่คุณภาพและสเปคของสินค้าโดยราคาไม่แพง
  2. Xiaomi ตัดค่าใช้จ่ายทางด้านโฆษณาโดยการพึ่งช่องทาง social media
  3. Xiaomi ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้า
  4. Xiaomi ใช้เทคโนโลยีล่าสุดในการผลิตสินค้า
  5. Xiaomi ใช้โมเดล Flash sale ในการขายสินค้า(โดยการลดราคาในเวลาที่กำหนด)
  6. ขายสินค้าผ่านช่องทาง e-commerce
  7. ขาย operating system และ internet services ของตัวเอง

แทนที่จะกำไรจะการขายสินค้า Xaiomi กำไรจาการขายบริการ โฆษณา และอื่นแทน ฉะนั้น Margin ของบริษัทค่อนข้างต่ำ ประมาณ 5% ของยอดขายเท่านั้นเพื่อเป็นที่หนึ่งในตลาด
โทรศัพท์ของ Xiaomi phones กำไรโดยเฉลี่ยเพียงแค่ $1- $2 ในขณะที่บริษัทอย่าง SAMSUNG มีกำไรต่อเครื่องประมาณ $30-$31 ส่วน apple กำไรสูงถึง $150 ต่อเครื่อง
ภาพรวมของบริษัทมีรายได้เติบโตในครึ่งปี 2020 อยู่ที่ 7.9% YoY ทำได้ 103,000 ล้านหยวน แต่กำไรไม่เติบโต โดยทำได้ 5,700 ล้านหยวน

ราคาหุ้น Xiaomi 7 10 2020
ราคาหุ้น Xiaomi ณ วันที่ 7/10/2020

อันดับยอดขายมือถือปี 2020 ช่วงมกราคม-มีนาคม

เฉพาะมือถือ Xiaomi ได้ขึ้นเป็นผู้ผลิตมือถืออันดับ 4 ของโลก

  • Samsung: 58.3 ล้านเครื่อง (21.2% ของส่วนแบ่งทางการตลาด)
  • Huawei: 48.5 ล้านเครื่อง (17.6% ของส่วนแบ่งทางการตลาด)
  • Apple : 39.2 ล้านเครื่อง (14.3% ของส่วนแบ่งทางการตลาด)
  • Xiaomi: 27.5 ล้านเครื่อง (10% ของส่วนแบ่งทางการตลาด)
  • OPPO: 22.6 ล้านเครื่อง (8.2% ของส่วนแบ่งทางการตลาด)
  • แบรนด์อื่นๆ: 78.7 ล้านเครื่อง (28.6% ของส่วนแบ่งทางการตลาด )
  • ยอดรวมทั้งหมด: 274.8 ล้านเครื่อง (100% ของส่วนแบ่งทางการตลาด )

ข้อมูลจาก Wikipedia

Mi Band 4 featured 03
xiaomi weight scale
xiaomi mijia nail clipper
Mi Band ear pick